Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20693
Title: | วาทกรรมเหตุการณ์พิพาทเขาพระวิหาร พ.ศ. 2551 จากหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและอุดมการณ์ |
Other Titles: | The discourse of the 2008 Preah Vihear dispute from Thai daily newspapers : a study of the relationship between languge and ideology |
Authors: | นิติพงศ์ พิเชฐพันธุ์ |
Advisors: | ณัฐพร พานโพธิ์ทอง ศิริพร ภักดีผาสุข |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ปราสาทพระวิหาร อุดมการณ์ หนังสือพิมพ์ ภาษา |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและอุดมการณ์เกี่ยวกับ "ไทย" และ "เขมร" ในวาทกรรมเหตุการณ์พิพาทเขาพระวิหาร พ.ศ. 2551 จากหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยว่า มีการนำเสนอชุดความคิดเกี่ยวกับ "ไทย" และ "เขมร" ประการใดบ้าง และมีการใช้กลวิธีทางภาษาใดเพื่อนำเสนอชุดความคิดเหล่านั้น โดยศึกษาจากหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยจำนวน 9 ชื่อฉบับ ได้แก่ กรุงเทพธุรกิจ คมชัดลึก ไทยรัฐ ไทยโพสต์ เดลินิวส์ แนวหน้า ผู้จัดการรายวัน โพสต์ทูเดย์ และมติชน ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 มกราคม-วันพุธที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นเวลา 366 วัน ผลการศึกษาพบว่า มีการใช้กลวิธีทางภาษาเพื่อนำเสนอชุดความคิดเกี่ยวกับ "ไทย" และ "เขมร" แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลวิธีทางภาษาด้านอรรถศาสตร์และวัจนปฏิบัติศาสตร์ ได้แก่ การเลือกใช้ศัพท์ การใช้อุปลักษณ์ การใช้นามนัย การใช้มูลบท การใช้คำแสดงทัศนภาวะ การใช้ถ้อยคำนัยผกผัน และการกล่าวอ้างเพื่อสร้างสหบท และ 2) กลวิธีทางภาษาด้านการเรียบเรียงความ ได้แก่ การใช้โครงสร้างของเรื่องเล่า กลวิธีทางภาษาข้างต้นนำเสนอชุดความคิดที่สำคัญเกี่ยวกับ "ไทย" และ "เขมร" ได้แก่ ""เขมร" มักสร้างปัญหาให้แก่ "ไทย"" ""เขมร" ใช้เล่ห์เพทุบาย"" ""ไทย" ดำเนินการตามกฎเกณฑ์" ""ไทย" เพลี่ยงพล้ำให้แก่ "เขมร"" ทั้งนี้หากตีความความหมายของคำศัพท์ที่พบในความถี่สูง จะทำให้เห็นความคิดที่ว่า ""ไทย" เหนือกว่า "เขมร"" กล่าวคือ แม้ว่า ""ไทย" เพลี่ยงพล้ำให้แก่ "เขมร"" แต่ "ไทย" ก็มีคุณธรรมสูงกว่า "เขมร" เนื่องจาก ""ไทย" ดำเนินการตามกฎเกณฑ์" ในขณะที่ ""เขมร" ใช้เล่ห์เหลี่ยม"" |
Other Abstract: | The present study aims at examining the ideologies on "the Thais" and "the Khmers" as represented in various types of discourse, focusing on the case of the 2008 Preah Vihear dispute in Thai daily newspapers. The research questions here are: (1) what are the ideologies represented in the texts examined (2) what are the linguistic devices exploited to represent and/or construct such ideologies. The data elicited are from the nine Thai daily newspapers including Bangkok Business, Khom Chad Luek, Thai Rath, Thaipost, Daily News, Naewna, Manager, Post Today, and Matichon between January 1st to December 31st, 2008. . It is found that there are eight linguistic devices including lexical choice, metaphor, metonymy, presupposition, modality, irony, quotation, and using a routine pattern of discourse, exploited to construct the ideologies on the Thais and the Khmers. The significant instances of such ideologies are: "The Khmers make troubles for the Thais" "the Khmers are tricky while The Thais play by the rules" "The Thais are tricked by the Khmers." However, when interpreting the meanings of lexical items repeatedly found in the texts, it is found that the hidden ideology is "The Thais are morally superior to the Khmers." |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20693 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1891 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1891 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nitipong_pi.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.