Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26742
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สถาพร กวิตานนท์ | - |
dc.contributor.advisor | ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ | - |
dc.contributor.author | สำรวย กิตติลาภานนท์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-28T11:17:35Z | - |
dc.date.available | 2012-11-28T11:17:35Z | - |
dc.date.issued | 2523 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26742 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 | en |
dc.description.abstract | การรวมกลุ่มของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่น้อยราย เพื่อกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์ให้เป็นราคาเดียวกัน ตามปกติจะมีลักษณะเป็นการผูกขาดเพื่อประโยชน์ต่อฝ่ายผู้ผลิตโดยตรงแต่ฝ่ายเดียว แต่การรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมกระสอบไทยเกิดขึ้นเนื่องจากกำลังการผลิตภายในประเทศสามารถผลิตได้เกินความต้องการใช้ในประเทศ และเหลือส่งออกขายต่างประเทศได้อีกมาก ราคาขายต่างประเทศต่ำกว่าต้นทุนการผลิตในประเทศ จึงเกิดการแข่งขันตัดราคากันจนต่ำกว่าต้นทุนการผลิตโรงงานทุก ๆ โรงงานต่างขาดทุนและจะต้องปิดกิจการในโอกาสต่อไป หากดำเนินการภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ กลุ่มโรงงานจึงหาวิธีการป้องกันการแข่งขันตัดราคา โดยจัดตั้งบริษัทกลางขึ้นเพื่อทำการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่ผู้เดียว ในราคาที่กลุ่มโรงงานกำหนดภายใต้การควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ โดยมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทค้ากระสอบสยาม จำกัด เป็นผู้ขายและจัดสรรโควต้าการขายให้แก่แต่ละโรงงานตามโควต้าที่ไดตกลงกันไว้ กลุ่มโรงงานได้ร่วมกันกำหนดมาตรการ ข้อบังคับ บทลงโทษ เพื่อใช้ ปฏิบัติร่วมกันโดยมีนายตรวจและนักวิชาการของสมาคมอุตสาหกรรมทอกะสอบไทยเป็นผู้ตรวจสอบควบคุมการปฏิบัติให้เป็นไปตามมติของกลุ่มโรงงาน โดยกลุ่มโรงงานได้จัดตั้งสมาคมอุตสาหกรรมทอกระสอบไทยเพื่อดำเนินงานด้านส่งเสริมวิชาการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมกระสอบ โครงการส่งเสริมชาวไร่ปอให้ปลูกปอให้ได้ปริมาณและคุณภาพดี และยังมีการประกันราคาปอเพื่อส่งเสริมให้ชาวไร่ไม่หันไปผลิตพืชอื่น และชาวไร่ได้รายได้แน่นอน การร่วมมือรวมกลุ่มถือได้ว่าได้ผลมาระยะหนึ่ง โดยมีปัญหาบ้างแต่ก็ยังสมัครสมานกันอยู่ ต่อมาเมื่อมีการขยายโรงงานและตั้งโรงงานใหม่เพิ่มขึ้น ผลผลิตเพิ่มมากยิ่งขึ้นประกอบกับภาวะตลาดต่างประเทศไม่อำนวยให้ ทำให้เกิดปัญหาผลผลิตค้างสต็อกมาก ความขัดแย้งในส่วนแบ่งที่ได้รับจึงเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งเกิดการแตกแยกกันในที่สุด ในการศึกษาปัญหาการจัดการของกลุ่มโรงงานทอกระสอบไทย ได้ศึกษาจากเอกสารรายงานการประชุมของกลุ่มโรงงานของสมาคมอุตสาหกรรมทอกระสอบไทยและมติที่ประชุม บริษัทค้ากระสอบสยาม จำกัด ตลอดจนรายงานเฉพาะเรื่องและสรุปรายงานเอกสารโต้ตอบ รายงานผลการดำเนินงานของบริษัทค้ากระสอบสยาม จำกัด และสมาคมอุตสาหกรรมทอกระสอบไทย สัมภาษณ์กรรมการผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของโรงงานต่าง ๆ 13 โรงงาน ในจำนวนทั้งหมด 14 โรงงาน จากการศึกษาทำให้ทราบว่า การรวมกลุ่มนั้นมิใช่จะรวมกันได้ง่าย ๆ ต้องอาศัยความสมัครสมานเต็มใจเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเล็งเห็นผลระยะยาวพอสมควร มิฉะนั้นจะรวมกันได้ไม่นาน เพราะต่างฝ่ายต่างต้องการรักษาผลประโยชน์ส่วนตน ถึงแม้จะมีมาตรการที่ดี เช่นมีนายตรวจ และนักวิชาการ ทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าไปควบคุมผลผลิต การขนส่งผลิตภัณฑ์ออกนอกโรงงานและผลิตภัณฑ์คงเหลือซึ่งช่วยให้มาตรการควบคุมได้ผล ควบคุมให้ทุกโรงงานปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อตกลง แต่มาตรการลงโทษ ผู้ปฏิบัติผิดกติกานั้น ที่แล้วมาไม่ทำให้ผู้ฝ่าฝืนเกิดความเกรงกลัว ควรที่การรวมกลุ่มครั้งต่อไปจะได้มีการปรับปรุงแก้ไขในเรื่องนี้ให้ได้ผลจริงจัง โดยควรกำหนดให้มีอนุญาโตตุลากร หรือแต่งตั้งกรรมการขึ้นมาโดยเฉพาะกรณี โดยผู้กระทำผิดไม่มีส่วนร่วมตัดสิน เนื่องจากการรวมกลุ่มขายภายในประเทศเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้า และป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 แต่การรวมกลุ่มสำหรับจำหน่ายต่างประเทศ กฎหมายเปิดช่องทางให้ทำได้ และโดยที่ปริมาณการจำหน่ายต่างประเทศมีจำนวนเกินกว่าครึ่งของผลผลิตทั้งสิ้น ซึ่งการรวมกลุ่มจะเป็นประโยชน์ต่อโรงงานต่าง ๆ ตลอดจนต่อประเทศด้วย จึงน่าจะได้นำวิธีการรวมกลุ่มที่เคยทำแล้วในประเทศมาปรับใช้กับการรวมกลุ่มเพื่อขายต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมด้านเทคโนโลยี่การผลิต การลดต้นทุนและการรักษาคุณภาพและการส่งเสริมชาวไร่ปอด้วย ทางรัฐบาลควรควบคุมการขายหรือเพิ่มโรงงานโดนการสอดส่องของสมาคมอุตสาหกรรมทอกระสอบไทย และมีมาตรการที่จะปรับโทษ เพราะที่ผ่านมาการขยายหรือสร้างเพิ่ม ได้เกิดปัญหาต่อการรวมกลุ่มและต่อประเทศชาติในกรณีตลาดต่างประเทศไม่อำนวยให้ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องดูปริมาณความเหมาะสมของตลาดด้วย ถ้ารัฐบาลให้ความสนใจช่วยเหลือสนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อส่งออก อุตสาหกรรมนี้จะเป็นอุตสาหกรรมตัวอย่าง และจะยิ่งสามารถอยู่ต่อไปได้อีกนาน ในขณะที่ใยเทียมจากน้ำมันซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของผลิตภัณฑ์ปอนั้น มีปัญหาเพิ่มขึ้น นอกจากปัญหาราคาน้ำมันเพิ่มและขาดแคลนแล้ว ยังมีปัญหาต่อความเป็นอยู่ของชาวโลก คือไม่ละลายตามธรรมชาติ ใช้แล้วทำให้ท่อน้ำอุดตัน มีปัญหาต่อการกำจัดขยะ มีปฏิกิริยาทำให้เกิดพิษแก่ร่างกาย และในขณะนี้นักธุรกิจของโลกกำลังตื่นตัวกับเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ในด้านมลภาวะ น่าจะเป็นโอกาสของผลิตภัณฑ์ปอที่จะเข้าไปแทนได้ | - |
dc.description.abstractalternative | Generally, the cooperation of industrial factories is for the monopoly price but not in the case of Thai Industrial Jute Mills’ Association. Since the supply of products exceeds the domestic demands also the export prices is lower than the cost of production. Most of the jute mills finally become insolvent and have to close down because of the lower export prices. All of them need to sell in the home market because of the higer price. This is why they compete with each other in regard to the prices. The Ministry of Commerce tried to regulate the selling quotas and the standard of the jute, set limits, and arrange punitive measures for deviation. The Thai Industrial Jute Mills’ Association consists of inspectors and supervisors whose responsibility is to enforce the regulations. In addition, they should promote the welfare of the Jute industrial workers as regards to job security, benefits and income. The project will also be responsible for the promotion of good quality and quantity of jute production. Initially, the Cooperation of the Industrial Jute Mills resulted a profit, but later could not maintain it due to the increase of new plants and the unstable foreign market situation. Finally the cooperative group of the industry fell into dispute, and negotiations broke down as a result of their overproduction. The source materials of this study of the problem are the reports’ of the meetings of the Thai Industrial Jute Mill Association, summary reports of some specific problems, and publications of the correspondence of the Thai Industrial Jute Mill Association, including interviews of the managers and executives of 13 out of the total 14 various industrial jute mills. In conclusion, it seems that there are a great deal of problems associated with the cooperative group. In spite of having expert advisers and supervisions from the Ministry of Commerce to coordinate and regulate the selling quotas and operations of the mill and to negotiate agreements, the punitive measures are not, as a rule, effective . However this situation should be put into practice. The formation of manufactures’ association for selling jute in the home market is illegal as it is against the act B.E. 2522 which price control and monopoly. There is a loop hole in the Act which exempt the export price fixing of jute which accounts for more than half of the industry profits. There should be cooperative group of the various jute mills to promote exports and production technology by spending some of their capital to contribute to the welfare of this workers and to improve the quality, and quantity of their products. The Thai Industrial Jute Mills’ Association should regulate the numbers and sized of mills and before punitive measures. It should also participate in the promotion of cooperative exporting group. It is hoped that this association will be an effective mechanism and its product will outlast its main competitor, the fibre-glass substitute. Many problems have been encountered in the use of fibre-glass as, beside the shortage of the oil fuel and higher cost of production, fibre-glass is indissoluble and easily blocks up funnels. Nowadays business is sensitive to its social responsibilities for health and environment. Jute then would gain adventage in competing with the fibre-glass. | - |
dc.format.extent | 523467 bytes | - |
dc.format.extent | 421601 bytes | - |
dc.format.extent | 990548 bytes | - |
dc.format.extent | 2945725 bytes | - |
dc.format.extent | 1471452 bytes | - |
dc.format.extent | 920581 bytes | - |
dc.format.extent | 2117829 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรงงาน -- การจัดการ | - |
dc.subject | การบริหารธุรกิจ | - |
dc.subject | กระสอบ | - |
dc.title | การศึกษาปัญหาการจัดการของกลุ่มโรงงานทอกระสอบไทย | en |
dc.title.alternative | A study of management problems of the Thai jute mills' group | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บัญชี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sumruey_Ki_front.pdf | 511.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumruey_Ki_ch1.pdf | 411.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumruey_Ki_ch2.pdf | 967.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumruey_Ki_ch3.pdf | 2.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumruey_Ki_ch4.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumruey_Ki_ch5.pdf | 899 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumruey_Ki_back.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.