Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25280
Title: การบูรณาการโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พีซีอาร์กวิวเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับแบบจำลองการไหลน้ำใต้ดินมอดโฟลว์
Other Titles: Integration gis pc-arcview for data linkage with modflow groundwater model
Authors: งามเพ็ญ วงศ์วัฒนะ
Advisors: วิชัย เยี่ยงวีรชน
สุจริต คูณธนกุลวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สืบเนื่องจากภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำโครงการศึกษาศักยภาพและความต้องการใช้น้ำใต้ดินเพื่อการจัดการน้ำใต้ดินในพื้นที่ด้านเหนือของที่ราบภาคกลาง ในปี พ.ศ. 2544-2545 โดยได้ทำการจำลองสภาพนำใต้ดินใน บริเวณพื้นที่ศึกษาด้วยโปรแกรม GMS/MODFLOW จากการศึกษาพบว่าประสบปัญหาเรื่อง ความไม่ต่อเนื่องของการทำงาน และผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการเตรียมข้อมูลเข้าสู่แบบจำลองซึ่งต้องผ่านโปรแกรม MS-Excel MS-Access และ GMS เพื่อทำการ จัดรูปแบบไฟล์นำเข้า ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลโดยใช้ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับแบบจำลองน้ำใต้ดิน เพื่อทำการเตรียมข้อมูลให้กับแบบจำลองและในด้านการแสดงผลในรูปแผนที่ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกวิธี Simulation Model Linked to GIS ตามแนวคิดของ D.W. Watkins, D.R. Maidment and Min-Der Lin โดยได้ทำพัฒนาฟังก์ชัน 3 ส่วนใน ArcView คือ 1) ส่วนการเตรียมข้อมูลสร้างแบบจำลองเชิงทัศน์ 2) ส่วนการเตรียมข้อมูลสู่ MODFLOW และ 3) ส่วนการนำเข้าผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ สามารถลดขั้นตอนในการเตรียมข้อมูลเข้าสู่ แบบจำลอง จากการประเมินเบื้องต้นของผู้วิจัยพบว่าสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในระดับหนึ่ง แต่ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานในเรื่องของการนำเข้าผลลัพธ์ ยังคงต้องใช้การเตรียมข้อมูลด้วยมือ ซึ่งอาจทำให้การใช้งานยังไม่สะดวกเท่าที่ควร และในด้านการตรวจสอบความถูกต้องของผลการจำลอง ซึ่งควรจะได้รับการพัฒนาปรับปรุงต่อไป จากการศึกษาครั้งนี้การบูรณาการโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับแบบจำลองน้ำใต้ดินจะมาช่วยเสริมการทำงานในด้านการแสดงผลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการน้ำใต้ดินในพื้นที่ศึกษา
Other Abstract: In the Groundwater Potential and Demand study for Groundwater Management in the Northern Part of Lower Central Plain Project in B.C. 2001 - 2002 done by the Department of Water Resources Engineering, Faculty of Engineering Chulalongkorn University had been developing groundwater model for the study area using GMS/MODFLOW. The study found that workflow was not smooth and had many steps taking times for data preparation via MS-Excel, MS - Access and GMS, s๐ researcher proposesd the concept to develop integration system between geographic information system and groundwater modeling to prepare data and present results by mapping techniques. The study selected simulation model linked to GIS based on the concept of D.W.Watkins.D.R. Maidment and Min-Der Lin, i.e., to develop 3 function modules in ArcView; 1) data conceptual model preparation, 2) MODFLOW data preparation and 3) ArcView data preparation, which can replace the old process. Module evaluation shows that the functions can response the basic requirement of users, but some steps still needed to be processed manually. Especially, model checker function has to be further developed in the future. From the study, the Integration GIS Pc-ArcView for data linkage with MODFLOW groundwater model can promote the usefulness of GIS software for data analysis and visualization of data for groundwater management.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25280
ISBN: 9745316059
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ngampen_wo_front.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open
Ngampen_wo_ch1.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Ngampen_wo_ch2.pdf5.98 MBAdobe PDFView/Open
Ngampen_wo_ch3.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open
Ngampen_wo_ch4.pdf8.94 MBAdobe PDFView/Open
Ngampen_wo_ch5.pdf11 MBAdobe PDFView/Open
Ngampen_wo_ch6.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Ngampen_wo_back.pdf7.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.