Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/237
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเกื้อ วงศ์บุญสิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันประชากรศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2006-06-02T08:36:37Z-
dc.date.available2006-06-02T08:36:37Z-
dc.date.issued2531-
dc.identifier.isbn9745764493-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/237-
dc.description.abstractเป็นที่ยอมรับกันว่าโครงการการวางแผนครอบครัวของประเทศไทย ได้รับความสำเร็จอย่างสูงในปัจจุบัน ผลจากการวิจัยพบว่า สาเหตุสำคัญของการเพิ่มอัตราการใช้การวางแผนครอบครัวในช่วง พ.ศ. 2513-2522 เป็นผลจากการเพิ่มอุปทานของบุตรและลดอุปสงค์ต่อบุตร ขณะเดียวกัน ค่าใช้จ่ายในการวางแผนครอบครัวทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินก็ถูกลงด้วย จากประเด็นดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาทิศทางของอุปสงค์และอุปทานของบุตร ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการใช้การวางแผนครอบครัวในปัจจุบันว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร ตลอดจนพิจารณาด้วยว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมมีส่วนสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างไร ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล ของโครงการการสำรวจการคุมกำเนิดในประเทศไทยรอบที่ 3 ซึ่งดำเนินการโครงการดังกล่าวในช่วงระยะเวลาเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2526 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2527 โดยความร่วมมือของ 3 หน่วยงานคือ สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และกองอนามัยครอบครัว กระทรวงสาธารณสุข พอจะสรุปโดยสังเขปได้ดังนี้ ผลของการศึกษาในครั้งนี้ สอดคล้องกับแนวทฤษฎีอุปสงค์ อุปทานของการใช้การคุมกำเนิดของ Easternlin และ Crimmins ซึ่งใช้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ กล่าวคือ เมื่อคู่สมรสมีแรงจูงใจที่จะคุมกำเนิดและหากว่าค่าใช้จ่ายในการใช้การคุมกำเนิดต่ำ คู่สมรสจะเลือกใช้การคุมกำเนิด นอกจากนี้ยังพบว่าตัวแปรแรงจูงใจไม่ว่าจะวัดจากความแตกต่างของอุปทานและอุปสงค์ของบุตร (Cn-Cd) อุปสงค์ของบุตร อุปทานของบุตร ความไม่ต้องการบุตรเพิ่ม ความแตกต่างของจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันและอุปสงค์ของบุตร (C-Cd) และจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการใช้การคุมกำเนิด อย่างไรก็ตามในบรรดาตัวแปรแรงจูงใจทั้งหมดที่นำมาศึกษาตัวแปร Cn-Cd เป็นตัวแปรที่ใช้วัดแรงจูงใจในการวางแผนครอบครัวได้ดีที่สุด ขณะเดียวกัน ตัวแปรค่าใช้จ่ายในการใช้คุมกำเนิด ซึ่งวัดจากจำนวนวิธีการคุมกำเนิดที่คู่สมรสรู้ ก็มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการใช้ และทั้งตัวแปรแรงจูงใจและค่าใช้จ่ายก็เป็นตัวแปร 2 ตัวแปรที่เสริมกันในการอธิบายการยอมรับการวางแผนครอบครัว ในส่วนของปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อตัวแปร Cd Rc และองค์ประกอบของ Cn บางตัว เช่น สัดส่วนการตายของเด็ก และระยะเวลาการสมรส พบว่าการศึกษาของสตรี เขตที่อยู่อาศัย และระดับการมีไฟฟ้าใช้มีผลต่อตัวตัวแปรดังกล่าวในทิศทางที่คาดหวังไว้ (แม้ว่าบางครั้งความสัมพันธ์ดังกล่าว จะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 95 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม)กล่าวคือ ในกลุ่มสตรีที่มีการศึกษาสูง ที่อยู่ในเมือง และระยะเวลาของการมีไฟฟ้ายาวนานกว่า จะมีสัดส่วนการตายของเด็กในระดับต่ำ มีระยะเวลาการสมรสสั้นกว่า มีความต้องการบุตรน้อย และรู้วิธีการใช้การวางแผนครอบครัวมากกว่ากลุ่มสตรีที่มีการศึกษาต่ำ และ/หรืออาศัยอยู่ในเขตชนบท ตลอดจนการมีไฟฟ้าใช้ช่วงเวลาสั้นกว่า สำหรับการเปลี่ยนแปลงของตัวแปร องค์ประกอบของ Cn ตัวอื่น เช่น การไม่เป็นหมันหลังจากเคยมีบุตร (NSS) และสัดส่วนการสูญเสียจากการตั้งครรภ์ (PREGWAS)นั้น มักจะเป็นผลมาจากปัจจัยทางสรีรวิทยามากกว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมen
dc.description.abstractalternativeIt is noted that family planning programmes in Thailand have proved very successful. Research in the field shows that the reasons for improvement in the rate of contraceptive use during 1970-1979 relate to supply and demand of children as well as to costs of regulation. These findings underline the purpose of this study. It examines the current trend of the supply of (Cn) and demand for (Cd) children as well as the present costs of regulation (Rc). In addition, this study focuses on the linkage of socio-economic variables to this trend and their interrelationship. The data for this study are taken from the third Contraceptive Prevalence Survey which was carried out from May 1983 to July 1984 jointly by the Research Center of the National Institute of Development Administration (NIDA) and the Institute of Population and Social Research at Mahidol University in Collaboration with the family Health Division of the Ministry of Public Health. This study is based on the supply-demand analysis of contraceptive practice model of Easterlin and Crimmins and indicates that a couple decides to control its fertility when there are both motivation for fertility regulation and low regulation costs. It is found that the motivation variable correlates positively with the use of fertility control. It is so no matter whether motivation is measured by the difference of supply and demand for children (Cn-Cd), the supply and demand for children (C-Cd) or living children alone. However, Cn-Cd provides the best measure of the degree of motivation for fertility control. At the same time, the regulation costs variable, measured here by number of methods known to a couple, relates positively with use of fertility control. In terms of socio-economic variables which affect Cd, Rc and such components of Cn as rate of child mortality and the duration of marriage, this study finds that wife's education, place of residence and length of time that electricity has been available relate to the motivation and regulation costs variables in the expected direction. In other words, in the group of higher educated women, living in urban areas and/or with longer term use of electricity, there are lower rates of child motality, shorter duration of marriage, smaller desired family size and a larger number of methods known than are found in the group of less educated women and /or living in rural areas with electricity available for shorter periods. As for such components of Cn as not secondarily sterile (NSS) and proportions of pregnancy wastage, there is a tendency for change in relationship due to physiological factors rather than socio-economic one.en
dc.description.sponsorshipกองทุนรัชดาภิเษกสมโภชen
dc.format.extent9534406 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการวางแผนครอบครัว--ไทยen
dc.subjectคุมกำเนิด--ไทยen
dc.titleการวิเคราะห์ด้านอุปสงค์และอุปทานของการใช้การวางแผนครอบครัว : กรณีของประเทศไทย (ปี 2527) : รายงานผลการวิจัยen
dc.title.alternativeThe supply-demand analysis of contraceptive practice: the case of Thailand, 1984en
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.author[email protected]-
Appears in Collections:Pop - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kua_cncd.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.