Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2731
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุมิตรา อังวัฒนกุล-
dc.contributor.authorภาสิณี ศรหิรัญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชามัธยมศึกษา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาภาษาอังกฤษ-
dc.date.accessioned2006-09-22T06:20:03Z-
dc.date.available2006-09-22T06:20:03Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2731-
dc.description.abstracten
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องความสามารถในการใช้ภาษาไทยของเด็กอายุ 2-3 ขวบนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาความสามารถในด้านการออกเสียง การใช้คำศัพท์ และการสร้างประโยค การศึกษาถึงความสามารถที่จะเข้าใจความหมาย ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของเด็กในวัย 2-3 ขวบ ผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างประชากร ซึ่งเป็นเด็กอายุ 2-3 ขวบ ในเดือนกันยายน 2525 โดยไม่จำกัดเพศ ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 20 สุ่ม บันทึกคำสนทนาของตัวอย่างประชากรในช่วงเวลาต่างๆ กัน ลงในเทปบันทึกเสียงคนละประมารณ 5 ชั่วโมง นำเทปคำสนทนาดังกล่าวมาถ่ายเทปตามข้อความที่สนทนาโดยตลอด ตรวจสอบความถูกต้องในการถ่ายเทปอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นวิเคราะห์ความสามารถในการออกเสียง การใช้คำศัพท์ และการสร้างประโยคของตัวอย่างประชากร โดยการตรวจสอบการปรากฎและการไม่ปรากฏของการใช้ภาษาในด้านต่างๆ ดังกล่าว แล้วสรุปผลการวิเคราะห์ในรูปตาราง และสรุปความสามารถที่จะเข้าใจความหมายในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในรูปของความเรียง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ในด้านการออกเสียง ตัวอย่างประชากรซึ่งเป็นเด็กอายุ 2-3 ขวบ ส่วนใหญ่สามารถออกเสียง สระเดี่ยว สระผสม และวรรณยุกต์ ในภาษาไทยได้ทุกเสียง และสามารถออกเสียงพยัญชนะต้นได้เกือบครบทุกเสียง ยกเว้นเสียง ส / S / และ ร / r / สำหรับพยัญชนะตัวสะกดส่วนใหญ่ออกได้ทุกเสียง แต่ยังมีบางคนที่ออกเสียงแม่กดเป็นแม่กก และแม่กนเป็นแม่กง ตัวอย่างประชากรส่วนใหญ่ยังไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำได้ นอกจากนี้ยังสามารถออกเสียงเน้นประโยค ทั้งเสียงเน้นปกติ และเสียงเน้นหนักได้ถูกต้อง แต่ยังออกเสียงเน้นหนักพิเศษได้น้อย ส่วนการใช้ช่วงต่อของเสียงในประโยคนั้น ส่วนใหญ่สามารถใช้ช่วงต่อเสียงแนบชิดได้ถูกต้อง ส่วนการใช้ช่วงต่อห่างประเภทเสียงตก และเสียงขึ้นนั้น ส่วนใหญ่ใช้ได้ถูกต้องเช่นกัน แต่ยังใช้ช่วงต่อห่างประเภทคงระดับน้อย 2. ในด้านการใช้คำศัพท์ ตัวอย่างประชากรซึ่งเป็นเด็กอายุ 2-3 ขวบ ส่วนใหญ่สามารถใช้คำศัพท์ 1 และ 2 พยางค์ได้มากที่สุด สามารถใช้คำ 3 และ 4 พยางค์ได้บ้าง แต่มักจะลดพยางค์ลงโดยที่คำใดมี 3 พยางค์ก็จะลดลงเหลือ 2 พยางค์ คำ 4 พยางค์ก็จะลดลงเหลือ 3 พยางค์ สำหรับชนิดของคำที่ใช้ ตัวอย่างประชากรใช้คำนามและคำกริยามากที่สุด คำคุณศัพท์รองลงมา คำกริยาวิเศษณ์ยังใช้กันได้น้อย นอกจากนี้ยังรู้จักใช้คำศัพท์เฉพาะ เช่น คำที่เกี่ยวกับจำนวนนับ คำที่เกี่ยวกับสี คำที่เกี่ยวกับปริมาณ เวลา ลักษณะ และคำนามธรรมได้แต่งยังไม่ค่อยเข้าใจความหมายดีนัก 3. ในด้านรูปประโยค ตัวอย่างประชากรซึ่งเป็นเด็กอายุ 2-3 ขวบ ส่วนใหญ่สามารถใช้รูปประโยคเอกัตถประโยคที่สมบูรณ์ได้ และเริ่มใช้อเนกัตถประโยคมากขึ้น แต่ยังใช้สังกรประโยคได้น้อยมาก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยคบอกเล่า ปฏิเสธ คำถาม และคำสั่งได้ สำหรับการเรียงลำดับคำในประโยค ส่วนใหญ่เรียงได้ถูกต้อง แต่ก็ยังมีบางคนที่เรียงตำแหน่งคำผิดอยู่บ้าง ในด้านการเข้าใจความหมาย ตัวอย่างประชากรซึ่งเป็นเด็กอายุ 2-3 ขวบ ส่วนใหญ่เข้าใจความหมายของคำต่างๆ ที่ใช้ได้ดี สามารถสื่อสารด้วยคำพูดโดยตรง มีการใช้ท่าทางประกอบคำพูดบ้างไม่มากนัก แต่ยังใช้คำประเภทคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ คำกริยาวิเศษณ์ และคำลักษณะนามผิดอยู่บ้าง โดยที่ยังใช้คำในประโยคมากเกินความจำเป็น บางครั้งตัดคำที่จำเป็นออกไป หรือใช้คำโดยที่ยังไม่เข้าใจความหมาย-
dc.description.abstractalternativeen
dc.description.abstractalternativeThe main purpose of this paper is to study the Thai language performance of children aged two to three with respect to pronunciation, vocabulary use, syntax and comprehension abilities for communicative purposes. The subjects consist of twenty children of both sexes aged two to three in September, 1982. Approximately five hours of each subject's conversation were recorded, transcribed, rechecked for accuracy and then analysed in terms of pronunciation ability, vocabulary use and sentence construction. The results are presented in the form of tables and conclusions concerning the comprehension abilities for communicative purposes are made. The results can be summarized, as follows: 1. As for pronunciation, most subjects show the ability to pronounce all simple vowels, diphthongs and tones correctly. They can pronounce all initial consonants, except / S / and / r /. Most of them can also pronounce final consonants with some deviations: some pronounce / -t / as / -k / and / -n / as / -r / while most of them still lack the ability to use consonant clusters. Besides, they are able to use both normal and heavy sentence stresses correctly, but less so for the emphatic stress. Most of them also demonstrate good ability in using the close juncture. As for the open juncture, the falling and rising terminal contours are correctly used whereas the sustained termiral contour is hardly found. 2. In studying vocabulary use, it is found that monc- and di-syllabic words are mostly used. Though some three- and four-syllable words are present in the data, their syllables are often reduced. For example, three-syllable words will be pronounced as consisting of only two syllables and four-syllable words as consisting of only three syllables. As for word classes, the subjects use nouns and verbs the most. Adjectives are used less whereas are scarcely found. In addition, the subjects are able to use special vocabulary, such as words concerning the countries system, color quantity, time physical appearance as well as abstract nouns even though they still cannot fully comprehend their meanings. 3. In syntax, most of the subjects are able to use complete simple sentences; and compound sentences are employed increasingly. However, complex sentences are hardly found. Furthermore, the subjects are able to sue affirmative, negative and interrogative sentences as well as imperatives. With respect to word order, most of them use words in their proper locations, with come exceptions. 4. As for comprehension abilities, most of the subjects can understand the words they use well and can communicate in speech, occasionally with some accompanying gestures. However, some misuse of nouns, verbs, adjectives, adverbs, and classifiers accurs in terms of use of too many words in a sentence, omission of necessary words and use of words without understranding their meaning.-
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนเพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาประสิทธิภาพทางวิชาการ เนื่องในโอกาสฉลอง 700 ปี ลายสือไทยen
dc.format.extent61945411 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาไทย--การใช้ภาษาen
dc.subjectเด็ก--ภาษาen
dc.titleความสามารถในการใช้ภาษาไทยของเด็กอายุ 2-3 ขวบ : รายงานผลการวิจัยen
dc.title.alternativeThai language performance of children aged two to threeen
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.author[email protected]-
dc.email.author[email protected]-
Appears in Collections:Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pasinee(thai).pdf20.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.