Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23043
Title: | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมตามแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่เพื่อส่งเสริมสัมผัสด้านสถานที่และการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | The development of an environmental science instructional model based on place-based education approach to promote sense of place and environmental literacy of lower secondary school students |
Authors: | พิรุณ ศิริศักดิ์ |
Advisors: | อลิศรา ชูชาติ วัชราภรณ์ แก้วดี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) นิเวศวิทยา นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมตามแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่และ เพื่อประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นในด้านการส่งเสริมสัมผัสด้านสถานที่และการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยคัดเลือกพื้นที่วิจัยที่มีลักษณะตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ได้เป็นโรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จากนั้นจึงศึกษาบริบทของพื้นที่วิจัย เพื่อนำข้อมูลพื้นฐานมาใช้ในการสร้างรูปแบบการเรียนการสอน ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทดลองใช้เบื้องต้นและปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปทดลองเพื่อประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการทดลองจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2554 ของโรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส จำนวน 23 คน เป็นเวลา 13 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบวัดสัมผัสด้านสถานที่และแบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อมที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบวัดคู่ขนาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสัมผัส ด้านสถานที่และการรู้สิ่งแวดล้อมก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติทดสอบค่าที และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากผลงานและบันทึก การเรียนรู้ของนักเรียน วิเคราะห์เนื้อหาเพื่อประเมินและอภิปรายการพัฒนาสัมผัสด้านสถานที่และการรู้สิ่งแวดล้อมตามขั้นตอนของรูปแบบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีแนวคิดพื้นฐานที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และมีองค์ประกอบจำนวน 5 ด้านคือ 1) หลักการของรูปแบบ มี 4 ประการคือ การนำบริบทของท้องถิ่นมาใช้เป็นแหล่งประสบการณ์เรียนรู้ การสืบสอบประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น การลงมือพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) วัตถุประสงค์มี 2 ด้านคือ การส่งเสริมสัมผัสด้านสถานที่ในด้านความหมายของสถานที่และความผูกพันกับสถานที่ และการส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมในด้านความรู้ ทักษะ เจตคติและพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม 3) เนื้อหาของรูปแบบเป็นสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่บูรณาการกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น 4) ขั้นตอนการเรียนการสอนมีจำนวน 6 ขั้นคือ ขั้นเตรียมทักษะพื้นฐานให้กับนักเรียน ขั้นสำรวจประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ขั้นวิเคราะห์บริบทของประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ขั้นวางแผนการพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ขั้นลงมือพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นและขั้นนำเสนอผลงาน สู่สาธารณะ และ 5) การประเมินผลการเรียนรู้ ทำได้โดยโดยการตรวจสอบผลงานและบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียนระหว่างการเรียนการสอนและการทดสอบหลังการเรียนการสอนตามรูปแบบ 2.ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีดังนี้ 2.1ด้านการส่งเสริมสัมผัสด้านสถานที่: กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความหมายของสถานที่และค่าเฉลี่ยระดับความผูกพัน กับสถานที่ในภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบย่อยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกองค์ประกอบ โดยมีพัฒนาการความหมายของสถานที่และความผูกพันกับสถานที่สูงที่สุดในขั้นนำเสนอผลงานสู่สาธารณะ 2.2ด้านการส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม: กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม คะแนนเฉลี่ยทักษะด้านสิ่งแวดล้อม ค่าเฉลี่ยระดับเจตคติด้านสิ่งแวดล้อมและค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในภาพรวมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกองค์ประกอบ โดยมีพัฒนาการความรู้และทักษะด้านสิ่งแวดล้อมสูงที่สุดในขั้นลงมือพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และมีพัฒนาการเจตคติและพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมสูงที่สุดในขั้นนำเสนอผลงานสู่สาธารณะ |
Other Abstract: | The purposes of this study were to develop an environmental science instructional model based on place-based education approach and evaluate the quality of the developed instructional model on promoting sense of place and environmental literacy of lower secondary school students. The research procedure was divided into 2 phases; phase one developing the instructional model in Watporramaiyikawat School, Kohkred, Pakred District, Nonthaburi Province, which was the research site, then studied the research site context for using as background data and content for developing the instructional model, verifying the developed instructional model by experts and then tryout and refine the instructional model; and phase two implementing the developed instructional model with 23 ninth-grade students of Watporramaiyikawat School for 13 weeks. The quantitative research instruments were sense of place and environmental literacy tests, which were developed as parallel tests. The quantitative data were analyzed by using Paired Samples T-test for quality evaluation of the developed instructional model. Moreover, the students’ projects and learning logs were analyzed by using content analysis for evaluating the development of sense of place and environmental literacy along the 6 steps of instructional processes. The findings of this study were as follows: 1. The environmental science instructional model was developed based on the connection between the place-based education approach, environmental education for sustainable development, and environmental science instruction approach as basic idea. The developed instructional model was consisted of 5 components; (1) Principle of the instructional model which comprised of 4 principles that emphasized on use of local place context as student’s learning experience resources, investigation of the local environmental problems, directed learning experiences on local environmental stewardship, and community cooperation; (2) Objective: the two main objectives were to promote sense of place, and environmental literacy; (3) Content: the integration of local environmental problems with the environmental science strands; (4) Steps of instructional processes: there were 6 steps; preparing students’ basic skills, surveying local environmental problems, analyzing the context of local environmental problems, planning for local environmental stewardship, action on local environmental stewardship, and public presentation; (5) Evaluation: formative and summative evaluation using both quantitative and qualitative measures throughout the instructional process. 2. The effectiveness of the instructional model, it was found that; 2.1 Promoting sense of place: the subjects had the average score of place meaning and place attachment higher than before the experiment at .01 level of significance in all components and showed the highest development of place meaning and place attachment in the step of public presentation. 2.2 Promoting environmental literacy: the subjects had the average score of environmental knowledge, environmental skills, environmental attitudes, and environmental behaviors higher than before the experiment at .01 level of significance in all components and showed the highest development of environmental knowledge and skills in the step of action on local environmental stewardship, the highest development of environmental attitudes and behaviors in the step of public presentation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23043 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.979 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.979 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
piroon_si.pdf | 15.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.