Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22288
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
dc.contributor.authorศุภลักษณ์ คูหาทอง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-10-02T03:20:44Z
dc.date.available2012-10-02T03:20:44Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.isbn9745610577
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22288
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผ้าสอน และศึกษานิเทศก์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตการศึกษา 9 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และศึกษานิเทศก์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 9 3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการปฏิบัติงานนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตการศึกษา 9 สมมุติฐานของการวิจัย ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และศึกษานิเทศก์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตการศึกษา 9 ไม่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 9 จำนวน 24 คน ผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการ จำนวน 112 คน และครูผู้สอน จำนวน 432 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 9 โดยสุ่มแบบแบ่งเป็นพวก (Stratified Random Sampling) รวมตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 568 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจ (Check list) มาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) และแบบปลายเปิด (Open ended) แบบสอบถามที่ส่งไปจำนวน 568 ฉบับ ได้รับคืนที่สมบูรณ์ จำนวน 489 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 86.09 จากศึกษานิเทศก์ 23 ฉบับ ผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหาร ฝ่ายวิชาการ 97 ฉบับ และจากครูผู้สอน 369 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และ S-Method ของเซฟเฟ่ (Scheffe) สรุปผลการวิจัย 1. ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอนและศึกษานิเทศก์ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ ในด้านนิเทศการสอนในโรงเรียนด้านพัฒนาหลักสูร ด้านบริหารงานทางวิชาการ ด้านศึกษา ทดลอง วิจัยและเขียนบทความทางวิชาการและด้านบริการทางการศึกษา พบว่า การปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์อยู่ในระดับน้อยทุกด้าน 2. ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และศึกษานิเทศก์ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ ในด้านต่างๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงขัดแย้งกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 3. ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ ที่เป็นปัญหามากคือ ระยะเวลาที่ศึกษานิเทศก์พบกับครูเพื่อให้การนิเทศน้อยเกินไป จำนวนของศึกษานิเทศก์ต่อจำนวนครูและโรงเรียนไม่ได้สัดส่วนกัน เอกสารหลักสูตรและเครื่องมือเครื่องใช้ในการนิเทศมีไม่เพียงพอ ครูผู้สอนไม่ได้ศึกษาเอกสารที่ศึกษาเอกสารที่ศึกษานิเทศก์ผลิตขึ้นขาดแคลนงบประมาณในการผลิตสื่อการเรียนการสอน ขาดการวางแผนงานนิเทศการศึกษาร่วมกัน และขาดการติดตามผลการปฏิบัติงานนิเทศการศึกษา
dc.description.abstractalternativePurpose: The purposes of this research are as follows : 1. To study the opinions of administrators, teachers and supervisors in the Department of General Education in Education Region Nine. 2. To compare the opinions of administrators, teachers and supervisors concerning educational supervision performances of supervisors in the Department of General Education in Education Region Nine. 3. To study the problems concerning educational supervision performances of supervisors in the Department of General Education in Education Region Nine. Hypothesis: The opinions of administrators, teachers and supervisors concerning educational supervision performances of supervisors in the Department of General Education in Education Region Nine do not differ significantly. Methodology : The sample of this research was drawn from the population which consists of 24 supervisors in the Department of General Education in Education Region Nine, 112 administrators and assistant administrators in academic affaires, and 432 teachers from the secondary schools under the same Education Region Nine, by using the stratified random sampling technique. The total number of people in the sample used was 568. The instruments used in this research included a check-list, a rating scale, and an open-ended questionnaire. A total of 568 questionnaires were mailed out; 518, or 86.09 percent, were completed and returned. Of these, 23 questionnaires were form supervisors, 97 questionnaires from administrators and assistants administrators in academic affaires and 369 questionnaires from teachers. The data were analysed by using percentages, arithmetic means, standard deviation, and tests of significance at the .05 level by one-way analysis of variance and by Scheffe’s S-Method. Findings : 1. In the opinion of administrators, teachers and supervisors, the functions of supervisors including educational supervision in school curriculum development, academic administrators, carrying on educational research and academic articles writing and educational services were all found to be performed at the low level. 2. The opinions of administrators, teachers and supervisors concerning educational supervision performances of supervisors for all functions were significantly different at the .05 level. Therefore, the hypothesis is rejected. 3. The important problems and obstacles concerning educational supervision performance of supervisors included; (1) the time of visiting for educational supervision was not sufficient; (2) an imbalance between number of supervisors and numbers of teacher in the secondary school; (3) curriculum documents and educational supervision instruments are limited; and (4) the teachers failed to study supervisors’ documents. In addition, there is a lack of budget for producing instructional media, and a lack of co-operative planning for educational supervision and follow-up of the results, with regard to the educational supervision performances of supervisors.
dc.format.extent625025 bytes
dc.format.extent826153 bytes
dc.format.extent2259277 bytes
dc.format.extent583372 bytes
dc.format.extent2055554 bytes
dc.format.extent1178897 bytes
dc.format.extent1459874 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการนิเทศการศึกษา
dc.subjectศึกษานิเทศก์
dc.titleการปฏิบัติงานนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ สังกัดกรมสามัญศึกษาในทัศนะของผู้บริหาร ครูผู้สอน และศึกษานิเทศก์ ในเขตการศึกษา 9en
dc.title.alternativeThe educational supervisor performance of supervisors in the department of general education as perceived by administrators, teachers and supervisors in education region nineen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supalaksane_Ko_front.pdf610.38 kBAdobe PDFView/Open
Supalaksane_Ko_ch1.pdf806.79 kBAdobe PDFView/Open
Supalaksane_Ko_ch2.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Supalaksane_Ko_ch3.pdf569.7 kBAdobe PDFView/Open
Supalaksane_Ko_ch4.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Supalaksane_Ko_ch5.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Supalaksane_Ko_back.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.