Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2139
Title: การศึกษาลักษณะฟีโนไทป์ของแบคทีเรียแลคโตบาซิลไล ที่แยกจากอาหารหมักดอง : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: ลักษณะฟีโนไทป์ของแบคทีเรียแลคโตบาซิลไลที่แยกจากอาหารหมักดอง
Study of phenotypic characterization of lactobacilli bacteria isolated from fermented foods
Authors: สมบูรณ์ ธนาศุภวัฒน์
สุมนา วรรธนะภูติ
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา
Subjects: จุลินทรีย์ในอาหาร
อาหารหมักดอง
แลคโตแบซิลลัส
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาลักษณะทางฟีโนไทป์ของเชื้อแลคโตบาซิลไลทั้งหมด 70 ไอโซเลตที่แยกจากอาหารหมักดองหลายหชนิด พบว่า เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้มีรูปร่างแท่งติดสีแกรมบวก ไม่เคลื่อนที่ ไม่สร้างสปอร์ ไม่มีเอนไซม์แคตาเลส ไม่มี iron prophyrin ทั้งหมดเป็นแบคทีเรียจำพวก microaerophiles ซึ่งสามารถสลายกลูโคสได้ ไม่มีรีดิวส์ไนเตรต ไม่สลายเจลาตินและแป้ง ไม่สร้างเมือกจากการใช้น้ำตาลซูโครส และไม่สร้างแก๊สจาการใช้น้ำตาลกลูโคส บางเชื้อสามารถสลายเอสคิวลินหรืออาร์จินีนได้ บางเชื้อทำให้โปรตีนแข็งตัวและ/หรือรีดิวส์ลิตมัสในอาหารนมได้ เชื้อส่วนใหญ่สามารถใช้กลูโคเนตแล้วให้แก๊ส แต่ปฏิกิริยาทางชีวเคมีของเชื้อเหล่านี้แตกต่างกัน บางเชื้อสามารถทำให้เกิดกรดจากการใช้น้ำตาลชนิดต่าง ๆ ที่นำมาทำการทดลองเชื้อเหล่านี้สามารถเจริญได้ในอาหารที่มีความเป็นกรดหรือด่างที่ pH ระหว่าง 4.5 - 8.0 และในอาหารเหลวที่มีโซเดียมคลอไรด์ 2.0 เปอร์เซ็นต์ คุณสมบัติของเชื้อที่ทนเกลือได้ในขนาดสูงในอาหารเหลวที่มีโซเดียมคลอไรด์ 4.0 - 8.0 เปอร์เซ็นต์ มีความแตกต่างกันไป ซึ่งอาจสัมพันธ์กับความเป็นกรดด่างของอาหารและอุณหภูมิที่ใช้ในการเจริญด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อเหล่านี้ไม่สามารถเจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้ในการวิเคราะห์ไบโอติน หรือไพริดอกซิน และยังมีบางเชื้อที่เจริญได้ในอาหารซึ่งใช้วิเคราะห์ไธอะมีน หรือกรดโฟลิค หรือริโบฟลาวิน
Other Abstract: Seventy lactobacilli isolated from various kinds of fermented foods were characterized phenotypically. They were found to be grampositive rod shape bacilli, non-motile, non-spore forming, and do not possess catalase enzyme or iron porphyrin. All are microaerophiles which can utilize glucose fermentatively, and none can reduce nitrate nor hydrolyse gelatin or starch. No slimy formed from sucrose utilization, and no gas produced from glucose. Some isolates are able to hydrolyse aesculin or arginine. Some can coagulate protein and /or reduce litmus in milk medium. Most of them can ferment gluconate with gas production. Their biochemical reactions in many sugar media tested are varied in acid production. All isolates were found to grow in acid or alkaline media pH of about 4.5 to 8.0 and in broth culture containing 2.0 percent of sodium chloride media, however, are varied and seem to be pH and temperature dependent. Moreover these bacteria were found unable to grow in biotin or pyridoxine assay medium. The ability to grow in thiamine or folic acid or riboflavin assay medium was found possible to certain isolates.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2139
Type: Technical Report
Appears in Collections:Pharm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SomboonStu.pdf4.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.