Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27310
Title: | การใช้และความต้องการใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ |
Other Titles: | Web 2.0 technology uses and needs of state university libraries |
Authors: | รัฐธีร์ ปภัสสุรีย์โชติ |
Advisors: | อรนุช เศวตรัตนเสถียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา -- ไทย เว็บไซต์ห้องสมุด เว็บ 2.0 สื่อสังคมออนไลน์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ -- การประยุกต์ใช้ในห้องสมุด -- ไทย ห้องสมุดกับผู้อ่าน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในด้านวัตถุประสงค์ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ ประเภทของเทคโนโลยีที่ใช้และงานที่ใช้ การจัดการ และปัญหาในการใช้ รวมทั้งความต้องการใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในด้านประเภทของเทคโนโลยีเว็บ 2.0 ที่ต้องการใช้ และงานที่ต้องการใช้ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อำนวยการห้องสมุด / หัวหน้าห้องสมุด / บรรณารักษ์ผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีเว็บ 2.0 ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 77 แห่ง แห่งละ 1 คน รวมเป็น 77 คน ผลการศึกษาพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 โดยห้องสมุดจำนวนมากที่สุดใช้เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและกิจกรรมห้องสมุด แจ้งข่าวสารต่าง ๆ ภายในองค์กร และจัดการความรู้ขององค์กร ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ขีดความสามารถของเทคโนโลยี และประโยชน์ในการใช้งาน เทคโนโลยีเว็บ 2.0 ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐจำนวนมากที่สุดใช้ คือ เทคโนโลยีการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันที โดยใช้ในงานติดต่อสื่อสาร ด้านการจัดการพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐส่วนใหญ่ไม่กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการใช้ ไม่มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการใช้ และไม่มีการประเมินการใช้ทั้งโดยผู้ใช้ห้องสมุด และโดยบุคลากรห้องสมุด แต่มีการประชาสัมพันธ์การใช้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร สำหรับปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐประสบซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บุคลากรขาดความรู้และทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีเว็บ 2.0 ทั้งนี้ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐจำนวนมากที่สุด ต้องการใช้เทคโนโลยีการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีและเทคโนโลยีบล็อก โดยต้องการใช้เทคโนโลยีการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีในบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า และต้องการใช้เทคโนโลยีบล็อกในบริการข่าวสารทันสมัย |
Other Abstract: | This study was a survey research. The objectives of the research was to study web 2.0 technology uses of state university libraries, in terms of objectives, factors affecting the decision making to use web 2.0 technology, types of web 2.0 technology and work that were used, management of the uses and problems encountered as well as web 2.0 technology needs of state university libraries, in terms of types of web 2.0 technology and work that were needed to use. Questionnaires were used to collect data from 77 directors / heads / librarians that were responsible for web 2.0 uses in 77 state university libraries. The research results are as follows: the majority of state university libraries use web 2.0 technology. Most of them use it for dissemination of library news and activities, announcement in organization, and knowledge management. Capability and usefulness of technology are the factors receiving the highest mean scores for factors affecting the decision making to use web 2.0 technology. Most state university libraries use instant messaging for communication. In regard to management of the uses, the majority of state university libraries do not have the policy relevant to web 2.0 technology uses, do not allocate any budget for the uses, and do not evaluate the uses, both by library users and library staff. However, they promote the uses both externally and internally. Concerning the problems the state university libraries encounter, the problem which receives the highest mean scores is that library staff are lack of the knowledge and skills on web 2.0 technology. Moreover, most state university libraries need to use instant messaging and blog. They need to use instant messaging for reference service and need to use blog for current awareness service. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27310 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1963 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1963 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rathtee_pa.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.