Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21318
Title: ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้กรดนิโคตินิกในรูปแบบออกฤทธิ์นานเพื่อลดระดับฟอสฟอรัสในซีรั่มของผู้ป่วยล้างไต
Other Titles: Effectiveness and safety of extended-release nicotinic acid for reduction of serum phosphorus in dialysis patients
Authors: รชานนท์ ศรีสวัสดิ์วงศ์
Advisors: พรอนงค์ อร่ามวิทย์
อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ไต -- โรค -- ผู้ป่วย
ไนอะซิน
ฟอสฟอรัส
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของกรดนิโคตินิกรูปแบบออกฤทธิ์นานในการลดระดับฟอสฟอรัสในซีรัมของผู้ป่วยในการล้างไต มีรูปแบบการวิจัยเป็นการทดลองแบบเปรียบเทียบกลุ่มควบคุมแบบสุ่ม (randomized placebo-controlled trial) ศึกษา ณ โรงพยาบาลและคลินิก 4 แห่ง เป็นเวลา 18 สัปดาห์ ในผู้ป่วยล้างไตด้วยการฟอกเลือดที่มีภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง หลังจากระยะควบคุมอาหารเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยกลุ่มทดลองได้รับกรดนิโคตินิกในรูปแบบออกฤทธิ์นานวันละ 1 ครั้ง มีการปรับขนาดยาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เริ่มจาก 375 มก. จนสูงสุด 1,000 มก. รับยาเป็นเวลา 12 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมได้รับยาหลอก มีผู้ป่วยในแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 14 ราย ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ยังคงได้รับยาจับฟอสเฟตและการรักษาแบบมาตรฐาน มีการตรวจเลือดเพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยทุก 4 สัปดาห์ และทำการวิเคราะห์ทางสถิติจากผู้ป่วยทั้งหมด 28 ราย เมื่อสิ้นสุดระยะทดลองในสัปดาห์ที่ 12 พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีการลดลงของค่าเฉลี่ยฟอสฟอรัสในซีรัมจาก 7.13 ± 1.09 เป็น 5.65 ± 1.22 มก./ดล. (p<0.001) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลองแลกลุ่มควบคุม ผู้ป่วยในกลุ่มทดลอง 9 ใน 14 ราย มีระดับฟอสฟอรัสในซีรัมเข้าเกณฑ์ของ K/DOGI คิดเป็นร้อยละ 64.29 โดยไม่พบการเปลี่ยนแปลงของแคลเซียมในซีรัมและพาราไทรอยด์ฮอร์โมนอย่างมีนัยสำคัญ เอชดีแอล-คอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.22 (p=0.037) ปริมาณพลังงานและฟอสฟอรัสจากอาหารไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม ผู้ป่วยทนต่อขนาดยาเฉลี่ย 723.21 ± 302.95 มก.โดยผู้ป่วยชายทนต่อยาขนาดสูงกว่าหญิง พบอาการไม่พึงประสงค์ ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบ ในกลุ่มทดลองทุกราย พบอาการคลื่นไส้ มึนศีรษะ ไม่สบายท้อง ท้องเสียหรือท้องผูก ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม และไม่พบการเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือด กรดยูริก เอนไซม์ AST, ALT, AL, และ CPK แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ กรดนิโคตินิกรูปแบบออกฤทธิ์เนิ่นมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการลดฟอสฟอรัสในซีรัม เสริมกับการรักษามาตรฐาน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของไขมันในเลือดร่วมด้วย
Other Abstract: The objectives of this study were to evaluate effectiveness and safety of extended-release nicotinic acid for the reduction of serum phosphorus in dialysis patients. A randomized placebo-controlled trial was conducted at three hospitals and a clinic for 18 weeks. The 28 hemodialysis patients with hyperphophatemia after 4 weeks. The initial daily dose was 375 mg and then titrated once weekly to 500, 750 and the maximum dose of 1,000 mg, as tolerated. Control group was received placebo. Laboratory finding were performed every 4 weeks to evaluate the effectiveness and safety. Data was analyzed from all 28 patients. At the 12th week, average serum phosphorus of nicotinic acid group significant reduces from 7.13 ± 1.09 to 5.65 ± 1.22 mg/dL (p<0.001). There was no statistical significant difference between both groups. Nine of 14 patients (63.63%) in nicotinic group were achieved K/DOQI serum phosphorus goal. Serum HDL of patients in nicotinic group increased 30.22 % from baseline (p=0.037). There were no significant changes of serum calcium and parathyroid hormone level. Energy and phosphorus intake showed no significant differences between both groups. The mean tolerated dose was 723.21 ± 302.95 mg. the tolerated dose of male patients was higher than female’s. Hot flushing was found in all patients of nicotinic acid group. Common gastrointestinal adverse effects and dizziness were found in both groups. There were no significant changes of FBS, uric acid, AST, ALT, ALP and CPK in all patients. We can conclude that extended-release nicotinic acid is effective and safe in reducing serum phosphorus as add-on standard therapy in hemodialysis patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21318
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1490
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1490
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rachanon_sr.pdf12.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.