Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28155
Title: | กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน |
Other Titles: | Strategies for the development of moral leadership for private school administrators |
Authors: | กมลทิพย์ ทองกำแหง |
Advisors: | ปองสิน วิเศษศิริ ศิริเดช สุชีวะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ภาวะผู้นำ ผู้บริหารโรงเรียน จริยธรรมในการทำงาน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม สำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน และ 3) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม โดยเทคนิคเดลฟายจากการสอบถามความคิดเห็นจากผู้ทรง คุณวุฒิ จำนวน 17 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่ามัธยฐาน ค่าสัมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่ามัธยฐานและฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำ เชิงจริยธรรม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากร คือ โรงเรียนเอกชนที่สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 4,071 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือโรงเรียน จำนวน 432 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้อำนวยการ จำนวน 432 คน รองผู้อำนวยการ จำนวน 432 คน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระหรือหัวหน้าระดับชั้น จำนวน 432 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าดัชนี ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา กำหนดกลยุทธ์จากการระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน มีการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่นำกลยุทธ์ไปใช้ จำนวน 20 คน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมมี 3 ด้านคือ 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมต่อตนเอง ประกอบด้วย 21 ตัวชี้วัด 2) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน ประกอบด้วย 17 ตัวชี้วัด และ 3) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ต่อวิชาชีพประกอบด้วย 25 ตัวชี้วัด 2. จากองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบ ดังกล่าว สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก ขณะที่สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมต่อวิชาชีพมากเป็นอันดับที่ 1 โดยมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น คิดเป็นร้อยละ 14.54 3. กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน มี 3 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์การนำตนเอง 2) กลยุทธ์การนำผู้อื่น และ 3) กลยุทธ์การนำองค์กร และได้รับการประเมินว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก |
Other Abstract: | The objectives of this study aimed to 1) identify the moral leadership factors of private school administrators, 2) study the current and ideal moral leadership of private school administrators, and 3) construct strategies for the development of moral leadership for private school administrators. Delphi technique through interviewing 17 experts was used to identify the moral leadership factors the data was analyzed by content analysis technique, median, median-mode differences and interquartile range. Quantitative data was collected in order to study the current and ideal of moral leadership and populations used in studying the second and the third objectives were 4,071 private schools, study sample were 432 schools. Data was given by 3 groups of school staff with 432 persons from each group as follows: school directors, deputy directors, and subject-head or level head-teachers and was analyzed by frequency, percentage, average, and Priority Needs Index[subscript modified]. (PNI[subscript modified]) Strategies were constructed by brainstorming technique of 8 experts and were evaluated by 20 experts and stakeholders for their suitability and possibility. The followings were the research results: 1. There were 3 factors identified as moral leadership factors; 1) moral leadership toward oneself which composed of 21 indicators, 2) moral leadership toward others at work which composed of 17 indicators, and 3) moral leadership toward their own professions which composed of 25 indicators. 2. From 3 identified factors above, the current moral leadership was at the high level while the ideal moral leadership was at the highest level. The most needed factor to be developed was the moral leadership toward their own professions which was at PNI[subscript modified] 14.52 percent. 3. There were 3 moral leadership development strategies for private school administrators found; 1) Self-Leading Strategy, 2) Others-Leading Strategy, and 3) Organization-Leading Strategy. These three strategies were evaluated for their suitability and possibility and the result was at the highest level and at the high level, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28155 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1469 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1469 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kamoltip_th.pdf | 4.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.