Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2596
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุพัตรา ศรีไชยรัตน์ | - |
dc.contributor.author | จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์. ภาควิชาเภสัชวิทยา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์. ภาควิชาเภสัชวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-18T11:34:55Z | - |
dc.date.available | 2006-09-18T11:34:55Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2596 | - |
dc.description.abstract | ทดลองหาค่า LC50 (median lethal concentration) ภายใน 96 ชั่วโมง เพื่อเปรียบเทียบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารฆ่าแมลงสองกลุ่ม (กลุ่มออแกนโนฟอสเฟต = เมททิลพาราไธออนและกลุ่มคาร์บาเมต = คาร์บาริล) ในกุ้งกุลาดำและปลากะพงขาว ค่า LC50, 96 ชม. ของเมททิลพาราไธออนในกุ้งกุลาดำและปลากะพงขาวเท่ากับ 54 มค.ก/ลิตร และ 1.48 มก./ลิตร ตามลำดับ และค่า LC 50 ภายใน 96 ชั่วโมงของคาร์บาริลในปลากะพงขาวเท่ากับ 2.95 มก./ลิตร อัตราการตายและความรุนแรงของอาการเป็นพิษของกุ้งกุลาดำและปลากะพงขาวเพิ่มขึ้นตามขนาดความเข้มข้นของสารฆ่าแมลงทั้งสองชนิด จากค่า LC 50 ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากุ้งกุลาดำมีความไวจากความเป็นพิษของเมททิลพาราไธออน มากกว่าปลากะพงขาวประมาณ 30 เท่า และในปลากะพงขาวนั้น เมททิลพาราไธออนมีความเป็นพิษมากกว่าคาร์บาริลสองเท่าโดยประมาณ นอกจากนี้สมรรถนะเอนไซม์โฆลีนเอสเทอเรสในสมอง (สำหรับกุ้งเป็นเส้นประสาท) และกล้ามเนื้อของปลาและกุ้งทุกกลุ่มที่ได้รับสารฆ่าแมลงทั้งสองชนิดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สมรรถนะของเอนไซม์ที่ลดลงยังขึ้นกับความเข้มข้นของสารฆ่าแมลงทั้งสองชนิดที่ได้รับ ส่วนผลการตรวจทางจุลพยาธิสภาพนั้นกลับไม่พบว่ามีการผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญทั้งในกุ้งและปลาที่สัมผัสสารฆ่าแมลงในขนาดสูงและตายในทันที (ภายใน 6 ชั่วโมง) ดังนั้นผลการตรวจจุลพยาธิสภาพไม่ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ของขนาดความเข้มข้นและความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพได้ในความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน อย่างไรก็ตามผลการตรวจจุลพยาธิสภาพของกุ้งและปลาที่รอดตายเกิน 24 ชั่วโมง แสดงให้เห็นว่ามีการเสียหายของเหงือก ตับ (ในกุ้งเป็นตับและตับอ่อน) และกล้ามเนื้อเกิดขึ้นเนื่องจากสารฆ่าแมลง ดังนั้นระยะเวลาที่สัมผัสกับสารพิษเหล่านี้น่าจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความรุนแรงของการเปลี่ยนสภาพ จากผลการศึกษาทั้งหมดโดยรวมทำให้ได้ข้อเสนอแนะว่าการยับยั้งสมรรถนะเอนไซม์โฆลีนเอสเทอเรสอย่างรุนแรงทั้งในกล้ามเนื้อและสมองเนื่องจากสารฆ่าแมลงที่มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์โฆลีนเอสเทอเรสทั้งสองกลุ่ม (ออแกโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต) เป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงความเป็นพิษของสารฆ่าแมลงเหล่านี้เป็นอย่างดี วิธีการนี้มีความจำเพาะ สามารถตรวจได้โดยง่าย รวดเร็ว และเป็นที่ใช้กันอย่างกว้าวงขวาง | en |
dc.description.abstractalternative | The 96 hours LC50 (concentration lethal to half the test animals) were determined to compare the acute toxicity of two insecticide groups (organophosphate; methylparathion and carbamate; carbaryl) in tiger shrimp (Penaeus monodon) and giant perch (Lates calcalifer). The LC50, 96 hr of methylaparathion in tiger shrimp and fish were found to be 54 mcg/litre and 1.48 mg/litre respectively and the 96 hours LC 50 carbaryl in giant perch was 2.95 mg/liter. Both the mortality rate and severity of intoxication sign showed a direct relationship between the dosage of the two insecticides. The LC50 values investigated in the present study showed that, in comparison to the giant perch, tiger shrimp was about 30 folds sensitive to methyl parathion intoxiacatio and in giant perch, methyl parathion was about 2 folds more toxic than carbaryl. Moreover, brain (nerve tissue for shrimp) and muscle cholinesterase activities of all treated fish and shrimp decreased significantly (p<0.05). The decreasing of enzyme activities wasalso depended on exposed concentration of the two insecticides. There was no significant histopathological abnormalities in tiger shrimp and giant perch which exposed to high concentration of the insecticides and dried immediately (within 6 hours.). Thus, the histological study show no relationship between the dosage and the severity of pathological alterations for acute toxicity. However, the histopathological study of the survivirs over 24 hours showed damages in gill, liver (hepato-pancrease for shrimp) and muscle. The duration of exposure to these toxic compounds should be the main factor of the severity of these alterations. All of the results suggested that the strong inhibition of cholinesterase activities both in muscle and brain (nerve tissue for shrimp) due to anticholinesterase insecticides (organophosphates and carbamates) is a good indicator of their poisoning. It is more specific, simple, rapid and generously used. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนอุดหนุนการวิจัยจากทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดินปี 2536 | en |
dc.format.extent | 8441449 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สัตว์น้ำ | en |
dc.subject | ออแกโนฟอสเฟต | en |
dc.subject | คาร์บาเมต | en |
dc.title | วินิจฉัยความเป็นพิษของยาฆ่าแมลงชนิดออแกโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในสัตว์น้ำ : รายงานผลโครงการวิจัย | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | [email protected] | - |
dc.email.author | [email protected] | - |
Appears in Collections: | Vet - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supatra.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.