Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20706
Title: อิทธิพลตัวแปรส่งผ่านของการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกของผู้อื่น และอิทธิพลตัวแปรกำกับของเพศต่ออิทธิพลการสนับสนุนจากครอบครัวและสภาพการแข่งขันทางการเรียนต่อความก้าวร้าวและการช่วยเหลือ
Other Titles: Mediating effects of empathy and moderating effects of gender on effects of family support and competitive academic environment on aggression and helping
Authors: สรียา โชติธรรม
Advisors: อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
Subjects: ความก้าวร้าว
พฤติกรรมการช่วยเหลือ
การร่วมรู้สึก
Aggressiveness
Helping behavior
Empathy
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาอิทธิพลของการสนับสนุนจากครอบครัวและสภาพการแข่งขันทางการเรียน ต่อความก้าวร้าวและการช่วยเหลือ โดยมีการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกของผู้อื่นเป็นตัวแปรส่งผ่าน และศึกษาอิทธิพลกำกับของเพศต่อความก้าวร้าวและการช่วยเหลือ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นิสิตนักศึกษา จำนวน 1,020 คน เป็นเพศชาย 510 คน และเพศหญิง 510 คน ทำมาตรวัดการสนับสนุนจากครอบครัว มาตรวัดสภาพการแข่งขันทางการเรียน มาตรวัดการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกของผู้อื่น มาตรวัดความก้าวร้าว และมาตรวัดการช่วยเหลือ ผลการวิจัยพบว่า 1. การสนับสนุนจากครอบครัวมีอิทธิพลต่อความก้าวร้าวในกลุ่มเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 2. การสนับสนุนจากครอบครัวมีอิทธิพลต่อความก้าวร้าวทั้งในเพศชายและเพศหญิง โดยมีการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกของผู้อื่นเป็นตัวแปรส่งผ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 3. การสนับสนุนจากครอบครัวมีอิทธิพลต่อการช่วยเหลือทั้งในเพศชายและเพศหญิง โดยการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกของผู้อื่นเป็นตัวแปรส่งผ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 4. สภาพการแข่งขันทางการเรียนมีอิทธิพลต่อความก้าวร้าวทั้งในเพศชายและเพศหญิง โดยมีการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกของผู้อื่นเป็นตัวแปรส่งผ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 5. สภาพการแข่งขันทางการเรียนมีอิทธิพลต่อการช่วยเหลือทั้งในเพศชายและเพศหญิง โดยมีการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกของผู้อื่นเป็นตัวแปรส่งผ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)
Other Abstract: To study the mediating effects of empathy and moderating effects of gender on effects of family support and competitive academic environment on aggression and helping. Participants were 1,020 undergraduate students, 510 males and 510 females, completed measures of family support, competitive academic environment, empathy, aggression, and helping. The results are as follows: 1. Family support has the effects on aggression in the female group (p < .001). 2. Family support has the effects on aggression mediated by empathy in the male and the female groups (p < .001). 3. Family support has the effects on helping mediated by empathy in the male and the female groups (p < .001). 4. Competitive academic environment has the effects on aggression mediated by empathy in the male and the female groups (p < .001). 5. Competitive academic environment has the effects on helping mediated by empathy in the male and the female groups (p < .001).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20706
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.512
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.512
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sareeya_ch.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.