Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27489
Title: | การพัฒนารูปแบบการเรียนสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้เพื่อเสริมสร้างจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล |
Other Titles: | Development of an instructional model based on experiential learning approach and inquiry cycle to enhance scientific mind of kindergarteners |
Authors: | ศศิธร จันทมฤก |
Advisors: | จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | การเรียนรู้แบบประสบการณ์ ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ ทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต การศึกษาขั้นอนุบาล |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้เพื่อเสริมสร้างจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียน การสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้เพื่อเสริมสร้างจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล ในการศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือเด็กอนุบาลของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 42 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 21 คน ระยะเวลาในการวิจัย 12 สัปดาห์ เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล 2) แบบประเมินมิติคุณภาพจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ และการประเมินการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนมีหลักการ 4 ประการ คือ 1) การเรียนรู้เกิดขึ้นจากความสงสัย ความอยากรู้อยากเห็นของเด็กอันนำไปสู่การสืบสอบหาความรู้ ก่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถสร้างเป็นความรู้ของตนเอง 2) การเรียนรู้อาศัยประสบการณ์ตรงที่เด็กได้ลงมือกระทำ ได้สำรวจตรวจสอบในแหล่งเรียนรู้ และได้แสวงหาความรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย 3) การเรียนรู้อาศัยประสบการณ์เดิมเพื่อเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่ผ่านการทบทวน ไตร่ตรอง และสะท้อนความคิด นำไปสู่การเรียนรู้เชิงนามธรรมที่ส่งผลต่อความคิดและการปฏิบัติ และ 4) การเรียนรู้อาศัยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ ทักษะ และจิตวิทยาศาสตร์ วัตถุประสงค์ คือ เพื่อเสริมสร้างจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล จัดประสบการณ์ด้วยเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ระดับอนุบาล มีขั้นตอนการจัดประสบการณ์ 7 ขั้น คือ 1) ขั้นสร้างความสงสัย 2) ขั้นสำรวจตรวจสอบ 3) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) ขั้นสะท้อนความคิด 5) ขั้นสร้างความเข้าใจ 6) ขั้นประยุกต์การเรียนรู้ และ 7) ขั้นประเมิน เครื่องมือที่ใช้ประเมินการเรียนรู้ คือ แบบประเมินมิติคุณภาพจิตวิทยาศาสตร์เด็กอนุบาล 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้เพื่อเสริมสร้างจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล ดังนี้ 2.1 เด็กอนุบาลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของจิตวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 เด็กอนุบาลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของจิตวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสามารถเสริมสร้างจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาลได้ |
Other Abstract: | The purposes of this research were to 1) develop an instructional model based on experiential learning approach and inquiry cycle to enhance scientific mind of kindergarteners, and 2) investigate the result of this developed instructional model on scientific mind of kindergarteners implementation. The samples of model implementation were 42 kindergarteners from the demonstration schools of Valaya Alongkorn Rajabhat University under The Royal Patronage, divided into experimental and control group. Each group comprised of 21 kindergarteners. The duration of research was 12 weeks. The research instruments included an observation form and a rubric scoring test of kindergartener’s scientific mind. The data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, ANCOVA and content analysis. The research findings were as follows: 1.The developed instructional model comprised of principles, objectives, content, operational procedures and learning evaluation. There were 4 principles, 1) learning based on curiosity of kindergarteners leading to knowledge inquiry built up understanding and knowledge constructing, 2) learning relied on concrete experiences, exploring and seeking knowledge in various ways, 3) learning relied on the linkage of prior and new experiences through processes of revising and reflecting, led to abstract learning that effect children’s thought and practices, and 4) learning relied on interrelation between people and environment developed knowledge, skill and scientific mind. The objective of this instructional model was to enhance scientific mind of kindergarteners. The content was science at the kindergarten level. The operational procedures consisted of 7 steps which were; 1) questioning, 2) investigating, 3) learning and sharing, 4) reflecting, 5) building understanding, 6) applying, and 7) assessing. The learning evaluation instrument was a rubric scoring test of kindergartener’s scientific mind. 2.the result of this developed instructional model implementation were as follows: 2.1 After the experiment, the post-test scores on scientific mind of the experimental group were higher than the pre-test scores at the .05 level of significance. 2.2 After the experiment, the scores on scientific mind of the experimental group were higher than the control group at the .05 level of significance. In conclusion, this developed instructional model enhanced scientific mind of kindergarteners. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษาปฐมวัย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27489 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1988 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1988 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sasithorn_ch.pdf | 2.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.