Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21245
Title: | การศึกษาความชุกของการตรวจพบไรเดโมเด็กซ์บนใบหน้าของผู้ที่มาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Prevalence of demodex species on the face of people who visit King Chulalongkorn memorial hospital for routine check up |
Authors: | วีรุทัย สภานนท์ |
Advisors: | วิวัฒน์ ก่อกิจ กัญญรัตน์ กรัยวิเชียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ไร ใบหน้า ผิวหนัง -- โรค Mites Face Skin -- Diseases |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เดโมเด็กซ์จัดเป็นไรชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในต่อมขนของมนุษย์ บทบาทของไรชนิดนี้ในมนุษย์ยังไม่ทราบแน่ชัด การตรวจพบไรเดโมเด็กซ์บนใบหน้ามนุษย์ในบางกรณีนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดผื่นผิวหนัง หลายชนิดที่ไม่เฉพาะเจาะจง ในขณะเดียวกันก็สามารถตรวจพบไรเดโมเด็กซ์ได้ในใบหน้าของคนปกติ ข้อมูล เกี่ยวกับความชุกในประชากรไทยยังไม่เคยมีรายงาน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของการตรวจพบไรเดโมเด็กซ์บนใบหน้าคนไทยและทำการวิเคราะห์ ผลที่ได้กับปัจจัยต่างๆที่มีความเกี่ยวข้อง วิธีการศึกษา : ทำการศึกษาโดยการสุ่มตัวอย่างจากผู้ที่มารับบริการตรวจสุขภาพ (check up) ที่แผนก ผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ป้องกัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2552 ถึงสิ้นเดือน มกราคม 2553 ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยตอบแบบสอบถามเพื่อเก็บเป็นข้อมูลพื้นฐานในแต่ละบุคคล และทำการตรวจด้วย วิธีการขูดผิวหนังชั้นนอกที่บริเวณต่างๆบนใบหน้า หลังจากนั้นจึงนำไปตรวจหาไรเดโมเด็กซ์ด้วยกล้อง จุลทรรศน์ ประเมินผลการตรวจโดยรายงานว่าตรวจพบหรือไม่พบ จำนวนที่ตรวจพบ และบริเวณที่ตรวจพบ รวม ไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่สอดคล้องกับการตรวจพบ ผลการศึกษา : ผู้เข้าร่วมการศึกษา 200 คน เป็นเพศชาย 63 คน เพศหญิง 137 คน อายุระหว่าง 18 ถึง 73 ปี พบว่าตรวจพบไรเดโมเด็กซ์บริเวณใบหน้ามีความชุกเท่ากับ 41 คนจาก 200 คนคิดเป็น 20.5% พบบริเวณจมูก หนาแน่นที่สุด D.folliculorum เป็นสปีชีส์ที่พบมาก และความหนาแน่นเท่ากับ 1 ตัวต่อผู้เข้าร่วมวิจัย 1 คน โดย เมื่อประเมินปัจจัยต่างๆ พบว่าปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการตรวจพบไรเดโมเด็กซ์คือ สภาพผิวหน้าผสมถึงมัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.000) และการที่ไม่พบอาการคันใบหน้าสอดคล้องกับการตรวจไม่พบไรเด โมเด็กซ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.022) ซึ่งปัจจัยทั้งสองนี้ส่งผลอย่างเป็นอิสระต่อกัน สรุปผล : ความชุกของการตรวจพบไรเดโมเด็กซ์ในคนไทยเท่ากับ 20.5% จัดเป็นค่าที่มีนัยสำคัญ นั่นคือ ในคนปกติสามารถตรวจพบไรเดโมเด็กซ์ได้ ดังนั้นการพิจารณาในแง่ของการรักษา จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัย หลายๆชนิดที่มีความเกี่ยวข้องเช่นอาการและอาการแสดงที่สอดคล้องกับโรคผิวหนังที่เกิดจากไรเดโมเด็กซ์ (Demodicosis) เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจอันจะเกิดประโยชน์สูงสุด |
Other Abstract: | Background : Demodex are follicular mites found in human. Their roles in causing diseases are still inconclusive. Generally, it is human normal flora but in some situations it can cause unspecified dermatological concerns. To date, The diagnostic criteria for Demodicosis is equivocal ; leading to inappropriately use of antiparasite against Demodex. Moreover, the data in our population is lacking Objective : To determine the prevalence of Demodex species in our population and compare the outcomes with various factors. Materials and Methods : A group of people was randomly selected from patients at Preventive medicine department, Chulalongkorn memorial hospital from July 2009 to January 2010. First, the participants completed the questionnaires about possibly related factors. Then the skin scrapings for scales with distinct areas of forehead, cheeks, nose and chin were done. Then the scales were prepared and traced for Demodex. In the settings that at least one Demodex was found it is reported positive. On the other hand, negative was reported in case that there is no evidence of Demodex. Results : From 200 participants, The ratio of female : male are 137: 63. Age range equal 18 to 73 years old. 41 participants were found to be positive for Demodex, which is 20.5%. The most prominent area was nose and D.folliculorum was pronounce. The density was mostly one Demodex per person. The statistically significant associating factor with the presence of Demodex was combination to oily skin complexion (P-value = 0.000) While non facial itching was found to be statistically significant associated with the unpresence of Demodex (p-value = 0.022). These two factors were found to be independence. Conclusions : The prevalence of Demodex species in our population is 20.5% which is quite a significant number. That means in normal population, Demodex are able to be found. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21245 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.341 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.341 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
veeruthai_sa.pdf | 7.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.