Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21302
Title: | การพัฒนาการรักความเป็นไทยของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6: การทดลองแบบสี่กลุ่มของโซโลมอน |
Other Titles: | The development of cherishing Thainess of sixth grade students : a Solomon four-group experiment |
Authors: | ขวัญจิรา อินทร์เอี่ยม |
Advisors: | ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ค่านิยม -- ไทย วัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ค่านิยมในวัยรุ่น -- ไทย |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ระดับการรักความเป็นไทยของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบการรักความเป็นไทย ระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบวิเคราะห์วิดีโอคลิปกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบปกติ ทั้งก่อนและหลังการทดลอง และ 3) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการวัดก่อนการทดลองกับการจัดกิจกรรมทั้งกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบวิเคราะห์วิดีโอคลิปและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบปกติ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experiment) แบบสี่กลุ่มของโซโลมอน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนทั้งหมด 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมจำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน ดำเนินการทดลองทั้งหมด 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมแบบวิเคราะห์วิดีโอคลิปและแผนการจัดกิจกรรมแบบปกติ 2) วิดีโอคลิปที่นำเสนอเนื้อหาความเป็นไทย ครอบคลุมทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้แก่ รักในสถาบันหลักของไทย รักในภาษาไทย รักในกิริยามารยาทไทย รักในประเพณีและศิลปกรรมไทย รักในสินค้าและภูมิปัญญาไทย 3) แบบวัดเชิงสถานการณ์ 4) แบบประเมินพฤติกรรมตนเอง 5) แบบประเมินพฤติกรรมโดยครูประจำชั้น และ 6) แบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ระดับการรักความเป็นไทยของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้สถิติวิเคราะห์ One-way ANCOVA เปรียบเทียบคะแนนการรักความเป็นไทยก่อนการทดลองและหลังการทดลองโดยกำหนดให้เกรดเฉลี่ยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 และคะแนนการคิดวิเคราะห์เป็นตัวแปรปรับ (covariate) เมื่อพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง จึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ (post hoc) และใช้วิเคราะห์ Two-way ANCOVA ตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการวัดก่อนการทดลองกับรูปแบบการจัดกิจกรรม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีการรักความเป็นไทยตามทฤษฎี พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก อยู่ในระดับที่ 2 คือ ระดับกฎเกณฑ์สังคม (conventional level) ทั้งก่อนและหลังทดลอง 2. ก่อนการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนรักความเป็นไทยของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบวิเคราะห์วิดีโอคลิป กับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบปกติ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนรักความเป็นไทยของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบวิเคราะห์วิดีโอคลิป สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การวัดก่อนการทดลอง |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to analyze the cherishing thainess of sixth grade students 2) to compare the cherishing thainess among the experimental groups of students who had practiced their cherishing thainess with the video clip analysis technique and the control groups of students who had practiced their cherishning thainess with the traditional technique and 3) to study interactive effect between pretest and treatment. This research was a Solomon four-group quasi experimental research with the sample group consisting of 100 sixth grade students. Each of four groups had 25 students. The research toolkit consisted of lesson plans, video clips, 4-choice situation test form, 4-point Likert scale behavior evaluation form by themselves, 4-point Likert scale behavior evaluation form by teacher and Thai language test. Data were analyzed by using one-way ANCOVA and two-way ANCOVA. The research finding were as follows: 1. The sixth grade students had cherishing thainess by Kohlberg’s moral stage theory level 2: conventional level both of pretest and posttest. 2. The results of pretest showed that the experimental groups of students who had practiced their cherishing thainess with the video clip analysis technique and the control group s of students who had practiced their cherishning thainess with the traditional technique were not statistically significant at .05 level. The results of posttest showed that the experimental group had more cherishing thainess than the control group with the statistically significant at .05 level. 3. There was no interaction effect between pretest and treatment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21302 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2247 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.2247 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kwanjira_in.pdf | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.