Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25047
Title: นิราศคำกลอนสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลปัจจุบัน : การศึกษาเชิงวิเคราะห์
Other Titles: Niras Khamlon in the Ratanakosin period from the reign of King Rama V to the Present King : an analytical study
Authors: รัตนา โอษฐ์ยิ้มพราย
Advisors: วัชรี รมยะนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: นิราศ
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์นิราศคำกลอนสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลปัจจุบัน จำนวน 112 เรื่อง ในด้านรูปแบบคำประพันธ์เนื้อหา กลวิธีการเสนอเรื่อง และศิลปะการแต่ง ผลการวิจัยปรากฏว่านิราศคำกลอนในช่วงเวลาดังกล่าวมีรูปแบบคำ 2 ประเภทคือ กลอนล้วน กับกลอนและมีคำประพันธ์ประเภทอื่นแทรก มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ บทนำ บทตัวเรื่อง และบทลงท้าย ส่วนที่เป็นบทนำกล่าวถึง การไหว้ครู การปูพื้นฐานทางอารมณ์ การบอกสาเหตุของการเดินทาง กำหนดเวลาเดินทาง และลักษณะการเดินทาง จุดประสงค์และมูลเหตุในการแต่ง การกล่าวถึงสถานที่แห่งแรกที่เดินทางผ่านไป การกล่าวถึงคำขวัญหรือถ้อยคำเตือนสติของผู้ใหญ่ที่ให้ไว้ก่อนเดินทาง ส่วนที่เป็นบทตัวเรื่องกล่าวถึงสิ่งที่พบเห็นระหว่างการเดินทาง อารมณ์และความรู้สึกของผู้แต่ง ทัศนะของผู้แต่ง ส่วนที่เป็นบทลงท้ายกล่าวถึงการบรรลุถึงสถานที่ที่เป็นจุดหมายปลายทาง การพบผู้เป็นที่รักเมื่อเดินทางกลับ การบอกจุดประสงค์ในการแต่งและคำชี้แจงเกี่ยวกับการแต่ง คำอวยพรแก่ผู้อ่าน และคำอธิษฐานของผู้แต่ง การเตือนใจให้ข้อคิดทั้งหมดเป็นส่วนที่ให้ความรู้ สะท้อนชีวิตในสังคม และสอนใจเกี่ยวกับสังคมและศาสนา กลวิธีการเสนอเรื่องมี 3 แบบคือ การบรรยาย การใช้คำถามคำตอบและการใช้บทสนทนาโต้ตอบ ซึ่งกลวิธีต่าง ๆนี้ทำให้นิราศคำกลอนนี้น่าสนใจชวนให้ติดตาม ศิลปะการแต่งนิราศคำกลอนในช่วงที่วิเคราะห์ทั้งในด้านโวหารและการใช้ภาษา มีส่วนช่วยในการสื่อความคิดและสร้างภาพธรรมชาติที่งดงามและทำให้เกิดความไพเราะ ผลของการเปรียบเทียบนิราศคำกลอนที่แต่งก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กับนิราศคำกลอนที่แต่งตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ถึงปัจจุบัน สรุปได้ว่ามีส่วนที่เหมือนกันและต่างกันคือ ในด้านแนวการตั้ง มีแนวการแต่งที่เหมือนกันอยู่ 5 แนวคือ แนวที่แสดงความในใจของผู้แต่ง แนวบันทึกการเดินทางแนวจากวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ แนวที่มาจากการฝันรำพึง แนวจากการผสมระหว่างการคร่ำครวญกับการสมมติว่าเดินทางจากผู้เป็นที่รักไป แนวการแต่งที่ต่างกันมี 2 แนวคือ แนวที่แสดงทัศนะที่มีต่อสังคมและแนวการล้อลักษณะการใช้สำนวนภาษาวรรณกรรมเรื่องอื่น ในด้านส่วนประกอบของเนื้อหา มีส่วนประกอบของเนื้อหาในบทนำและบทลงท้ายเหมือนกัน ส่วนประกอบของเนื้อหาในบทตัวเรื่องต่างกัน ในด้านศิลปะการแต่งมีโวหารและการใช้ภาษาที่ใช้วิธีในแนวที่เหมือนกัน ต่างกันในด้านรายละเอียดในการพรรณนา นิราศคำกลอนที่แต่งก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เก็บรายละเอียดในการพรรณนาชมธรรมชาติได้มากกว่านิราศคำกลอนในสมัยที่วิเคราะห์นี้ ในด้านแก่นเรื่องและกลวิธีการเสนอเรื่อง แก่นเรื่องของนิราศคำกลอนบางเรื่องเหมือนกันคือใช้การคร่ำครวญเป็นแก่นเรื่อง บางเรื่องต่างกันคือใช้การบันทึกการเดินทางเป็นแก่นเรื่อง กลวิธีการเสนอเรื่องที่เหมือนกันคือการบรรยายกับการใช้บทสนทนา กลวิธีการเสนอเรื่องที่ต่างกันคือการใช้คำถาม – คำตอบ ซึ่งนิราศในช่วงที่วิเคราะห์นี้มีใช้เพิ่มขึ้น ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดที่สุดในการเปรียบเทียบคือ นิราศคำกลอนสมัยที่วิเคราะห์นี้ได้แสดงทัศนะและเนื้อหาในทำนองวิพากษ์วิจารณ์สังคมมากขึ้นกว่านิราศคำกลอนในสมัยก่อน ๆ ในการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ ผู้วิจัยใคร่จะขอเสนอให้มีการศึกษานิราศประเภทอื่น เช่น นิราศคำฉันท์ หรือ นิราศที่แต่งเป็นร้อยแก้วเพื่อจะได้ศึกษาและสังเกตุเห็นแนวโน้มในการแต่งนิราศในสมัยต่อมาได้
Other Abstract: This thesis is an analytical study of Niras Khamklon (poetic narrative) of the Ratanakosin Period from the reign of Rama V to the present time. These 112 selections are studied in terms of their poetic forms, content, presentation, and style. The study reveals that Niras Khamklon during this period are of 2 types, those written in one form verse “klon”, and those written in klon and other different forms of verse. In general, the subject-matter of Niras consists of introduction, main content and conclusion. The introductory part invocation to patron gods and expression of gratitude to mentors, creation of the atmosphere, reasons of the journey, time of departure, means of transportation, the purpose of the poem, the first spot passed by, and finally advice given by elders before the departure. The second part describes various sights during the journey, the poet’s emotions, feelings and attitudes. The last part tells of the arrival at the destination, the reunion with the loved one, the poet’s purpose restated, the poet’s well wishing and his aspiration, lessons to be learned. Niras is a fund of information on life and society of the time and there are lessons to be drawn concerning society and religion. In terms of presentation, three techniques are used: description, question and answer, and dialogue. These different techniques make Niras Khamklon interesting. The art of Niras Khamklon during this period, the diction and style, stirs the imagination, creates beautiful scenery and makes the poetry melodious. In comparing Niras Khamklon as composed in the time before Rama V with those composed in his reign to the present time, we can conclude that there both similarities and differences. The five similarities lie in the revelation of the poet’s mind, the description of the journey, influence from other pieces of literature dreaming, and lamenting combined with a supposed journey away from the lover. The two differences can be seen in attitudes towards society and a parody of diction used in other works of literature. Next, as for the contents of Niras of both periods, the subject-matter of the introduction and that of the conclusion are somerwhat similar while the subject matters of the main theme are different. Speaking about techniques used, diction and style are the same whereas the details in the description of the journey are different. Niras Khamklon composed before Rama V give more details when describing nature. As for/theme and presentation, some Niras khamklon use lament as their main theme whereas others use detailed description. Niras of both period are similar in that they are presented in the of description and dialogue but the works of the period being analysed are different because they are presented in the form of question and answer. The question answer technique is used more in Niras Khamklon of the time studied. The most significant difference is that Niras Khamklon of this period emphasizes social criticism more strongly. In doing this research, the researcher would like to suggest that other kinds of Niras such as Niras Knamchan of Niras in prose should be studied to see trends in composing Niras in the later periods.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25047
ISBN: 9745641472
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana_Os_front.pdf571.46 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Os_ch1.pdf487.11 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Os_ch2.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Os_ch3.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Os_ch4.pdf310.26 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Os_back.pdf607.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.