Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22047
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุ่งนภา พิตรปรีชา-
dc.contributor.authorฐปนีย์ วิชญธน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-09-09T11:19:58Z-
dc.date.available2012-09-09T11:19:58Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22047-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงานในประเทศไทยและเพื่อค้นหาปัจจัยสะท้อนตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมและจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงานในประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่มีการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 3 องค์กรในธุรกิจพลังงาน ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้า EGCO จำกัด โดยใช้ระเบียบวิจัย 2 แบบ คือ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อค้นหาตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงาน และหาปัจจัยต่างๆซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีอิทธิพลต่อการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงาน โดยจะดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) สัมภาษณ์นักวิชาชีพและนักวิชาการและบุคลากรในองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงานในประเทศไทยมี 6 ปัจจัยหลักและมีตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคม 49 ตัวชี้วัด และผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่าประชาชนทั่วไป และบุคลากรในธุรกิจพลังงาน ได้จัดลำดับความสำคัญปัจจัยหลักดังนี้ 1.ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ต่อกลุ่มเป้าหมายและสังคม 2. ปัจจัยด้านความพึงพอใจ ของผู้อยู่อาศัยในชุมชนบริเวณรอบบริษัท 3. ปัจจัยด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ 5. ปัจจัยด้านการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ 6.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงานในประเทศไทย พบว่ามี 7องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ตัวชี้วัดในด้านความเชื่อใจและการสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์ประกอบที่ 2 ตัวชี้วัดในด้านความพึงพอใจของสื่อมวลชนและผู้นำทางความคิด องค์ประกอบที่ 3 ตัวชี้วัดในด้านการจัดการด้านงบประมาณและรายได้ องค์ประกอบที่ 4 ตัวชี้วัดในด้านเศรษฐกิจ องค์ประกอบที่ 5 ตัวชี้วัดในด้านชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร องค์ประกอบที่ 6 ตัวชี้วัดในด้านความสัมพันธ์กับชุมชน องค์ประกอบที่ 7 ตัวชี้วัดในด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียen
dc.description.abstractalternativeThe research objective is to study corporate social responsibility indicators for energy business in Thailand and to find factors reflect the indicators of social responsibility and the prioritization of the indicators of social responsibility in the energy business. The Organizations that have made social responsibility and the Stock Exchange of Thailand, including 3 organizations in energy business: PTT Public Company Limited, Bangchak Petroleum Public Company Limited and EGCO Company. The methodology divided into 2 parts. 1) Qualitative research methods to find a metric for evaluating the performance of energy Social Responsibility and examine factors that influence is a measure of the social responsibility of energy business. The research was conducted to study the documents and information from the interview (In-depth interview) was professional and academic experts, and NGOs and 2) Quantitative research methods, the research survey data from the studied among 400 samples. The results showed that Indicators of corporate social responsibility of energy business in the six key factors of indicators and 49 indicators of corporate social responsibility and the results of quantitative research found that the general public and staff in the energy business have prioritized the following key factors: 1.Factors related to the target audience and social 2. The satisfaction of residents in communities surrounding the company 3. The satisfaction of stakeholders 4. The economy 5. Factor in the development of society and the nation 6. Environmental factors. The results of the indicators for evaluating the performance of energy Social Responsibility in the seven components as follows: 1. Indicator of the trust and support from the agency. 2. Indicator of satisfaction of the press and opinion leaders. 3. Indicator of the metric in terms of budget and revenue management. 4. The economic indicators. 5. The metric in terms of reputation and good image of the organization. 6. Indicators in relation to the community. 7. Indicators in the satisfaction of stakeholders.en
dc.format.extent2249244 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.667-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอุตสาหกรรมพลังงาน -- ไทยen
dc.subjectความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ -- ไทยen
dc.titleการสร้างตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงานในประเทศไทยen
dc.title.alternativeCreation of corporate social responsibility indicators for energy business in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.667-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thapanee_vi.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.