Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25794
Title: | การศึกษาการบริหารงานบุคคลของบริษัทขนส่ง จำกัด |
Other Titles: | study on personnel administration of the Transport Company Limited |
Authors: | วีณา ธนไพศาลกิจ |
Advisors: | ทรงวุฒิ แสงวรรณลอย ไพลิน ผ่องใส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งที่จะศึกษาถึงกระบวนการบริหารงานบุคคลของบริษัทขนส่ง จำกัด เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. การสรรหาพนักงานไม่มีการวางแผนในการสรรหา ทำให้การสรรหาบุคคลไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะการสรรหาอยู่ในวงแคบ ทำให้ไม่ได้มาซึ่งบุคคลที่มีความรู้ความสามารถดีที่สุด เช่น การประกาศรับสมัครใช้วิธีการติดประกาศที่บริษัทเป็นส่วนใหญ่ 2. การพัฒนาบุคคลยังไม่บรรลุเป้าหมาย เพราะไม่มีการสำรวจหาความจำเป็นในการฝึกอบรม การกำหนดโครงการฝึกอบรมไม่สามารถสนองการแก้ปัญหาและอุปสรรคขององค์การอย่างแท้จริง นอกจากนี้การพัฒนาบุคคลยังไม่บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากบริษัทขนส่ง จำกัด มีอัตรากำลังไม่เพียงพอและเหมาะสมกับปริมาณงาน ไม่มีการวางแผนการฝึกอบรม วิธีการคัดเลือกพนักงานเข้ารับการฝึกอบรมยังไม่เหมาะสม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เห็นถึงคุณค่าและไม่ให้ความร่วมมือในการฝึกอบรม และไม่มีการประเมินผลและติดตามผลภายหลังการฝึกอบรมอย่างจริงจัง 3. การประเมินผลการปฏิบัติงานยังไม่เป็นไปตามระบบการประเมินผลที่ถูกต้อง เนื่องจากบริษัทฯ มิได้กำหนดวัตถุประสงค์และมาตรฐานการประเมินผลเป็นลายลักษณ์อักษรที่แน่นอน ไม่มีการอบรมชี้แจงก่อนทำการประเมิน แบบและปัจจัยที่ใช้ในการประเมินไม่ได้กำหนดไว้ ขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชาของแต่ละหน่วยงานว่าจะประเมินอย่างไร ระยะเวลาการประเมินผลการปฏิบัติทุกรอบ 3 เดือน แต่มิได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง มีการประเมินผลเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา ไม่มีการแจ้งผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการ และนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการขึ้นเงินเดือนแต่เพียงอย่างเดียว 4. สวัสดิการ มีพนักงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องการสวัสดิการเพิ่มเติมและปรับปรุงสวัสดิการที่มีอยู่ของบริษัท 5. วินัย พนักงานมีการกระทำผิดระเบียบวินัยอยู่เสมอ ซึ่งมีผลทำให้ภาพพจน์และศรัทธาของผู้ใช้บริการบางส่วนเป็นไปในแง่ลบ จากการวิจัยสามารถสรุปข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. ควรมีการวางแผนกำลังคนที่สามารถคาดคะเนล่วงหน้าถึงความต้องการกำลังคนเพื่อจัดหาแหล่งกำลังคน จัดเตรียมงบประมาณ และมีการวางแผนการสรรหา ทำให้การดำเนินการสรรหาบุคคลมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้สอดคล้องกับการขยายข่ายงานในอนาคตและควรปรับปรุงการประกาศรับสมัครงานให้ทราบกันอย่างทั่วถึง และดึงดูความสนใจ 2. การพัฒนาบุคคล ฝ่ายจัดการควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและเห็นถึงความสำคัญของงานฝึกอบรม โดยให้การสนับสนุนทั้งงบประมาณ อัตรากำลัง ควรมีการสำรวจหาความจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อพิจารณาวางโครงการและหลักสูตรในการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความจำเป็น ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมระดับพนักงานปฏิบัติการ มีการประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม นอกจากนี้ควรวางแผนงานฝึกอบรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้การดำเนินงานฝึกอบรมมีจุดมุ่งหมาย 3. การประเมินผลการปฏิบัติงาน ควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่แน่นอน รวมทั้งรายละเอียดมาตรฐานของงาน แบบและปัจจัยในการประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินผล ควรจัดให้มีการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้มีความรู้ความเข้าใจในการประเมินผลที่แท้จริง และถูกต้อง ควรให้มีการประเมินตามกำหนดระยะเวลาอย่างจริงจัง และควรเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินผลเพื่อสามารถนำผลไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลอื่นๆ ได้ 4. จัดสวัสดิการต่างๆ ให้สนองต่อความต้องการขององค์การ โดยคำนึงถึงความสามารถและความเป็นไปได้ของบริษัท 5. ให้มีมาตรการลงโทษพนักงานผู้กระทำความผิดทางวินัยอย่างจริงจัง และควบคุมให้ปฏิบัติตามระเบียบวินัยในแนวทางเดียวกันทุกคน |
Other Abstract: | This thesis aimed at studying of procedure in personnel administration of the Transport Company Limited, in order to analyze the problems occurred then concluding with proposals of improvement. The research outcome indicated that : 1. No recruitment planning : this caused uneffective recruitment. Methods of employment was limited, for example, putting the requirement for the job mostly at the company’s bureau. 2. The personnel development is not achieved due to the lack of survey for training needs and the personnel training program can not solve the problem and demolish the obstacles of the organization. Moreover the Transport Company Limited have limited manpower which is not adequate to working-loads. There’s neather training program nor effective methods in selecting employees for their training. However the trainees themselves do not realize the importance of training, consequently, they do not give cooperation to the programs arraged. Further more the post-training is not evaluated and followed up attentively. 3. There is no application of systematic performance appraisal; the company have never stated clearly of their evaluation standards or objectives. Preliminary settlement is not made before evaluation. Appraisal forms and factors are not emphasized but depend solely on the supervisor’s decision. Instead of having an appraisal once every 3 months it turns to be merely once a year. There is no formal information of the appraisal solutions and the appraisal is only used for the rise of their salaries. 4. Welfare : There should be a need in improving of welfare distribution. 5. Disciplinary conduction : too-frequent occurances of disciplinary violation have created bad image and negative attitudes to the public. The research leads to following proposals ; 1. Systematic and comprehensive manpower planning should be adopted in order to cope with future personnel needs; resources planning in human, financial and technical are involved including recruitment plan. These plans should get along with the net work in the future time and the jobs required should be advertised thoroughtly and attractively. 2. Personnel development : The management should pay serious support and emphasise the necessity of training programs by giving credits to training budget and its facilities. The necessities of training must be surveyed. Schemes and projects must be considered in accordance with promotion in training for operational-level employees. Post-training evaluation and follow up are needed as well as periodical training plans both long and short term so as to conduct a fruitful training programs. 3. Performance appraisals should be well informed of its determinations which include details in working standards, forms and factors of appraisal programs. Training for administrative level should be arranged in order to understand nature and significance of performance appraisal. Periodical appraisals should be performed of which output to be beneficially applied to other sectors of personnel administration. 4. It should have welfare arrangement to response with the organization’s needs counting on potential of the company. 5. There are strict-penalty measures to those employees who have apparently violated rules of disciplinary-conduct. Meanwhile there must be a well-conformed of disciplinary programs within the organization. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พาณิชยศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25794 |
ISBN: | 9745633275 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Weena_Tan_front.pdf | 533.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Weena_Tan_ch1.pdf | 336.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Weena_Tan_ch2.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weena_Tan_ch3.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weena_Tan_ch4.pdf | 2.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weena_Tan_ch5.pdf | 790.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Weena_Tan_back.pdf | 776.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.