Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2341
Title: การเปรียบเทียบสัมฤทธิผลการเรียนวิชาการฟัง-พูด โดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: การเปรียบเทียบสัมฤทธิผลการเรียนวิชาการฟังและการพูด โดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ ของนิสิตปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายงานการวิจัยทดลอง การเปรียบเทียบสัมฤทธิผลการเรียนวิชาการฟัง-พูด โดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
A comparative study of the achievement in oral communication of first-year Chulalongkorn University students in different teaching andn learning situations
Authors: สุชาดา นิมมานนิตย์
นิภาพร รัตนพฤกษ์
อัมพร ชาติอัปสร
จันทร์พนิต สุรศิลป์
รัชนีโรจน์ กุลธำรง
กุลยา คัมภิรานนท์
ดวงฤดี กาญจนพันธ์
พัชรี ชินธรรมมิตร
วัลยาพร นาวีการ
Email: [email protected]
[email protected]
[email protected]
[email protected]
[email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
ภาษาอังกฤษ -- การใช้ภาษา
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสอนทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 1 มาตั้งแต่ปี 2522 นิสิตฝึกทักษะการฟังในห้องปฏิบัติการทางภาษาโดยใช้แบบเรียนสำหรับเรียนด้ายตนเอง และฝึกทักษะการพูดโดยมีครูสอนในชั้นเรียน ต่อมาเมื่อแนวการสอนภาษาแบบสื่อความหมายเน้นความสำคัญของการสอนภาษาแบบทักษะสัมพันธ์ อาจารย์ของสถาบันภาษากลุ่มหนึ่งดำริที่จะนำการสอนแบบทักษะสัมพันธ์มาใช้ และได้เตรียมบทเรียนการฟังและการพูดแบบทักษะสัมพันธ์ขึ้น จึงได้เสนอโครงการวิจัยทดลองใช้บทเรรียนที่เตรียมขึ้นนั้นสอนทักษะการฟังและการพูดในรูปแบบต่าง ๆ กัน 5 แบบ โดยมีวัตถุประสง๕ที่จะหาข้อสรุปให้ได้ว่า การจัดการสอนแบบใดจะให้ผลดีมากที่สุด เพื่อสถาบันภาษาจะได้ใคร่ใช้ผลของการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชาการฟังและการพูดต่อไป กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คัดเลือกจากนิสิตชั้นปีที่ 1 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ และสาขาวิชามนุษยศาสตร์ จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบระดับอย่างง่าย 9Simple Stratified Random Sampling) คัดเลือกคณะที่จะทำการทดลองสอนได้ 5 คณะ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะนิเทศศาสตร์และคณะอักษรศาสตร์ ต่อจากนั้นจึงคัดเลือกนิสิตกลุ่มตัวอย่างจากแต่ละคณะ ๆ ละ 5 กลุ่ม เมื่อได้นิสิตกลุ่มตัวอย่างแล้วได้จัดการสอนให้นิสิตกลุ่มตัวอย่างในแต่ละคณะ ๆ ละ 5 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 เรียนการฟังด้วยตนเองในห้องปฏิบัติการทางภาษา 1 ชม. ต่อสัปดาห์ และเรียนการพูดโดยใช้บทเรียนแบบทักษะสัมพันธ์ที่เน้นการฟัง-การพูดอีก 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แบบที่ 2 เรียนการฟัง-พูด โดยใช้บทเรียนแบบทักษะสัมพันธ์ที่เน้นการฟัง-พูด 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยได้รับเทปบทเรียนการฟังที่มีเนื้อหาเหมือนกับบทเรียนการฟังของสถาบันภาษาไปเรียนด้วยตนเองที่บ้าน แบบที่ 3 เรียนการฟัง-พูด โดยใช้บทเรียนแบบทักษะสัมพันธ์ที่เน้นการฟัง-พูด 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แบบที่ 4 เรียนการฟังด้วยตนเองในห้องปฏิบัติการทางภาษา 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในครึ่งแรกของภาคการศึกษา แล้วเรียนการพูดโดยใช้บทเรียนแบบทักษะสัมพันธ์ที่เน้นทักษะการฟัง-การพูด 2 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ในเครึ่งหลังของภาค แบบที่ 5 เรียนการพูดโดยใช้บทเรียนแบบทักษะสัมพันธ์ที่เน้นการฟัง-พูด 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในครึ่งแรกของภาคการศึกษา และเรียนการฟังด้วยตนเองในห้องปฏิบัติการทางภาษา 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในครึ่งหลังของภาค การตัดเลือกนิสิตกลุ่มตัวอย่างให้เรียนแต่ละแบบใช้วิธีจับฉลาก ผู้วิจัยได้ตัดเลือกผู้สอนในโครงการวิจัยทดลอง 5 คน จากอาจารย์ของสถาบันภาษาที่มีประสบการณ์ด้านการสอนการฟังและการพูด การคัดเลือกผู้สอนใช้เกณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ ความทัดเทียมกันทางด้านเพศและวัย ประสบการณ์ด้านการสอน จำนวนปีที่ศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ สื่อความหมายและผลจากการทดสอบบุคลิกภาพของ Eysenck (Eysenck Personality Inventory, 1968) ผู้สอนทุกคนทำการสอนตามคู่มือครูวิชาการฟัง (Foundation Listening I) และคูมือครูวิชาการพูด (Foundation Oral Communication : Intergrsted Materials) ก่อนทำการสอนทุกครั้ง ผู้สอนทุกคนได้เตรียมการสอนร่วมกันเพื่อให้การสอนเป็นรูปแบบเดียวกัน การเก็บข้อมูลเก็บจากการให้นิสิตกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาของสถาบันภาษา (Standardised Proficiency Test Form A, 1975) ทั้งก่อนเรียนและหลังจากเรียนตามแบบที่กำหนด นิสิตกลุ่มตัวอย่างได้ทำแบบทดสอบสัมฤทธิผลด้านการฟังของสถาบันภาษา (Listening Achievement Test, September, 1983) และทำการสอบความสามารถด้านการพูดโดยการสัมภาษณ์ (Interview) โดยใช้เกณฑ์เดียวกับ Foreign Service Institute (FSI) นอกจากนี้ยังให้นิสิตกลุ่มตัวอย่างกรอกแบบทดสอบบุคลิกภาพของ Eysenck (1968) และแบบสอบถาม "เจตคติ" ต่อการเรียนภาษาอังกฤษทั้งด้านการฟังและการพูด ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นปรากฏว่า 1. การจัดการสอนที้ง 5 แบบมิได้ให้ผลสัมฤทธิ์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มว่าการสอนแบบที่ 5 จะช่วยให้ผู้เรียนมีสัมฤทธิผลด้านการฟังมากที่สุด ส่วนในด้านการพูด การสอนแบบที่ 2 และ 3 มีแนวโน้มที่จะให้ผลดีกว่าแบบที่ 5, 4 และ 1 ตามลำดับ 2. คะแนนของผลการสอบความสามารถด้านการพูดกับคะแนนสัมฤทธิ์ด้านการฟังมีแนวโน้มที่จะคล้อยตามกัน 3. ผู้เรียนในกลุ่มตัวอย่างมีบุคลิกภาพไม่แตกต่างกัน และบุคลิกภาพของผู้เรียนไม่มีผลต่อความสำเร็จทางด้านการเรียนภาษาอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: For a number of years Chulalongkorn University Language Institute has treated Listening and Speaking as two separate courses : the listening course administered in language laboratories is self-instructional; speaking courses, by contrast, are taught in a regular classroom situation. The recent trend towards teaching languages for communicative purposes emphasizes a new aspect of teaching : the integrated of akills. A number of teachers, having questioned whether or not students really acieve more through skill integration than through separate skill courses,, prepared a set of listening-speaking integrated units and started this experimental research project. Their purpose was to teach those materials through different listening speaking combinations, in order to study, the effects of each combination and to find out which combination would yield the best results. The sample population consisted of 25 groups of first year Chulalongkorn University students. They were simple stratified-randomly selected: five from each of five faculties, namely Engineering, Pharmaceutical Science, Communication Arts, Commerce and Accountancy areas. Physiological Sciences, Biological Sciences, Social Sciences and Humanities. Each of the five groups from each faculty was taught a different program - the five alternatives are given below. The matching of groups to the program models was done by drawing lots. Each program model consisted of 2 separate class hours per week. Model 1 : 1 hour of self - instructional listening in a language laboratory, and I1 hour of integrated listening and speaking. Model 2: 2 hours of integrated listening and speaking, plus parallel - form, self- instructional listening materials to be studied outside class. Model 3: 2 hours of integrated listening and speaking. Model 4: 2 hours of self-instructional listening in a language laboratory for the first half of the semester, and 2 hours of integrated listening and speaking for the second half of the semester. Model 5: 2 hours of integrated listening and speaking for the first half of the semester and 2 hours of self-instructional listening for the second half of the semester. This research was carried out in one semester of fifteen weeks. Five teachers were selected from those who had been teaching the listening and speaking courses. Each was to teach one model throughout the five faculties. The selection was based on their age, sex, teaching experience, the number of years spent in an English-speaking country, and the results of the Eysenck Personality Inventory (EPI) (1968). Theteachers strictly observed the Teachers' Handbooks for both the listening and the listening -speaking integrated components. A meeting ws held at least once a week to ensure, as far as possible, that the same teaching procedures were employed. Data was collected from the following: 1. A pre and post-standardized proficiency test FORM A (CULI, 1975). 2. A listening achievement test (CULI, September 1983). 3. An oral interview based in the Foreign Service Institute (FSI) Scale. 4. The EPI (1968). 5. Questionnaires surveying the subjects' attitudes towards the different teaching models. The results were as follows: 1. The different models did not result in significant difference among the experimental groups in terms of achievement. However, of the five models the subjects who were taught according to modell 5 tended to yield the highedt scores on the listening achievemebt test, whereas in speaking the subjects in models 2 andn 3 tended to show greater proficiency 2. There was a tendency for the listening achievement test scores to correlate positively with the speaking proficiency test scores. 3. It was found in this experiment that the subjects in each group were not significantly different in terms of personality and their personality by no means correlated significantly with theiry achievement in learning foreign languages.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2341
Type: Technical Report
Appears in Collections:Lang - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suchada(first).pdf13.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.