Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2313
Title: การจัดทำเครื่องชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ในโครงการหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลาง : กรณีศึกษาโครงการหมู่บ้านจัดสรรระดับราคาปานกลางในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The setting of indicators for the physical environment quality in medium-sized housing project : a case study of middle-priced residential projects in Bangkok metropolis area
Authors: พงษ์ศักดิ์ กังวานพณิชย์, 2523-
Advisors: บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย
กุณฑลทิพย์ พานิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
Subjects: ที่อยู่อาศัย--มาตรฐาน
คุณภาพสิ่งแวดล้อม
บ้านจัดสรร--แง่สิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จัดทำเครื่องชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในโครงการหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลาง โดยเลือกโครงการหมู่บ้านจัดสรรระดับราคาปานกลางในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา และใช้วิธีวิจัยโดยการทบทวนวรรณกรรม ได้แก่ ข้อกฎหมาย มาตรฐานที่อยู่อาศัย และงานวิจัยเรื่องเครื่องชี้วัดสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดสร้าง เครื่องชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในโครงการ โดยพิจารณาเฉพาะภายนอกตัวอาคารพักอาศัย แล้วจึงนำเครื่องชี้วัดไปขอความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐ จำนวน 5 ท่าน กลุ่มผู้พัฒนาโครงการ จำนวน 4 ท่าน กลุ่มนักวิชาการ จำนวน 5 ท่าน และกลุ่มนักบริหารชุมชน จำนวน 4 ท่าน รวมทั้งหมด 18 ท่าน โดยแบ่งการขอความคิดเห็นออกเป็น 2 รอบ และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถามประกอบ ผลการวิจัยพบว่า เครื่องชี้วัดดังกล่าวแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 องค์ประกอบด้านการออกแบบ และจัดวางสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในโครงการฯ ประกอบด้วยหมวดเครื่องชี้วัด 4 หมวด มีเครื่องชี้วัดจำนวน 39 ตัว กลุ่มที่ 2 องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในโครงการฯ ประกอบด้วยหมวดเครื่องชี้วัด 9 หมวด มีเครื่องชี้วัดจำนวน 130 ตัว กลุ่มที่ 3 องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการและดูแลชุมชนในโครงการฯ (เป็นเครื่องชี้วัดเสริม) ประกอบด้วยหมวดเครื่องชี้วัด 5 หมวด มีเครื่องชี้วัดจำนวน 39 ตัว และกลุ่มที่ 4 ข้อสังเกตอื่นๆ มีเครื่องชี้วัดจำนวน 4 ตัว ดังนั้นเราสามารถนำเครื่องชี้วัดดังกล่าว มาใช้พิจารณาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 4 ประการ คือ 1) ความเหมาะสมของการออกแบบ และจัดวางสิ่งแวดล้อมทางกายภาพโดยรวมในโครงการ 2) ความพอเพียงและความเหมาะสม ขององค์ประกอบสิ่งแวดล้อมทางกายภาพแต่ละอย่างในโครงการ 3) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและดูแลชุมชนในโครงการ 4) การรับรู้ถึงความเหมาะสมขององค์ประกอบสิ่งแวดล้อมทางกายภาพโดยรวมในโครงการ อย่างไรก็ตาม จากกระบวนการวิจัยที่ดำเนินการ เครื่องชี้วัดที่ได้จากการวิจัยนี้ควรมีการนำไปพัฒนาต่อเนื่อง จึงจะทำให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และถูกต้องมากยิ่งขึ้น โดยข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาเครื่องชี้วัดต่อไปมี 5 ประการ คือ 1) การขอความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัยในโครงการ 2) การทดสอบเครื่องชี้วัด 3) การพิจารณาถึงวิธีการวัดโดยใช้เครื่องชี้วัด 4) การใช้กระบวนการอื่นๆ ในการขอความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ 5) การนำเครื่องชี้วัดไปพิจารณาขยายผลกับโครงการหมู่บ้านจัดสรรกลุ่มอื่นๆ
Other Abstract: To set indicators of physical environment quality in medium-sized housing projects. The research is a case study of middle-priced residential projects in the Bangkok metropolis area. The research methodology used is literature review of the laws, housing standards and related research on indicators for physical environment quality. The data is used to set indicators for physical environment quality in the project, considering only the environment outside of the buildings. The indicators were then evaluated by four groups of 18 specialists comprising five government officials, four housing project developers, five academics and four community administrators. The poll was conducted twice, using structured interviews and questionnaires. The findings show that the indicators can be categorized into four groups. The first group is the design and placement of the physical environment of the project which consists of four categories of 39 indicators. The second group is the physical environment element of the project, consisting of 9 categories of 130 indicators. The third group is the management and supervision of the communities in the project (additional indicators) consisting of 5 categories of 39 indicators. Finally, the fourth group comprises other observations. Which consist of 4 indicators. Thus, the indicators can be used in considering the four physical environment qualities namely 1) the overall suitability of the design and placement of the physical environment in the project, 2) the sufficiency and suitability of each of the physical environment elements in the project, 3) The efficiency of the management and supervision of the communities in the project, 4) The perception of the suitability of the overall physical environment in the project. In order to yield more complete and accurate data, the indicators used in this research should be developed further and continuously. Suggestions for the development of the indicators are as follow 1) Seek opinion from the residents of the housing project, 2) Test the indicators, 3). Consider the methods of measurement by using the indicators, 4) Use other methods for seeking opinions from specialists, and 5) Use the indicators on other housing projects.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2313
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.332
ISBN: 9741720947
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.332
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongsak.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.