Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23384
Title: การประเมินรอยเท้าคาร์บอนของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลในประเทศไทย กรณีศึกษา : โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง โรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ และโรงไฟฟ้าดีเซลแม่ฮ่องสอน
Other Titles: Carbon footprint evaluation of fossil fuel power plant in Thailand case studies : Bangpakong Combined Cycle, Krabi Thermal and Maehongsorn Diesel Power Plant
Authors: ยุทธศักดิ์ ศิริสินธว์
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
อัจฉริยา สุริยะวงค์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: โรงไฟฟ้า -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทย
ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ
คาร์บอน
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยใช้หลักการประเมินรอยเท้าคาร์บอน พิจารณาตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบ การขนส่งวัตถุดิบ และกระบวนการผลิตไฟฟ้า เพื่อประเมินรอยเท้าคาร์บอนและการลดลงของรอยเท้าคาร์บอนที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าในประเทศไทยรวม 4 กรณีได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกงชุดที่ 1-2 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกงชุดที่ 3-4 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ และโรงไฟฟ้าดีเซลแม่ฮ่องสอน ตลอดจนเสนอแนะแนวทางเบื้องต้นในการลดรอยเท้าคาร์บอน ในการประเมินรอยเท้าคาร์บอนนี้จะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SimaPro 7.2.4 โดยมีการประเมินแบบ Business-to-business (B2B) ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าในทุกกรณีศึกษาจะก่อให้เกิดรอยเท้าคาร์บอนมากที่สุดในช่วงเวลา 20 ปี รองลงมาคือในช่วงเวลา 100 ปี และน้อยที่สุดคือเมื่อในช่วงเวลา 500 ปี โดยโรงไฟฟ้าดีเซลแม่ฮ่องสอนซึ่งใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงหลักก่อให้เกิดรอยเท้าคาร์บอนมากที่สุดคือ 1.06 0.977 และ 0.947 kg CO₂ eq/kWh ตามลำดับ รองลงมาคือโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ซึ่งใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงหลักก่อให้เกิดรอยเท้าคาร์บอน 0.966 0.918 และ 0.898 kg CO₂ eq/kWh ตามลำดับ ส่วนโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกงชุดที่ 1-4 ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักก่อให้เกิดรอยเท้าคาร์บอนน้อยที่สุดคือ 0.89 0.748 และ 0.692 kg CO₂ eq/kWh ตามลำดับโดยรอยเท้าคาร์บอนทั้งหมดจะเกิดขึ้นจากขั้นตอนการผลิตไฟฟ้ามากที่สุด รองลงมาคือขั้นตอนการได้มาของวัตถุดิบ ส่วนขั้นตอนการขนส่งวัตถุดิบจะก่อให้เกิดรอยเท้าคาร์บอนน้อยที่สุด ส่วนแนวทางเบื้องต้นในการลดรอยเท้าคาร์บอนของโรงไฟฟ้าได้แก่ การใช้พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานนิวเคลียร์มาผลิตไฟฟ้าเสริมกับการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าที่ใช้เป็นกรณีศึกษาและการการใช้ตัวดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
Other Abstract: This research studies the quantity of greenhouse gases emission emitted by the power plant's electricity generation. Employing carbon footprint evaluation, the research studies from the acquisition and transportation of raw materials to the electricity generation in order to evaluate the quantity of carbon footprints and their reduction. Carbon footprint from the generation of electric power plants in Thailand using fossil fuel, 4 cases, such as power generation of Bangprakong combined cycle power plant no. 1-2 with natural gas and diesel fuel. Bangprakong combined cycle power plant no. 3-4 using natural gas. Krabi thermal power plants using fuel oil and diesel fuel and Maehongsorn diesel power plant. The study also introduces some basic guidelines for reducing carbon footprint. To evaluate carbon footprint is to use software package SimaPro 7.2.4 is used and its boundary is Business-to-business (B2B) type. The results of it are carbon footprint in every case,mostly time over 20 years, secondly 100 years and the least time over 500 years. Maehongsorn diesel power plant cause the highest carbon footprints 1.06 0.977 and 0.947 kg CO₂ eq/kWh, respectively, followed by Krabi thermal power plants using fuel oil as the main causing the carbon footprint 0.966 0.918 and 0.898 kg CO₂ eq/kWh, respectively. Bangprakong combined cycle power plant using natural gas as primary fuel to generate has the smallest carbon footprint, 0.89 0.744 and 0.689 kg CO₂ eq/kWh respectively. The carbon footprint caused by the generation process of electricity most, followed by the process of acquisition of raw materials.The process of shipping raw materials will cause the least carbon footprint.The introductory options for carbonfootprint mitigation are using wind, solar and nuclear energy for power generation combine case study and using CCS.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23384
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1809
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1809
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yutthasak_si.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.