Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2141
Title: การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของ semicarbazide ในการวิเคราะห์หาปริมาณยาปฏิชีวนะที่ผสมกับ streptomycin โดยวิธีทางจุลชีววิทยา : รายงานการวิจัย
Other Titles: สภาวะที่เหมาะสมของ semicarbazide ในการวิเคราะห์หาปริมาณยาปฏิชีวนะที่ผสมกับ streptomycin โดยวิธีทางจุลชีววิทยา : รายงานการวิจัย
The study of semicarbazide effect on the microbiological assay of the combination of streptomycin with various antibiotics
Authors: อารีรัตน์ ลออปักษา
วิมลมาศ ลิปิพันธ์
พิณทิพย์ พงษ์เพ็ชร
กิ่งฟ้า ทรัพย์มนชัย
Email: [email protected]
[email protected]
[email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา
มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: ยาปฏิชีวนะ--การวิเคราะห์
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความเข้มข้นของ semicarbazide hydrochloride ต่ำสุดที่มีผลยับยั้งการเจริญของเชื้อทดสอบ Sarcina lutea ATCC 9341, Staphylococcus aureus ATCC 6538P และ Bacillus subtilis ATCC 6633 ที่ใช้ในการวิเคราะห์ยาปฏิชีวนะมีค่าเท่ากับ 6.0, 10.0 และ 4.0 มก/มล. ตามลำดับ ดังนั้นเพื่อป้องกันผลรบกวนในการวิเคราะห์ยาปฏิชีวนะต้องใช้ความเข้มข้นของ semicarbazide hydrochloride ต่ำกว่าค่านี้ streptomycin ในความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม/มล. จะถูกยับยั้งฤทธิ์การฆ่าเชื้อทดสอบ B. subtilis ได้โดยใช้ semicarbazide hydrochloride ในความเข้มข้นต่ำสุด 1.5 มก./มล. ปริมาตรเท่ากัน บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส นาน 180 นาที และความเข้มข้นขนาด 2.0 มก./มล. สามารถยับยั้งการฆ่าเชื้อทดสอบโดย streptomycin ได้ในเวลาต่ำสุด 30 นาที เมื่อทดลองบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นต่ำสุดของ semicarbazide hydrochloride ที่มีผลการต่อการยับยั้งการฆ่าเชื้อโดย streptomycin ได้ทุกระยะเวลาที่ทำการทดลอง เมื่อบ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และ 37 องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับ 4.0 และ 6.0 มก./มล. ตามลำดับ จากการทดลองนี้แสดงว่าการบ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส จะใช้ปริมาณของ semicarbazide hydrochloride ต่ำกว่าและใช้เวลาน้อยกว่า ความเข้มข้นที่เหมาะสมของ semicarbazide hydrochloride ที่จะไปยับยั้งการฆ่าเชื้อทดสอบโดย streptomycin มีค่าเป็น 2.0 มก./มล. บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสในเวลา 30 นาที สำหรับผลของ semicarbazide hydrochloride ต่อยาปฏิชีวนะกลุ่ม aminoglycoside อื่น พบว่า ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5 ถึง 2.0 มก./มล. ทั้งที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และ 37 องศาเซลเซียสไม่มีผลต่อการยับยั้งการฆ่าเชื้อทดสอบ B. subtilis โดย dihydrostreptomycin แต่ความเข้มข้นตั้งแต่ 1.0 ถึง 1.5 มก./มล. ขึ้นไปมีผลต่อการยับยั้งการฆ่าเชื้อทดสอบ S.aureus โดย kanamycin ส่วนยาปฏิชีวนะกลุ่ม penicillin พบว่า ความเข้มข้นของ semicarbazide hydrochloride ตั้งแต่ 0.5 ถึง 10.0 มก./มล. ที่อุณหภูม 30 องศาเซลเซียส และ 37 องศาเซลเซียส ไม่มีผลต่อการยับยั้งการฆ่าเชื้อทดสอบ S. aureus โดย penicillin G ยา rifampin ในกลุ่ม rifamycin จะคล้ายคลึงกับยาปฏิชีวนะในกลุ่ม aminoglycoside ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5 ถึง 2.0 มก./มล. ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และตั้งแต่ 0.5 ถึง 1.5 มก./มล. ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสจะไม่มีผลต่อการยับยั้งการฆ่าเชื้อทดสอบ S. lutea โดย rifampin เวลาที่ใช้บ่มทั้งหมดส่วนใหญ่ไม่ควรบ่มเกิน 120 นาที การวิเคราะห์ยาปฏิชีวนะเหล่านี้ที่ผสม streptomycin จึงต้องพิจารณาถึงความเข้มข้นของ semicarbazide hydrochloride ที่ใช้ในการยับยั้งฤทธิการฆ่าเชื้อทดสอบโดย streptomycin รวมถึงอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้มีผลกับยาปฏิชีวนะตัวที่ต้องการวิเคราะห์ จากการทดลองวิเคราะห์ยาปฏิชีวนะ penicillin จากยาปฏิชีวนะรวม penicillin กับ streptomycin พบว่า การใช้ semicarbazide hydrochloride ในการวิเคราะห์จะได้ค่าความแรงของ penicillin G เฉลี่ย (% labeled amount) เท่ากับ 112.56 +- 6.86 % ใกล้เคียงกับการใช้จุลินทรีย์ที่ไวจำเพาะมีค่า 112.02 +- 4.99 % และในการศึกษาระดับยา rifampin ในซีรั่ม และน้ำไขสันหลังของผู้ป่วยวัณโรคของเยื่อหุ้มสมองจำนวน 5 รายที่ได้รับยารวมร่วมกับ streptomycin และยาอื่นโดยการใช้ semicarbazide hydrochloride ทำให้ทราบความเข้มข้นของยาเฉลี่ยต่อผลการรักษาโรคโดยเปรียบเทียบกับ MIC ต่อเชื้อ mycobacterium tuberculosis (0.1 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ของน้ำไขสันหลัง) มีค่า 0.10-0.57 ไมโครกรัม/มล. และทำให้ทราบความเข้มข้นของ rifampin ในน้ำไขสันหลังเฉลี่ยในสัปดาห์เป็น 4.52% ของยาในซีรั่ม จากการทดลองวิเคราะห์เหล่านี้นับได้ว่ามีประโยชน์ต่อการควบคุมคุณภาพ การรักษาโรค และการวิจัยต่อไป
Other Abstract: The semicarbazide hydrochloride in concentrations at least 6.0, 10.0 and 4.0 mg./ml. could inhibit the microbiological test organisms of Sarcina lutea ATCC 9341, Staphylococcus aureus ATCC 6538P and Bacillus subtilis ATCC 6633 respectively. In the microbiological assay of antibiotics must be added semicarbazide hydrochloride in concentrations less than these according to the interference. Streptomycin in concentration of 100 mcg./ml. was antagonistic with semicarbazide hydrochloride in concentration at least 1.5 mg./ml. (equal volume) against B. subtilis at 37 ?C in 180 min. and in concentration of 2.0 mg./ml. in at least 30 min. whereas at 37?C the lowest concentration was 3.0 mg./ml. in 60 min. and 4.0 mg./ml. in at least 30 min. The maximal concentration of semicarbazide hydrochloride to neutralize the activity of streptomycin against the test organism at 30?C and 37?C were 4.0 and 6.0 mg./ml. respectively. The experiments suggested that in case of incubation at 30?C was used in lower concentration ofsemicarbazide hydrochloride and less time than at 37?C. The suitable concentration to neutralize the activity of streptomycin wa 2.0 mg./ml. at 30?C in 30 min. For the semicarbazide hydrochloride effects on the other aminoglycoside antibiotics, the concentrations of 0.5 to 2.0 mg./ml. either 30?C or 37?C was no effect to dihydrostreptomycin against B. subtilus but 1.0 to 1.5 mg./ml. or more was antagonist the activity of kanamycin against S.aureus In penicillin group, the semicarbazide hydrochloride in concentrations of 0.5 to 10.0 mg./ml. at 30?C were no effect to neutralize the activity of penicillin G against S. sureus. Rifampin, the rifamycin group, was the same as the aminoglycoside antibiotics that 0.5 to 2.0 mg./ml. at 30?C and 0.5 to 1.5 mg./ml. at 37?C were no effect to rifampin against S. lutea. The most of incubation time to neutralize activity should be less than 120 min. The microbiological assay of the combination with streptomycin must be consideration of the concentration of semicarbazidehydrochloride, temperature and time for preventing the influence of antibiotic to be assayed. In this study the assay of penicillin in the combination of penicillin and streptomycin by the use of selective inactivation was compared to the specific strain of test organism. The potency of penicillin G (% labeled amount) in the assay with semicarbazide hydrochloride was 112.56+- 6.86 % closed to 112.02 +- 4.99% in the assay with S. lutea. The rifampin concentration in cerebrospinal fluid (CSF) and serum of five tuberculous meningitis patients treated with rifamin, streptomycin and other drugs were assays by using semicarbazide hydrochloride. The levels of rifampin in CSF were 0.10-0.57 mcg./ml./ which ensure therapeutic concentration to MIC against Mycobacterium tuberculosis (0.1 mcg./ml). The average concentration of rifampin in CSF in a week was 4.52% of the corresponding serum levels. From this study, the determination of the potency and concentration of drug in combined with streptomycin by the use of semicarbazide hydrochloride are valuable to the quality control, the treatment and other researches.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2141
Type: Technical Report
Appears in Collections:Pharm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
AreeratStu.pdf6.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.