Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26569
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุ
Other Titles: Development of a Buddhist learning model for the development of the elderly
Authors: ทิพย์วดี เหลืองกระจ่าง
Advisors: พรทิพย์ อันทิวโรทัย
ปรีชา ช้างขวัญยืน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
[email protected]
Subjects: ผู้สูงอายุ
การเรียนรู้
พุทธศาสนา
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมสำหรับผู้สูงอายุ 2) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าและกระบวนการพัฒนาผู้สูงอายุตามแนวพุทธศาสตร์ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือการศึกษาเอกสาร 67 เรื่อง การศึกษารายกรณี 6 กรณีโดยใช้การสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วมและมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก รวมทั้งการจัดการสนทนากลุ่มผู้สูงอายุซึ่งเป็นประธานชมรมผู้สูงอายุ 7 คน และตรวจสอบการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ 7 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. หลักธรรมสำหรับผู้สูงอายุ จากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการพัฒนาผู้สูงอายุตามแนวพุทธศาสตร์ พบว่า ในภาพรวม ประกอบด้วย องค์ธรรม 29 ประการ (ปริยัติ) การปฏิบัติ 12 ประการ (ปฏิบัติ) และผลจากการปฏิบัติ (ปฏิเวธ) อันเป็นคุณค่าภายนอก 2 ด้าน คือ ด้านร่างกายและด้านสังคม และคุณค่าภายใน 4 ด้าน คือ ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ ด้านปัญญา และด้านสติสัมปชัญญะ เมื่อพิจารณาหลักธรรมสำหรับผู้สูงอายุที่แบ่งเป็นระดับ พบว่า ในระดับโลกิยะ ประกอบด้วย องค์ธรรม 17 ประการ (ปริยัติ) การปฏิบัติ 3 ประการ (ปฏิบัติ) และผลจากการปฏิบัติ 2 ประการ (ปฏิเวธ) และในระดับโลกุตตระ ประกอบด้วย องค์ธรรม 8 ประการ (ปริยัติ) การปฏิบัติ 3 ประการ (ปฏิบัติ) และผลจากการปฏิบัติ 1 ประการ (ปฏิเวธ) โดยบางองค์ธรรมสามารถรวมจัดอยู่ในหมวดธรรมเดียวกันได้ 2. กระบวนการพัฒนาผู้สูงอายุตามแนวพุทธศาสตร์ จากการศึกษารายกรณี 6 กรณี พบว่า 1) การหล่อหลอมการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ อาศัยปัจจัยภายใน คือ บุพเพกตปุญญตา ความสนใจและนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง และอาศัยปัจจัยภายนอก คือ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ครอบครัวและผู้สอน 2) ขั้นตอนการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ เริ่มจากการศึกษาพระปริยัติธรรม แล้วจึงนำไปปฏิบัติตามหลักการที่ได้ศึกษามา ทำให้เกิดผลจากการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป 3) หลักธรรมสำหรับผู้สูงอายุ จากการศึกษากรณี พบว่า มีองค์ธรรม 30 ประการ (ปริยัติ) โดยมีแกนนำและจุดร่วมที่สำคัญคือสติสัมปชัญญะ มีการปฏิบัติ 20 ประการ (ปฏิบัติ) และมีผลจากการปฏิบัติ (ปฏิเวธ) อันเป็นคุณค่าภายนอกและคุณค่าภายใน รวม 6 ด้าน นอกจากนี้ พบว่าหลักธรรมสำหรับผู้สูงอายุจากการศึกษาเอกสารสอดคล้องกับการศึกษารายกรณี โดยมีประเด็นเพิ่มเติมในรายละเอียดปลีกย่อย 3. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุ พบว่า วิธีการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาผู้สูงอายุทั้งด้านพฤติกรรม จิตใจและปัญญา โดยการบรรลุเป้าหมายอยู่ภายใต้เงื่อนไขการเรียนรู้ทั้งปัจจัยภายใน อันได้แก่ บุพเพกตปุญญตา ความสนใจและนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง และปัจจัยภายนอก อันได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ครอบครัว และผู้สอน วิธีการเรียนรู้ดังกล่าวมีความหลากหลาย ได้แก่ จากผู้รู้ จากการปฏิบัติด้วยตนเอง จากการสนทนาธรรม จากการเข้าร่วมฝึกอบรม จากการเป็นผู้ช่วยผู้รู้ในการฝึกอบรม จากการได้รับการสั่งสอนตักเตือน จากการได้รับฟังหรืออ่านข้อความหรือเรื่องเล่าที่ประทับใจ ส่วนกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ และสังคม โดยกิจกรรมหนึ่งๆ ใช้วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายได้ กิจกรรมทั้งสามด้านต้องสอดแทรกหลักธรรมสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวม ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ รูปบบการเรียนรู้ดังกล่าวควรดำเนินการในรูปแบบของ “ศูนย์พัฒนาและบริการผู้สูงอายุ” ตามแนวคิดพุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาจิตใจของผู้สูงอายุเป็นหลัก โดยจัดโครงการและกิจกรรมที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านวิชาการ การวิจัยและการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุ
Other Abstract: This thesis aimed to 1) analyze dhamma principles for the elderly, 2) analyze value and process of the elderly development according to the Buddhist way 3) develop a Bhuddhist learning model for the elderly development by using the qualitative research methods: document studies (67 items), 6 case-studies, observations (participation and non-participation), in-depth interviews including the elderly group discussion of 7 persons who are the Presidents of the Elderly Clubs; and examine the development of the Buddhist learning model for developing the elderly by a group of 7 scholars and expertises. The research result was shown that 1.The overall dhamma principles for the elderly, the finding from document studies according to the Buddhist way for the elderly development, Pariyatti (28 categories), Patipatti (12 practices) and Pativedha (2 external values: physical and social; and 4 internal values: mind, emotion, wisdom and apperception). In consideration of the dhamma principles for the elderly, which were divided into 2 levels (Logiya and Logutara), Logiya level consisted of 17 categories (Pariyatti), 3 practices (Patipatti) and 2 practicing results (Pativedha); and Logutara level consisted of 8 categories (Pariyatti), 3 practices (patipatti) and 1 practicing results (Pativedha). Some of the dhamma principles could not be categorized separately. 2.The process in the elderly development according to the Buddhist way, from 6 separate studies, was found that 1) The learning would according to the Buddhist way was depended on the internal factor: Buphphekatapunyata (interest and self practice) and depended on the external factor: suitable environment, family and teachers. 2) Steps in learning according to the Buddhist way: to start from studying the Buddhist doctrine (Phra Pariyattidhamma) and take it into practice in order to get the right results. 3) The dhamma doctrine for the elderly, from this study, was found that there were 29 categories (Pariyatti). Apperception (Satisampachanya) was the leading core and collective essence. There were 20 practices (Patipatti) and practicing results (Pativedha) which were 6 categories of external value and internal value. Futhermore the findings of dhamma principles for the elderly, from document studies, were in accordance with the case studies which there were additional issues and details. 3.The development of learning model according to the Buddhist way for developing the elderly was found that the learning means and the learning activities were the important tools leading to the objectives of the elderly development of behavior, mind and wisdom. The objectives achievement was under the learning conditions: internal factors such as Buphphekatapunyata (interest and self practice) and external factors such as the suitable environment, family and teachers. The mentioned learning model should work in the type of “The Elderly development and service Center” according to the Buddhist way emphasizing the main development of the elderly mind by continuing the various projects and activities arrangement: scholars, researches and knowledge dissimination related to the elderly.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26569
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1917
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1917
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tipwadee_lu.pdf6.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.