Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2725
Title: | กวีนิพนธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 |
Other Titles: | The poetry about the October 14, 1973 and October 6, 1976 events |
Authors: | วริศรา อนันตโท, 2522- |
Advisors: | ใกล้รุ่ง อามระดิษ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | กวีนิพนธ์ไทย |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษากวีนิพนธ์ขนาดสั้นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ในด้านรูปแบบเนื้อหา กลวิธีทางวรรณศิลป์และบทบาททางวรรณกรรม สังคม และการเมืองผู้วิจัยได้วิเคราะห์บทกวีจำนวน 227 บทซึ่งแต่งขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2545 พบว่าบทกวีส่วนใหญ่มีรูปแบบคำประพันธ์ที่สืบทอดขนบโบราณได้แก่ กลอน กาพย์ โคลงและ ฉันท์ นอกจากนี้มีการสร้างสรรค์ใหม่โดยนำคำประพันธ์ต่างชนิดมาผสมผสานกันรวมถึงการนำคำประพันธ์เพลงพื้นบ้านและกลอนเปล่ามานำเสนอเนื้อหาทางการเมืองซึ่งถือเป็นลักษณะเด่นของกวีนิพนธ์เกี่ยวกับเหตุการณ์เดือนตุลาคม ในด้านเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เนื้อหาที่พบมากที่สุดคือเนื้อหาที่แสดงเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐปราบปรามนิสิตนักศึกษาและประชาชนด้วยความรุนแรง โดยแฝงแนวคิดต่างๆ ได้แก่แนวคิดที่ว่าการเสียสละของนิสิตนักศึกษาและประชาชนในเหตุการณ์เดือนตุลาคมเป็นการกระทำที่น่ายกย่อง แนวคิดที่ปลุกเร้าให้ประชาชนต่อสู้เพื่อรักษาสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยเช่นเดียวกับนิสิตนักศึกษาที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เดือนตุลาคม แนวคิดที่ว่าเหตุการณ์เดือนตุลาคมทั้งสองเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่โหดร้ายแสดงให้เห็นว่ารัฐใช้ความรุนแรงและใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม แนวคิดเกี่ยวกับคนหลงลืมเหตุการณ์เดือนตุลาคมและไม่มีใครสืบทอดอุดมการณ์เนื่องจากสภาพสังคมและการเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป และแนวคิดการเรียกร้องความเป็นธรรมในด้านต่างๆ ให้กับผู้ที่สูญเสียชีวิตในเหตุการณ์เดือนตุลาคม ในด้านกลวิธีทางวรรณศิลป์ พบว่า กวีนิพนธ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 มีลักษณะการสืบทอดขนบวรรณศิลป์ของบทกวีในยุค 2490 โดยกวีที่มีอิทธิพลสำคัญได้แก่ จิตร ภูมิศักดิ์ อัศนีย์ พลจันทร อุชเชนี ทวีปวร และ เปลื้อง วรรณศรี ในขณะเดียวกันกวีนิพนธ์เกี่ยวกับเหตุการณ์เดือนตุลาคมมีการสร้างสรรค์ใหม่ในด้านการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์เดือนตุลาทั้งสองเหตุการณ์ กวีนิพนธ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 มีบทบาทหน้าที่ต่อวงวรรณกรรมคือเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นกวีนิพนธ์เพื่อชีวิต อีกทั้งยังแสดงให้เห็นคุณค่าในเชิงมนุษยนิยมของวรรณกรรมเพื่อชีวิตในแง่ที่แสดงให้เห็นการต่อสู้เพื่อความชอบธรรมของประชาชนและต่อต้านการใช้ความรุนแรงและความอยุติธรรมต่างๆ นอกจากนี้กวีนิพนธ์เกี่ยวกับเหตุการณ์เดือนตุลาคมยังมีบทบาทในด้านสังคมและการเมือง คือ บทบาทในการสถาปนาเหตุการณ์เดือนตุลาคมทั้งสองเหตุการณ์ให้เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญของเมืองไทยและบทบาทในการยกย่องผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เดือนตุลาคมให้เป็นวีรชนของชาติ ทั้งยังมีบทบาทในการปลุกเร้าการต่อสู้โดยการนำกวีนิพนธ์เกี่ยวกับเหตุการณ์เดือนตุลาคมไปใส่ทำนองเป็นบทเพลงด้วย |
Other Abstract: | This thesis aims at analyse short poetry about the October 14, 1973 and October 6, 1976 events in terms of the form, content literary techniques as well as its literary, social and political roles. In this thesis 227 poems composed between 1973 and 2002 were analysed. It is found that most of the poems are composed in traditional forms, namely Klon, Kap, Klong and Chan. Furthermore, some of them were composed in new forms by mixing different kinds of traditional prosody together. The use of folk prosodies and blank verse to present political contents is also an outstanding feature. Concerning the contents of poetry about the October 14, 1973 and October 6, 1976 events, the contents found most often deal with the situations in which the government authorities violently suppressed the revolt of students. The poetry about the October 14, 1973 and October 6, 1976 events have several themes; the sacrifices of the students should be honored, the people should continue to fight for their right, freedom and democracy as the students in the October events had done before, the two October events were cruel events showing that the government used violence and unjustified power, people forgot the October events due to the changed society, and justice in several aspects is demanded for those who died in the October events. As for the literary techniques, it is found that the poets follow the literary tradition of social and political poems of 1940, in particular the writing techniques of Chit Bhumisak, Asanee Ponlachan, Utchenee, Taweepworn and Ploeng Wanasri. The specific feature of the poetry about October 14, 1973 and October 6, 1976 events includes the creation of new symbols about the October events. In terms of its literary role, the poetry about October 14, 1973 and October 6, 1976 events confirms the meaning of the literature for life. It also shows the humanistic value of literature for life by portraying the fight of people for justice and their protest of violence and unfairness. In addition, the poetry about October 14, 1973 and October 6, 1976 events play a significant social and political roles by establishing these two October events as the important political events of Thailand and making the students who died in the two events the national heroes. The poetry is also used as lyrics of songs composed to stimulate people to continue to fight. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2725 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.40 |
ISBN: | 9741765096 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.40 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
warisara.pdf | 7.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.