Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21180
Title: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์สายโซ่วิธีการ-เป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: การพัฒนาโมเดลการวัดและการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม
Other Titles: An application of means-end chain analysis in developing the quality of learner-centered instruction : development of a measurement model and value added analysis
Authors: วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล
Advisors: สุชาดา บวรกิติวงศ์
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดและเครื่องมือวัดคุณภาพของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตามแนวการวิเคราะห์สายโซ่วิธีการ-เป้าหมาย 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการวัดคุณภาพของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามแนวการวิเคราะห์สายโซ่วิธีการ-เป้าหมาย ระหว่างผลการวัดโดยใช้เครื่องมือวัดแบบเดิมกับเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อศึกษาคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่มที่ได้จากการวัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามแนวการวิเคราะห์สายโซ่วิธีการ-เป้าหมาย และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนการสอนกับครูชาวต่างประเทศตามแนวการวิเคราะห์สายโซ่วิธีการ-เป้าหมาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1021 คนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนนทบุรี ที่ได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 แบบ คือ แบบสัมภาษณ์ 1 ชุด และแบบสอบถามที่มีลักษณะต่างกัน 2 ลักษณะคือแบบมาตรประมาณค่าและแบบจัดลำดับ ตัวแปรที่นำมาใช้ในการวิจัยแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วยคุณลักษณะด้านภาษา/ภาษาศาสตร์ คุณลักษณะด้านวัฒนธรรม คุณลักษณะด้านการสอน และคุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ ซึ่งตัวแปรแต่ละกลุ่มสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนย่อยได้แก่ คุณลักษณะ ผลที่เกิดตามมา และคุณค่า ที่ส่งต่อกันเป็นช่วง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน การสร้างเส้นทางเชื่อม วิเคราะห์ตรวจสอบความตรงของโมเดล วิเคราะห์เส้นทาง และปัจจัยที่ส่งผลด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า 1) โมเดลการวัดคุณภาพของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามแนวการวิเคราะห์สายโซ่วิธีการ-เป้าหมายเมื่อกำหนดคุณภาพการเรียนการสอน วัดได้จากตัวบ่งชี้ 3 ตัว คือ คุณลักษณะ ผลที่เกิดตามมา และคุณค่าซึ่งมีอิทธิพลต่อตัวบ่งชี้ที่ตามมา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า Chi-square = 40.977, df = 29, P = 0.069, RMSEA = 0.020, RMR = 0.003, GFI = 0.993, AGFI = 0.982 และ CFI = 0.999 ผลการวิเคราะห์พบว่า ในจำนวนตัวบ่งชี้ทั้ง 3 ตัวมีเพียงตัวบ่งชี้คุณลักษณะและคุณค่าเท่านั้นที่น้ำหนักองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวบ่งชี้ที่เป็นอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของคุณลักษณะต่อคุณค่าผ่านผลที่เกิดตามมา 2) การเปรียบเทียบผลการวัดคุณภาพการเรียนการสอนระหว่างเครื่องมือวัดทั้งสองแบบ พบว่า ผลการวัดมีความสอดคล้องกันน้อย 3) มูลค่าเพิ่มตามแนวคิดการวิเคราะห์สายโซ่วิธีการ-เป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้เรียนมีความกล้าในการใช้ภาษา มีโอกาสในการศึกษาต่อในระดับสูง มีความภูมิใจและเห็นคุณค่าในการศึกษาวัฒนธรรม เกิดใจกว้างยอมรับวัฒนธรรม มีแรงจูงใจในการปฏิบัติตนตามหน้าที่ และมีความเชื่อมั่นในบุคลิกภาพของตนเอง เพิ่มขึ้นจากการได้เรียนกับครูชาวต่างประเทศ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตามแนวการวิเคราะห์สายโซ่วิธีการ-เป้าหมาย พบว่าตัวแปรเพศ เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ และประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษกับครูชาวต่างประเทศส่งอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อคุณค่าที่ได้รับผ่านทางตัวแปรคุณลักษณะและผลที่เกิดตามมา โดยคุณค่าได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัวสูงกว่าอิทธิพลทางตรง เกรดเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษในภาคเรียนที่ผ่านมาส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อคุณค่าด้วยขนาดอิทธิพลสูงสุด
Other Abstract: The four objectives of this research were: 1) to develop the measurement model and the instruments measuring the quality of the learner-centered instruction based on the means-end chain (MEC) analysis, 2) to compare the measurement between the two instrument: the traditional and the developed instruments, 3) to study the value added derived from the measurement based on the MEC analysis, and 4) to study the effects of the factor affecting the foreign teachers’ instructional quality based on the MEC analysis. The sample, randomly selected using two-stage sampling, consisted of 1021 Grade 9 students in schools under the jurisdiction of the Office of Basic Education Committee at Nonthaburi. The two type of research instruments were the interview schedule and two types of questionnaires in Likert scale and ranking format. The research variables were divided into four groups: language, culture, teaching and personality, each of which were divided into three parts of attribute, consequence, and values, all of which had direct effects on the consequent traits. Data analyses were descriptive statistics, analysis of variance, correlation analysis, path analysis, and LISREL analysis for model validation. The major findings were summarized as follows: 1) the measurement model of the quality of the learner-centered instruction based on the MEC analysis consisting of 3 indicators of attribute, consequence, and value with consequential effects to the following indicators, fit to the empirical data with Chi-square = 40.977, df = 29, P = 0.069, RMSEA = 0.020, RMR = 0.003, GFI = 0.993, AGFI = 0.982 and CFI = 0.999. The analysis results revealed that only the attribute and value had significant loadings with the causal relationship among the three indicators indicating direct and indirect effects of attribute on value via consequence. 2) the comparison of instructional quality measurement between the two measuring instruments indicated low consistency. 3) the value added based on the MEC analysis consisted of the increment in learner’s courage in English usage, high opportunities to continue their study, being proud and recognized the value of cultural study, having open minded in cultural adoption, being motivated to perform their duties and having confidence in their personality through studying with the foreign teacher. 4) the factors affecting the learner-centered instruction based on the MEC analysis were sex, GPA., English GPA, and the experience in studying with foreign teacher, all of which had direct and indirect effects on value via attribute and consequence. The indirect effect of those four factors had higher indirect effects than direct effect with the highest indirect effect of English GPA.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21180
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1956
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1956
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
waiyawut_yo.pdf8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.