Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2156
Title: | การศึกษาโปรตีนและสารต้านคุณค่าทางโภชนาการในกระถิน เมล็ดฟักทอง และเมล็ดมะขาม : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | โปรตีนและสารต้านคุณค่าทางโภชนาการในกระถิน เมล็ดฟักทอง และเมล็ดมะขาม Investigation on proteins and antinutritional factors of Laeucaena leucocephala, Cucurbita maxima seeds and Tamarindus indica seeds Proteins and antinutritional factors of Laeucaena leucocephala, Cucurbita maxima seeds and Tamarindus indica seeds |
Authors: | อรอนงค์ กังสดาลอำไพ สุธี สุนทรธรรม ธิติรัตน์ ปานม่วง แก้ว กังสดาลอำไพ |
Email: | [email protected] [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาอาหารเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาอาหารเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเคมีเทคนิค ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | โปรตีนจากพืช สารอาหาร กระถิน ฟักทอง มะขาม |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โรคขาดโปรตีนและแคลอรี่เป็นปัญหาทางด้านโภชนาการที่สำคัญของประเทศไทย การศึกษานี้จึงนำใบกระถิน เมล็ดกระถิน และเมล็ดฟักทอง มาแยกโปรตีนโดยการตกตะกอนด้วยความร้อน การปรับ pH และเติมแคลเซียมซัลเฟต แล้วหาปริมาณกรดอะมิโนและสารต้านโภชนาการคือ มิโมซีน ไฟเตต ทริพซินอินฮิบิทเตอร์ และฮีแมกกลูตินินในโปรตีนไอโซเลตที่ได้เปรียบเทียบกันในวัตถุดิบ พบว่าโปรตีนไอโซเลตที่ได้จากการตกตะกอนโปรตีนด้วยความร้อน และการปรับ pH จะมีปริมาณโปรตีน (ไนโตรเจน x 6.25) สูงกว่าในโปรตีนไอโซเลตที่ได้จากการตกตะกอนด้วยแคลเซียมซัลเฟต แต่ปริมาณกรดอะมิโนในโปรตีนไอโซเลตที่ได้จากการตกกตะกอนโปรตีนด้วยความร้อนจะมีปริมาณสูงสุด Amino acid score ของโปรตีนไอโซเลตมีค่าสูงกว่าในวัตถุดิบ ส่วนสารต้านโภชนาการพบว่าในโปรตีนไอโซเลตจะมีน้อยกว่าในวัตถุดิบโดยในเมล็ดฟักทองและโปรตีนไอโซเลตจากเมล็กฟักทองพบเฉพาะไฟเตต ในใบกระถินและโปรตีนไอโซเลตจากใบกระถินพบมิโมซีน และทริพซินฮิบิทเตอร์ ส่วนในเมล็ดกระถินและโปรตีนไอโซเลตจากเมล็ดกระถินพบทั้งไฟเตต มิโมซีน และทริพอินฮิบิทเตอร์ สำหรับฮีแมกลูตินินพบเฉพาะในเมล็ดกระถิน แสดงว่าการแยกโปรตีนออกมานี้จะทำให้ส่วนประกอบของกรดอะมิโนดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับโปรตีนมาตรฐาน ขณะเดียวกันสารต้านโภชนาการก็ลดลงด้วย สำหรับเมล็ดมะขามไม่สามารถแยกโปรตีนออกมาได้ เนื่องจากเมล็ดมะขามมีโปรตีนต่ำและมีสารพวก Polysaccharide บางชนิดมากเป็นพิเศษ จึงจำเป็นต้องหาวิธีเฉพาะเพื่อแยกออกมาศึกษาต่อไป |
Other Abstract: | Protein-Calorie malnutrition is one of the important nutritional problems in Thailand. Attempts to isolated protein of Laeucaena leucocephala leaf and seed as well as of Cucurbita maxima seed were performed by heating, adjusting pH and adding calcium sulfate. Amino acid content and antinutritional factors including, phytate, trypsin inhibitor and hemagglutinin were investigated on both protein isolates and raw materials. Protein content (N x 6.25) of protein isolated by heating and adjusting pH was higher than those of protein isolated by calcium sulfate precipitation. Protein isolated by heating contained the highest content of amino acids. Amino acid scores of the protein isolate were higher than those of raw materials. Antinutritional factors in protein isolate were lower than those in raw material. Cucurbita maxima seed and its protein isolate contained mimosine and trypsin inhibitor, while Lacucaena leucocephala seed and its protein isolate contained phytate, mimosine and trypsin inhibitor. Hemagglutinin was found in Laeucaena leucocephala seed. This study showed that the process of isolation of protein improved the amino acid content with respected to reference protein and decrease antinutritional factors. However, the method used in this study was not application to isolate the protein of Tamarindus indica seed because its polysaccharide content was very high. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2156 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pharm - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
OranongInv.pdf | 6.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.