Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2299
Title: แนวทางการปรับปรุงคุณภาพของแสงภายในห้องเรียน เพื่อความสบายตาและเป็นแนวทางการออกแบบห้องเรียนในชนบท
Other Titles: An approach to improve visual comfort in classroom for rural areas
Authors: ทิพวัลย์ ตั้งพูนทรัพย์ศิริ, 2508-
Advisors: พิรัส พัชรเศวต
สุนทร บุญญาธิการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
Subjects: ห้องเรียน -- แสงสว่าง
แสง
การเห็น
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยร่วมของโรงเรียนต้นแบบ ไม่ปรับอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย การออกแบบห้องเรียนทั่วไปมีการจัดวางหน้าต่างตามแนวยาวของห้อง ทำให้มีปัญหาแสงแดดตรงบริเวณใกล้หน้าต่าง และทิศทางการมองผ่านหน้าต่างของครูและนักเรียน สถาปนิกจึงนิยมออกแบบยื่นชายคายาว เพื่อป้องกันแสงแดดตรงส่งผ่านหน้าต่างและช่วยลดแสงจ้าจากท้องฟ้า แต่วิธีนี้ทำให้ระดับความส่องสว่างภายในห้องเรียนลดลง และมีการแผ่รังสีความร้อนจากกันสาดเข้ามาห้อง วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อขจัดปัญหาแสงจ้า จากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มาจากแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติ และดวงโคมแสงไฟฟ้าภายในอาคาร เพื่อให้การมองเห็นภายในห้องเรียนมีความสบายตา ขั้นตอนการวิจัยเริ่มจากการเปรียบเทียบรูปแบบช่องเปิดต่างๆ เพื่อลดปัญหาแสงจ้าโดยอาศัยหุ่นจำลองห้องเรียนที่มีรูปแบบหน้าต่าง 5 แบบแบ่งออกเป็น 12 กรณีศึกษา ทำการทดลองกับ (1) สภาพท้องฟ้าจริง และเก็บข้อมูลตั้งแต่เวลา 8.00-16.00 น. ทุกๆ 2 ชั่วโมง (2) ทดลองวิธีติดตั้งกระดานไวท์บอร์ดในห้องเรียน ไม่ให้มีแสงจ้าสะท้อนเข้าตานักเรียน โดยติดตั้งกระดานเอียงเป็นมุมต่างภายในหุ่นจำลอง (3) ทดสอบตำแหน่งการติดตั้งดวงโคมไฟฟ้า ที่ทำให้เกิดปัญหาแสงจ้าสะท้อนเข้าตานักเรียน ขณะเขียนหรืออ่านหนังสือที่โต๊ะเรียน โดยใช้หลักการมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ผลการวิจัยพบว่า หน้าต่างของกรณีศึกษาที่ 8 ให้ความสบายตาในการมองเห็นมากที่สุด เนื่องจากมีการเอียงกระจกหน้าต่างทำมุมกับระนาบตั้ง 15 องศา ทำให้มีมุมมองเห็นท้องฟ้าลดลง จึงมีความสว่างที่หน้าต่างอยู่ในระดับที่ตายอมรับได้ ส่งผลให้มีอัตราส่วนความเปรียบต่างความสว่างที่หน้าต่าง กับผนังรอบหน้าต่างน้อยกว่ากรณีอื่นๆ เพราะมีการเอียงฝ้าเพดานบริเวณใกล้หน้าต่างให้จรดวงกบหน้าต่าง ทำให้มีการไล่ลำดับความเปรียบต่างความสว่างที่หน้าต่าง และการวิจัยการติดตั้งกระดานไวท์บอร์ดที่ปรับเอียงมุม 5 องศา ให้สอบเข้าด้านบน เพื่อหลบแสงจ้าสะท้อนที่อยู่ในมุมวิกฤติ (25 องศา) ที่กระดานไม่ให้เข้าตานักเรียนได้ เช่นเดียวกับ การปรับหน้าโต๊ะเรียนเอียง 5 องศา และการติดตั้งดวงโคมไฟฟ้าที่กระดาน ต้องใช้เกล็ดบังแสงไม่ให้มีแสงตกกระทบที่กระดานโดยตรง เช่นเดียวกับการติดตั้งดวงโคมให้แสงภายในห้องเรียน ต้องไม่อยู่ในระยะที่ทำให้เกิดแสงสะท้อนที่โต๊ะเรียนเข้าตานักเรียน และการนำห้องเรียนแบบใหม่ที่มีหน้าต่างแบบกรณีศึกษาที่ 8 ไปประยุกต์ใช้กับช่องแสงด้านบนแล้วทําให้ความสว่างภายในห้องเรียนเพิ่มขึ้นช่วยลดความเปรียบต่างความสว่างจ้าระหว่างภายในห้องเรียนกับภายนอกได้ ดังนั้นการมองออกไปภายนอกห้องผ่านหน้าต่างนี้จึงมีความสบายตามากขึ้นสรุปว่าการวิจัยนี้มีประโยชน์อย่างมาก เพื่อให้ผู้ออกแบบนําแนวคิดการวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาในการออกแบบห้องเรียน เพื่อให้ ได้สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนไม่มี แสงจ้าทั้งที่เกิดจากแสงธรรมชาติ และแสงไฟฟ้า ซึ่งแนวคิดนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากหากเข้าใจถึงต้นเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขอย่างถูกต้อง
Other Abstract: This thesis is a part of a group research of non-air conditioned elementary school design in northeastern Thailand as a main theme. In designing a classroom, a problem that arises is direct sunlight interfering with teaching in areas near windows. The problem is the result of positioning windows alongside the long side of the room. To solve this problem, architects have designed a sunshade to prevent direct sunlight entering through windows. However, this solution also results in a decrease in illumination within the classroom. This study is therefore aimed at seeking an approach to improve visual comfort and, at the same time, provide sufficient illumination in classrooms. The research started by studying classrooms problem caused by either direct sun or artificial light sources. Then a solution was found by changing the position of the windows from the long side of the room to the narrow side. Five different types of windows were designed and installed for 12 case studies to find the most suitable windowtype to alleviate the glare, yet not decrease illumination in the classroom. The study employed model classrooms with different window types to test the contrast brightness ratio at the window and wall surrounding the window. A whiteboard in the classroom was also tested to find ways to solve the problem of reflected glare on the board from natural light. The tests were conducted during teaching hours from 8.00 a.m.-4.00 p.m. A study was also conducted on the positioning of lamps to control reflected glare. From the 12 case studies, it was found tht the window type in case study number 8 was most suitable as it can reduce the ratio of contrast brightness at the window and the surrounding wall. When used in conjunction with clerestory, the illumination level in the room is sufficient almost throughout the day without the need to use artificial lights, especially when the windows are positioned on the north side of the room. In addition, the installation of the whiteboard should be tilted at the top so as to reduce the reflected glare. This study concludes that the positioning of windows on the narrow side of the classroom will prevent glare which may distract student attention from the lesson to the outside. The tilting of the window in case study number 8 helps reduce the differences between the outside and inside glare, so looking out through the window is more comfortable to the eyes. When clerestory is employed, the illumination level in the room increases the whiteboard must be tilted 5 degrees at the top help reduce the reflected glare. However, the application of clerestory must be used with a sunblind to obstruct sun light from above so it will not fall on the whiteboard causing a reflected glare. Also, the installation of artificial lamps must not be where light reflecting on the desks can reflect to the eyes at a critical angle of 25 degrees.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีอาคาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2299
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.331
ISBN: 9741706863
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.331
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tippawan.pdf11.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.