Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/277
Title: | การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล |
Other Titles: | The development of an instructional process based on a situated learning approach to enhance nursing professional competencies of nursing students |
Authors: | เพลินตา พรหมบัวศรี, 2500- |
Advisors: | พิมพันธ์ เดชะคุปต์ วีณา จีระแพทย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การเรียนรู้แบบประสบการณ์ การพยาบาล--การศึกษาและการสอน ระบบการเรียนการสอน |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล และประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล ความสามารถทางวิชาชีพการพยาบาล ประกอบด้วย ความรู้ทางการพยาบาล ทักษะการใช้กระบวนการพยาบาล และเจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา ดำเนินการโดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล และแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ นำข้อมูลที่ได้มาสร้างกระบวนการเรียนการสอน โดยการสรุปเงื่อนไขการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ และปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนตามวงจร PDCA จนได้กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ ที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนทางการพยาบาล และการประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี จำนวน 60 คน จับคู่โดยใช้คะแนนเฉลี่ยสะสมที่มีคะแนนใกล้เคียงกัน แล้วสุ่มเป็นกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการสอนโดยกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนแบบปกติ ระยะเวลาในการทดลอง 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบความรู้ทางการพยาบาล แบบสอบทักษะการใช้กระบวนการพยาบาล (แบบสอบทางคลินิกเชิงโครงสร้างแบบปรนัย) แบบวัดเจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล ตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงได้ 0.81,0.72 และ 0.90 ตามลำดับ และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้บันทึกการเรียนรู้ มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ การทดสอบทีและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 9 ขั้นคือ 1) ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหาในสถานการณ์จริง 2) ขั้นระบุปัญหา 3) ขั้นเสนอแนวทางการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย 4) ขั้นเลือกแนวทางการแก้ปัญหา 5) ขั้นตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 6) ขั้นรวบรวมข้อมูล 7) ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ 8) ขั้นสรุปหลักการและวิธีการแก้ปัญหา และ 9) ขั้นนำหลักการและวิธีการแก้ปัญหาไปใช้ในสถานการณ์ปัญหาใหม่ 2. ผลการประเมินกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ พบว่า 1) นักศึกษาที่เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนการสอน ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ที่พัฒนาขึ้น มีคะแนนความรู้ทางการพยาบาลและทักษะการใช้กระบวนการพยาบาล สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ สูงกว่า 60% 2) นักศึกษาที่เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนการสอน ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์มีคะแนนความรู้ทางการพยาบาล ทักษะการใช้กระบวนการพยาบาลและเจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล สูงกว่านักศึกษาที่เรียนโดยใช้การสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) นักศึกษาที่เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนการสอน ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ที่พัฒนาขึ้น มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพการพยาบาล โดยเฉพาะด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น |
Other Abstract: | To develop an instructional process based on a situated learning approach to enhance nursing professional competencies of nursing students ; and to evaluate the instructional process based on a situated learning approach on nursing professional competencies of nursing students. Nursing professional competencies included nursing knowledge,skill of utilizing nursing process and attitudes towards nursing profession. The instructional process development was guided by the research and development design. The process was conducted by studying nursing instructional management backgroud and concepts of situated learning approach. Studied data were constructed for the instructional process by summarizing conditions of situated learning approach. The quality of instructional process was subsequently improved through PDCA cycle and was final summarized for the instructional process to be compatible with nursing instruction. The evaluating the developed instructional process was studied by using an quasi-experimental research design. Sample were 60 second-year nursing students of Baromarajonani Nursing College of Nonthaburi Province. They were matched by GPA and randomly assigned into experimental group and control group, 30 in each group. The experimental group were instructed through the developed instructional process. The control group were instructed through regular teaching method. The duration of experiment was 16 weeks long. The instruments for collecting data were nursing knowledge test, skill of utilizing nursing process test and attitudes towards nursing profession test. All instruments were tested for content validity and had reliability of 0.81,0.72 and 0.90 and learning journal writing was instrument for collecting qualitative data. Data were analyzed by the percentage of average score, t-test and content analysis. The results of this research were as follows 1.The instructional process based on a situated learning approach consisted of nine steps 1) clarifying problem in authentic situation, 2) identifying problems, 3) presenting variety of problem solving methods, 4) selecting problem solving methods, 5) setting learning objectives, 6) collecting data, 7) exchanging knowledge, 8) summarizing the principles and the problem solving methods and 9) applying the principles and the problem solving methods to solve new problematic situations. 2. The effect of evaluating the instructional process based on a situated learning approach revealed that 1) the average score of nursing knowledge and skill of utilizing nursing process of the nursing students learning through the instructional process was higher than 60% which was above the criterion score and 2) the nursing knowledge, skill of utilizing nursing process and attitudes towards nursing profession of the nursing students learning through the instructional process was higher than those learning through the traditional instruction at a significant level of 0.05 and 3) the nursing students learning through the instructional process had good attitudes towards nursing profession especially part of relationship with the others. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/277 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.637 |
ISBN: | 9741731736 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.637 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Plernta.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.