Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2023
Title: การวิเคราะห์บันทึกการพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไปเขตกรุงเทพมหานคร : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: An analysis of nurses' notes in general hospitals, Bangkok Metropolis
Authors: สุชาดา รัชชุกูล
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: บันทึกการพยาบาล
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาและประเมินคุณภาพของบันทึกการพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไป ทั้งของรัฐบาลและเอกชน ในกรุงเทพมหานคร คัดเลือกตัวอย่างบันทึกการพยาบาลด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวนตัวอย่างบันทึกการพยาบาลทั้งหมด 500 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นแบบสังเกต ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีควมตรงตามเนื้อหาและมีค่าความเที่ยงทดสอบด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ทดสอบสัดส่วนของเนื้อหา บันทึกการพยาบาลด้วยค่าไคสแควร์ และประเมินคุณภาพโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างโรงพยาบาลรัฐบาบและโรงพยาบาลเอกชน โดทดสอบค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ (Scheffe Method) ผลของการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1.การวิเคราะห์เนื้อหาของบันทึกการพยาบาล พบว่า เนื้อที่บันทึกในบันทึกการพยาบาลที่พบมาก 3 ลำดับแกรของแต่ละด้าน คือ ด้านความต้องการพื้นฐาน ได้แก่ "การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและนอนหลัย" "การได้รับอาหารรวมทั้งอาหารเฉพาะโรค ที่เหมาะสมกับสภาพการเจ็บป่วย" และ "การตรวจสัญญาณชีพประจำวัน" ด้านการปฏิบัติตามแผนการพยาบาล ได้แก่ "การดำเนินการตามแผนการรักษาของแพทย์" "การพยาบาลเฉพาะอย่างที่จัดขึ้นตามปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย" และ "การติดตามและประเมินผลอาการภายหลังการได้รับการรักษาจากแพทย์" ด้านพฤติกรรมของผู้ป่วย ได้แก่ "พฤติกรรมและ/หรืออาการซึ่งสัมพันธ์กับโรคของผู้ป่วย" "การประเมินถึงอาการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย" และ "การประเมินถึงอาการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย" 2.ทดสอบสัดส่วนเนื้อหาที่บันทึกในบันทึกการพยาบาลระหว่างโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน พบว่า เนื้อที่ที่บันทึกในบันทึกการพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน มีสัดส่วนมากกว่าเนื้อที่บันทึกในบันทึกการพยาบาลของโรงพยาบาลรัฐบาล อย่างมีนัยสำคัญ คือ 2.1 ด้านความต้องการพื้นฐาน ที่ระดับ .02 ในเรื่อง "การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและนอนหลับ" "การได้รับอาหารรวมทั้งอาหารเฉพาะโรคที่เหมาะสมกับสภาพการเจ็บป่วย" "การตรวจสัญญานชีพประจำวัน" "การขับถ่ายปัสสาวะ" "การขับถ่ายอุจจาระ" "การดูแลความสะอาดและความสุขสบายของผู้ป่วย" "การดูแลให้อยู่ในภาวะสมดุลย์ในการได้รับและขับน้ำออกจากร่างกาย" "การดูแลให้ออกกำลังกายและ/หรือฟื้นฟูสมรรถภาพ" และ "ปฏิกิริยาสัมพันธ์และสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับครอบครัวและ/หรือกับพยาบาล" และที่ระดับ .05 ในเรื่อง "การประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของร่างกาย" และ "การป้องกันภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อต่าง ๆ" นอกนั้นมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันที่ระดับ .05 2.2 ด้านการปฏิบัติตาาแผนการพยาบาล ที่ระดับ .01 ในเรื่อง"การดำเนินการตามแผนการรักษาของแพทย์" "การพยาบาลเฉพาะอย่างที่จัดขึ้นตามปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย" และ "การรายงานแพทย์เมื่อผู้ป่วยมีปัญหาหรือมีอาการเปลี่ยนแปลง" นอกนั้นมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันที่ระดับ .05 2.3 ด้านพฤติกรรมของผู้ป่วยที่ระดับ .01 ในเรื่อง "การประเมินถึงอาการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย" และ "คำพูดและ/หรือพฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้ป่วย" และที่ระดับ .05 ในเรื่อง "พฤติกรรมและ/หรืออาการซึ่งสัมพันธ์กับโรคของผู้ป่วย" นอกนั้นมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันที่ระดับ .05 3. ทดสอบสัดส่วนเนื้อหาที่บันทึกในบันทึกการพยาบาล ระหว่างแผนกอายุรกรรม ศัลยกรรม สูติ-นรีเวช กุมารเวช และ ตา-หู-คอ-จมูก พบว่า 3.1 ด้านความต้องการพื้นฐาน มีสัดส่วนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ในเรื่อง "การขับถ่ายปัสสาวะ" และ "การให้คำแนะนำหรือสอนให้ดูแลตัวเอง" และที่ระดับ .05 ในเรื่อง "การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและนอนหลับ" และ "การดูแลให้อยู่ในภาวะสมดุลย์ในการได้รับและขับน้ำออกจากร่างกาย" นอกนั้นมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันที่ระดับ .05 3.2 ด้านการปฏิบัติตามแผนการพยาบาล มีสัดส่วนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ในเรื่อง "การพยาบาลเฉพาะอย่างที่จัดขึ้นตามปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย" และ "การติดตามและประเมินผลอาการภายหลังการให้การดูแลพยาบาลจากพยาบาล" และที่ระดับ .05 ในเรื่อง "การติดตามและประเมินผลอาการ ภายหลังการได้รับการรักษาจากแพทย์" นอกนั้นมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันที่ระดับ .05 3.5 ด้านพฤติกรรมของผู้ป่วย มีสัดส่วนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ในเรื่อง "พฤติกรรมและ/หรืออาการที่สัมพันธ์กับโรคของผู้ป่วย" และ "คำพูดและ/หรือพฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้ป่วย" และที่ระดับ .05 ในเรื่อง "การประเมินถึงอาการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย" และ "ปฏิกิริยาและ/หรือความคิดเห็นของผู้ป่วยต่ออาการเจ็บป่วย และการรักษาพยาบาล" นอกนั้นมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันที่ระดับ .05 4. ประเมินคุณภาพของบันทึกการพยาบาลโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณภาพของบันทึกการพยาบาล ระหว่างโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน พบว่า 4.1 ความครอบคลุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ในทุกด้าน คือ ด้านความต้องการพื้นฐาน ด้านการปฏิบัติตามแผนการพยาบาล และด้านพฤติกรรมผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลเอกชนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานในการวิจัย 4.2 ความชัดเจน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในด้านลักษณะที่เอื้อต่อการตรวจสอบ และที่ระดับ .01 ในด้านความเกี่ยวเนื่องโดยโรงพยาบาลเอกชนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล ซึ่งปฏิเสธสมมติฐาน แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในด้านภาษาที่ใช้ ซึ่งสนองสมมติฐานการวิจัย 5. ประเมินคุณภาพของบันทึกการพยาบาล โดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณภาพของบันทึกการพยาบาลระหว่างแผนกอายุรกรรม ศัลยกรรม สูติ-นรีเวช กุมารเวช และตา-หู-คอ-จมูก พบว่า 5.1 ความครอบคลุม ในด้าน การปฏิบัติตามแผนการพยาบาล พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ระหว่างแผนกสูติ-นรีเวช และแผนกอายุรกรรม ซึ่งปฏิเสธสมมติฐาน แต่ในด้าน ความต้องการพื้นฐาน และด้านพฤติกรรมผู้ป่วย พบว่า ทุกแผนกไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5.2 ความชัดเจนในด้าน ความเกี่ยวเนื่อง พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ระหว่างแผนกศัลยกรรม และแผนกสูติ-นรีเวชแผนกสูติ-นรีเวช และแผนกหู-ตา-คอ-จมูก ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ในด้าน ภาษาที่ใช้และลักษณะที่เอื้อต่อการตรวจสอบ พบว่า ทุกแผนกไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research were to analyse the content and evaluate the quality of nurses'notes in government and private general hospital, Bangkok Metropolis. The samples of 500 nurses' notes were selected by multi-stage sampling techniques. The instrument used in this study was an observable scale developed by the researcher. An observable scale was tested for content validity and its reliability was equal to 0.81. Statistical procedure used for data analysis were percentage, Chi-square, t-test, F-test and Scheffe's method. The results of the study were as follow: 1. The first three of content appeared in nurses' notes in each categories were as follow: Basic needs: Rest and sleep, Nutrition and Diet therapy, and Vital signs. Nursing Implementation : Therapeutic care, patient problems-solving, and follow-up. Patient's behavior: Patient's behavior corresponding with medical diagnosis, Patient's physical assessment, and Patients' mental and emotional assessment. 2. The proportions of content in nurses' notes in private hospitals were higher than the content of nurses' notes in government hospitals. The summary of finding was as follow. 2.1 Basic needs: There was a statistically significant difference at .01 level in the items of Rest and sleep, Nutrition and Diet therapy, Vital signs, Urination, Elimination, Personal care, Water and fluid balance, Exercise and rehabilitation, Relationship with family and nurses. There was a statistically significant different at .05 level in the items of Physical movement, Prevention of complication and infections. 2.2 Nursing Implementation : There was a statistically significant difference at .05 level in the items of Therapeutic care, Patient's problem-solving, and Medical report. 2.3 Patients' behavior : There was a statistically significant difference at .05 level in the items of Patients' physical assessment, and Disorder of words or behavior. There was a statistically significant difference at .05 level in the item of Patients' behavior corresponding with their illness. 3. The proportions of content in nurses' notes between Medical Department, Surgical Department, Obstetric and Gynecological Department, Peadiatric Department and Eye-Ear-Nose-Throat Department. The summary of finding was as follow. 3.1 Basic needs : There was a statistically significant difference at .05 level in the items of Urination, and Self-care teaching. There was a statistically significant difference at .05 level in the items of Restand sleep, Water and Fluid Balance. 3.2 Nursing Implementation : There was a statistically significant difference at .01 level in the items of Patients' problem-solving, and Evaluating of nursing care. There was a statistically significant difference at .05 level in the items of follow-up. 3.3 Patient's behavior : There was a statistically significant difference at .01 level in all five items of Patient's behavior. The Patient's behavior was Patient's behavior corresponding with medical diagnosis, Patients' physical assessment, Patient's mental and emotional assessment, Disorder of words or behavior, and Patients' opinion concerning their illness and therapeutic care. 4. Evaluating the quality of nurses' notes between the government and private hospitals. The summary of finding was as follow. 4.1 Coverage : There was a statistically significant difference at .05 level in all three items of coverage. The Coverage was Basic needs, Nursing Implementation and Patient's behavior. The mean score of private hospitals was higher than the government hospitals. 4.2 Clarity : There was a statistically significant difference at .05 level in the item of Audit Facilitating. There was a statistically significant difference at .01 level in the item of Continuity. The mean score of private hospital was higher than the government hospitals. There was a statistically significant difference at .05 level in the item of Usage in language. 5. Evaluating the quality of nurses'notes between Medical Department, Surgical Department, Obstetric and Gynecological Department, Pediatric Departmentand Eye-Ear-Nose-Throat Department. The summary of finding was as follow. 5.1 Coverage : There was a statistically significant difference at .01 level in the item of Nursing Implementation between Obstetric and Gynecological Department and Medical Department. There was no statistically significant at .05 level in the items of Basic needs, and Patient's behavior among all five departments. 5.2 Clarity : There was a statistically significant difference at .01 level in the item of Continuity between Surgical Department and Obstetric and Gynecological Department. And also between Obstetric and Gynecolgical Department and Eye-Ear-Nose-Throat Department. There was no statistically significant difference at .05 level in the items of Usage in language, and Audit Facilitating among all five department.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2023
Type: Technical Report
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchada(Nurses).pdf12.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.