Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20849
Title: การจัดการชุมชนสัมพันธ์ของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม
Other Titles: Community relations management of hotel industry
Authors: รัชนิกร สำราญรัตน์
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ผู้ประกอบการเพื่อสังคม
โรงแรม
โรงแรม -- บริการชุมชน
ชุมชน
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการจัดการกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ของผู้ประกอบการ ธุรกิจโรงแรมกับชุมชน (2) ศึกษาการรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมชุมชน สัมพันธ์ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรม ชุมชนสัมพันธ์ (4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ของ ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม การวิจัยประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบ เจาะลึกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานชุมชนสัมพันธ์ของโรงแรม และการวิเคราะห์เอกสาร และการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนพื้นที่โดยรอบโรงแรม จำนวน 400 คน ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินงานชุมชนสัมพันธ์ของผู้ประกอรการธุรกิจโรงแรมมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง การสื่อสารในการจัดการชุมชนสัมพันธ์เป็นไปอย่างมีระบบและมีขั้นตอน อันได้แก่ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายของกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ในเชิงชุมชนเชิงภูมิศาสตร์และชุมชนเชิงประเด็น ทั้งการใช้สื่อผสมผสานโดยเน้นที่สื่อบุคคลเป็นหลัก การกำหนดกลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ทั้งในเชิงการสื่อสารแบบ ไม่เป็นทางการและการสร้างความเป็นกันเองโดยอาศัยการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน การประเมินผลกิจกรรมทั้งการประเมินผลอย่างเป็นทางการ โดยวิธีการประชุมเพื่อหาผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรม และการประเมินผลแบบไม่เป็นทางการโดยวิธีการสังเกตปฏิกริยาจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม ส่วนปัจจัยที่เป็นปัจจัยหนุนเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์มีทั้งปัจจัยจากภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กรผลการวิจัยในส่วนการรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์พบว่า ชุมชนมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรงแรม และกิจกรรมต่างๆ ของโรงแรมอยู่ในระดับต่ำและได้รับข่าวสารจากเพื่อนและญาติมากที่สุด ชุมชนมีทัศนคติเป็นกลางต่อโรงแรมและกิจกรรมของโรงแรม ชุมชนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของทางโรงแรมในระดับต่ำมาก การรับรู้ข่าวสารของชุมชนเกี่ยวกับโรงแรม และกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของชุมชนต่อโรงแรมและกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ การรับรู้ข่าวสารของชุมชนเกี่ยวกับโรงแรมและกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม ของชุมชนในกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ที่โรงแรมจัดขึ้น ทัศนคติของชุมชนต่อโรงแรมและกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ที่แรงแรมจัดขึ้น
Other Abstract: The objectives of the research are (1) to study the community relations management of the hotel industry, (2) to study media exposure of community relations, attitude and participation in the community relations activities and (3) to study the relationship between the media exposure, attitude and the participation of the community relations activities. These research methods are the qualitative research with in-depth interviewing with persons who involved in community relations program of the hotel, documentary and quantitative research, a survey research of 400 residents nearby the hotels. The result shows that the community relations of the hotel have been well developed continually. The community relations management of the hotel has been systematically and methodically managed. The targets of the community relation activity are the community as per geography and the community as per the issue. The media mixed is the main media strategy, the strategy for relationship building is the informal communication and the friendliness. The evaluation is the combination between the formal evaluation by the staff meeting and the informal evaluation by the observation during the activity. The factor to support and to obstruct the effectiveness of the community relations activities are the internal factors and external factors. In term of media exposure of community relations activities, attitude and participation in the community relations activities, the result shows that the exposure of the community is low, mainly exposure to the personal source. The attitude to the hotel and the community relations activity of the community is average. The participation in the community relations activity of the community is in the low level. The media exposure of community relations has positive correlation with the community’s attitude. The media exposure of community relations has positive correlation with the community’s participation. The community’s attitude has the positive correlation with the community’s participation.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20849
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2058
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2058
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ratchnikorn_su.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.