Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2427
Title: | การสำรวจความเครียด การจัดการกับปัญหาและการสนับสนุนทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนนทบุรี |
Other Titles: | Survey of stress, coping and social support among mathayom 6th students under the Jurisdiction of the Department of General Education in Nonthaburi |
Authors: | อรุณี เกษรอุบล, 2502- |
Advisors: | วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี วิฑูรย์ โล่ห์สุนทร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | วัยรุ่น--สุขภาพจิต ความเครียด (จิตวิทยา) |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียด ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดนนทบุรี จำนวน 404 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง 3) แบบสำรวจเหตุการณ์ในชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียด 4) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 5) แบบสอบถามวิธีการจัดการกับปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยแบบลอจิสติก และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 48.9) มีระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ โดยที่ร้อยละ 19.1 มีความเครียดในระดับสูงกว่าเกณฑ์ปกติปานกลางและมาก ซึ่งส่งผลเสียต่อการปฏิบัติหน้าที่ในชีวิตประจำวันและสุขภาพอนามัย เหตุการณ์ในชีวิตที่นักเรียนส่วนใหญ่รู้สึกเครียดมากที่สุดได้แก่ เหตุการณ์ภายในโรงเรียน การศึกษาและการสอบเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียนส่วนใหญ่มีการสนับสนุนทางสังคมในระดับสูง กลวิธีในการจัดการกับปัญหาที่ใช้บ่อยได้แก่ การแสดงความรับผิดชอบ การแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม และการแก้ไขปัญหาตามลำดับ และวิธีการที่ใช้น้อยมากได้แก่ การหลีกเลี่ยงหรือหนีปัญหาและการเผชิญกับปัญหา จากการศึกษาพบว่า เพศ การศึกษาของมารดา เหตุการณ์ในชีวิต การสนับสนุนทางสังคม และวิธีการจัดการกับปัญหาแบบการหลีกเลี่ยงหรือหนีปัญหา มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการสนับสนุนทางสังคม และวิธีการจัดการกับปัญหา เป็นปัจจัยปกป้องนักเรียนจากความเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน |
Other Abstract: | The purposes of this cross-sectional survey were to study level of stress and its associated factors among Mathayom 6 th students under The Jurisdiction of The Department of General Education in Nontaburi. The subjects were 404 Mathayom 6th students in 6 secondary schools of the Nontaburi Department of General Education in 2544 BE academic year. Data were collected by means of five sets of self - administered questionnaires: Personal Data Questionnaire, Self-Analysis Stressful, Life Events Inventory, Social Support Questionnaire, and Modified Thai Version Way of Coping Checklist. The results showed that most of students (48.9 percent) reported higher-than-normal level of stress, with 19.1 percent of students showed high level of stress which affected their performance and health. Most of students reported high social support. School/academic/entrance events were perceived by most students to be the most stressful. Accepting responsibility, seeking social support and planful problem-solving coping were morefrequently used, and escape-avoidance and confrontive coping were less frequently used. Sex, mothers' education, stressful life events, social support and escape-avoidance coping were statistical significantly associated with the stress level. The study indicated that social support and coping strategy are protective factors among the students from the impact of stressful events. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2427 |
ISBN: | 9741700059 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
arunee.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.