Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21155
Title: ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนจากครอบครัว ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน
Other Titles: The effect of self-efficacy and family support enhancement program on health promoting behaviors among glaucoma disease elderly patients
Authors: หทัยกาญจน์ เชาวกิจ
Advisors: จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ต้อหิน
ผู้สูงอายุ -- โรค
การส่งเสริมสุขภาพ
ความสามารถในตนเอง
ผู้สูงอายุ -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีความสามารถตนเอง Bandura (1997) ร่วมกับแนวคิดแรงสนับสนุนทางสังคมของ House (1981) กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคต้อหินทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคต้อหิน แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ได้มาจากการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 ราย กลุ่มควบคุม 30 ราย โดยจับคู่ในเรื่องเพศ ระดับการศึกษา รายได้ โรคประจำตัว กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การประเมินทางสภาพสรีรวิทยาและการกระตุ้นทางอารมณ์ การให้คำแนะนำหรือการใช้คำพูดชักจูง การเรียนรู้ผ่านตัวแบบหรือประสบการณ์ของผู้อื่น ประสบการณ์ที่กระทำสำเร็จได้ด้วยตนเอง และการสนับสนุนจากครอบครัว ใน 4 ด้าน คือ ด้านอารมณ์ ด้านการประเมินค่า ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านทรัพยากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหินเรื้อรัง ของ สุชาดา ภัทรมงคลฤทธิ์ (2542) ที่สร้างจากแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (Pender, 1996) ความเที่ยงเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired-t test และสถิติ Repeated Measures ANOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน หลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนจากครอบครัว สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน หลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนจากครอบครัว สูงกว่าผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหินที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effect of self- efficacy and family support enhancement program on health promoting behaviors among glaucoma disease elderly patients. Self-efficacy Theory of Bandura (1997) and Social-support Theory of House (1981) were used as the conceptual framework. The subjects comprised of 60 elderly patients with glaucoma disease at Glaucoma clinics, King chulalongkorn Memorial Hospital of the Thai Red Cross Society, which devided 30 as a control group and another 30 was experimental group. Sex, education, salary and disease were matched. The Control group received the regular health teaching and the experimental group received the self- efficacy and social support enhancement program, which consisted of physiological assessment and affective states stimulation, verbal persuasion, vicarious experiences and enactive mastery experiences, Family support consisted of emotional support, appraisal support, informational support and instrumental support. Health promoting behaviors was accessed using a modified version of the questionnaire developed by Suchada (1999) by using Pender’s Health promoting Model (1996). The instruments were tested for their internal consistency using Cronbranch’s alpha. The demonstrated acceptable reliability at .84. Data were analyzed using mean, standard deviation, paired-t test and repeated measures ANOVA statistics. Major findings were as follows: 1. The mean score of health promoting behaviors elderly patients with glaucoma disease in the experimental group receiving self-efficacy and family support enhancement program was significantly higher than that before receiving perceived benefit promoting program (p<.05). 2. The mean score of health promoting behaviors elderly patients with glaucoma disease in the experimental group receiving self-efficacy and family support enhancement program was significantly higher than that of the control group (p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21155
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1950
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1950
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hataikarn_ch.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.