Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20266
Title: | การกำหนดนโยบายพืชตัดแต่งพันธุกรรมของประเทศไทย |
Other Titles: | The formulation of policy on genetically modified plants in Thailand |
Authors: | ศิรินท์ภทรา สถาพรวงศ์ |
Advisors: | อนุสรณ์ ลิ่มมณี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยที่ศึกษาการกำหนดนโยบายพืชตัดแต่งพันธุกรรมของประเทศไทย โดยอธิบายผ่านแนวคิดเรื่องเครือข่ายนโยบาย ประเภทเครือข่ายประเด็นปัญหา เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มต่างๆกลุ่มใดบ้างที่มีบทบาทต่อการกำหนดนโยบายนี้ และกลุ่มต่างๆเหล่านี้มีบทบาทอะไรบ้าง เนื่องจากประเด็นพืชตัดแต่งพันธุกรรมเป็นประเด็นที่นำมาสู่ความแตกต่างทางความต้องการนโยบายพืชตัดแต่งพันธุกรรม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์และทัศนคติของแต่ละกลุ่ม กลุ่มต่างๆจึงมีปฏิสัมพันธ์กับรัฐบาลเพื่อให้รัฐบาลกำหนดนโยบายเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มตน การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธี 2 วิธี คือ การวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์ การวิจัยเชิงเอกสารทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของนโยบายพืชตัดแต่งพันธุกรรมของประเทศไทย ส่วนการสัมภาษณ์ทำให้ได้ข้อมูลเชิงปฐมภูมิซึ่งเป็นข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับทัศนคติ, ผลประโยชน์, และบทบาทของกลุ่มต่างๆต่อการตัดสินใจเพื่อกำหนดนโยบายพืชตัดแต่งพันธุกรรมของประเทศไทยโดยรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี ผลการวิจัยพบว่ารัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายพืชตัดแต่งพันธุกรรมของประเทศไทย ได้ทำการประนีประนอมความต้องการของกลุ่มต่างๆ โดยการกำหนดนโยบายที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการของทั้งฝ่ายที่สนับสนุนพืชตัดแต่งพันธุกรรมและฝ่ายที่คัดค้านพืชตัดแต่งพันธุกรรม เพื่อรักษาไว้ซึ่งความนิยมของรัฐบาลและเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมกับบริบททางการเมืองในขณะนั้น |
Other Abstract: | Aimed at studying the network of Thailand’s policy on genetically modified plants, this thesis hypothesizes that the policy with its issue network is pressured by various conflicting groups and its output results from political compromise. It is found that the network of policy on genetically modified plants is composed two opposite groups of domestic and international actors with conflicting interests. To maximize its popularity and legitimacy the ruling government has to make the policy which satisfy both groups but give it no clear direction. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20266 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sirinbhattra_sa.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.