Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20787
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพันธุ์ สาสัตย์-
dc.contributor.authorวไลลักษณ์ เพ่งฤทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-13T10:55:26Z-
dc.date.available2012-07-13T10:55:26Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20787-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ ความเจ็บป่วยร่วม ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่อเนื่อง ความร่วมมือในการใช้ยา การได้รับยาหลายชนิด การสนับสนุนทางสังคมและความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง และมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่เข้ามารับการรักษาในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในเขตกรุงเทพมหานคร 4 แห่งจำนวน 140 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความร่วมมือในการใช้ยา แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่อเนื่อง และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม โดยแบบสอบถามความร่วมมือในการใช้ยา แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมและแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และหาความเที่ยงจากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ .73, .88 และ .72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย 1. ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อย กว่า 50 mg.% ร้อยละ 89.50 (x-bar = 37.14 mg.%, S.D. = 1.17) มีอาการเซลล์ประสาทขาดน้ำตาล ร้อยละ 94.80 มีความรุนแรงของอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 47.90 2. อายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 (r = -.180) 3. ความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .178) 4. ความเจ็บป่วยร่วม ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่อเนื่อง ความร่วมมือในการใช้ยา การได้รับยาหลายชนิด และการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้สูงอายุโรคเบาหวานen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive research were to study the relationships between selected factors, such as age, duration of diabetes mellitus, comorbidity, instrument activity of daily living, drug compliance, medical conditions, social support, knowledge of hypoglycemia and hypoglycemia in older persons with diabetes mellitus. Participants were 140 older persons with diabetes mellitus from emergency room from four tertierycare hospitals in Bangkok, and were selected using multi-stage random sampling technique. Research instruments were demographic questionnaire, drug compliance questionnaire, instrument activity of daily living questionnaire, social support questionnaire, and knowledge of hypoglycemia questionnaire which were tested for content validity and reliability. The Cronbach’s alpha coefficients of drug compliance questionnaire, social support questionnaire, and knowledge of hypoglycemia questionnaire were .73, .88 and .72 respectively. The data were analyzed using Pearson’s product moment correlation coefficient. The results revealed that : 1. 89.50% of hypoglycemic in older persons with diabetes mellitus had blood glucose less than 50 mg.% (x-bar = 37.14 mg.%, S.D. = 1.17) 94.80% had neuroglycopenic symptoms and 47.90% had moderate hypoglycemia 2. age was negative correlated with hypoglycemia in older persons with diabetes mellitus at the level of .05 (r = -.180) 3. knowlage of hypoglycemia was positive correlated with hypoglycemia in older persons with diabetes mellitus at the level of .05 (r = .169) 4. comorbidity, duration of diabetes mellitus, instrument activity of daily living, drug compliance, medical conditions and social support were not correlated with hypoglycemia in older persons with diabetes mellitus.en
dc.format.extent7993552 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1939-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเบาหวานในผู้สูงอายุen
dc.subjectน้ำตาลพร่องในเลือดen
dc.subjectDiabetes in old age-
dc.subjectHypoglycemia-
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้สูงอายุโรคเบาหวานen
dc.title.alternativeSelected factors related to hypoglycemia in older persons with diabetes mellitusen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1939-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
walailuck_pe.pdf7.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.