Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2181
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเอมอร จังศิริพรปกรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิจัยการศึกษา-
dc.date.accessioned2006-08-24T12:02:08Z-
dc.date.available2006-08-24T12:02:08Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2181-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของแบบสอลในด้านความตรงตามสภาพอำนาจจำแนก ความยาก ฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสบอ ฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบ และอัตราส่วนสารสนเทศเฉลี่ยโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบเมื่อตรวจสอบให้คะแนนแบบประเพณีนิยมกับวิธีให้คะแนนความรู้บางส่วน ซึ่งประกอบด้วยวิธีประยุกต์การให้คะแนนของคูมบ์ และวิธีประยุกต์การให้คะแนนของเดรสเซลและสมิท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได่แก่ นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาการประเมินผลการเรียนการสอน ในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2544 จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบที่ใช้เป็นแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการประเมินผลการเรียนการสอน ที่มีวิธีการตรวจให้คะแนน 3 วิธีดังกล่าวจากแบบสอบชุดเดียวกัน เก็บข้อมูลโดยให้ทำข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการประเมินผลการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น 3 ครั้ง ด้วยแบบสอบชุดเดียวกัน แต่วิธีการตอบแตกต่างกัน โดยการเก็บข้อมูลแต่ละครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม BILOG สำหรับการให้คะแนนแบบประเพณีนิยม และใช้โปรแกรม PARSCALE สำหรับการให้คะแนนด้วยวิธีประยุกต์การให้คะแนนของคูมบ์และวิธีประยุกต์การให้คะแนนของเดรสเชลและสมิท ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การเปรียบเทียบความตรงตามสภาพ ระหว่างวิธีการตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกัน พบว่าทั้ง 3 วิธี มีค่าความตรงตามสภาพไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. การเปรียบเทียบอำนาจจำแนกและความยากระหว่างวิธีการตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกัน พบว่าวิธีประยุกต์การให้คะแนนของคูมบ์มีค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยสูงสุดและมีค่าความยากเฉลี่ยต่ำที่สุด 3. การเปรียบเทียบฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบ ฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบ และอัตราส่วนสารสนเทศระหว่างวิธีการตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกัน พบว่าวิธีประยุกต์การให้คะแนนของคูมบ์ มีค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบ ฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบ และอัตราส่วนสารสนเทศเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือวิธีประยุกต์การให้คะแนนของเดรสเชลและสมิท ส่วนวิธีประเพณีนิยมมีค่าต่ำที่สุดen
dc.description.sponsorshipกองทุนรัชดาภิเษกสมโภชen
dc.format.extent27906893 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภชen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบen
dc.subjectข้อสอบen
dc.titleการเปรียบเทียบคุณภาพของแบบสอบเลือกตอบ เมื่อตรวจด้วยวิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วนกับวิธีประเพณีนิยมen
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.author[email protected]-
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
emon(knowle).pdf15.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.