Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2818
Title: | การตรวจวัดการกระจายของมวลน้ำร้อนที่ปล่อยออกจากโรงไฟฟ้า บริเวณมาบตาพุดจังหวัดระยองด้วยข้อมูลดาวเทียม LANDSAT TM |
Other Titles: | Detection of thermal plume from a power plant at Map Ta Phut, Rayong by LANDSAT TM |
Authors: | จรูญ เลาหเลิศชัย, 2499- |
Advisors: | อัปสรสุดา ศิริพงศ์ สุรชัย รัตนเสริมพงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | Thermal pollution of rivers, lakes, etc Ocean temperature Electric power-plants -- Environmental aspects Landsat satellites |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อุณหภูมิผิวหน้าทะเลที่คำนวณจากข้อมูลดาวเทียมแลนด์แซดทีเอ็ม ประเมินการกระจายของมวลน้ำร้อน (thermal plume) ที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าบริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง ศึกษาข้อมูลดาวเทียมแลนด์แซดทีเอ็ม แบนด์ 6 จำนวน 2 ภาพ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และวันที่ 19 พฤศจิกายน 2543 ซึ่งเป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ค่าอุณหภูมิผิวหน้าทะเล เพื่อศึกษาการกระจายของมวลน้ำร้อนที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าบริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง การศึกษาครั้งนี้ต้องการหาอุณหภูมิผิวหน้าทะเลเท่านั้น ค่าอุณหภูมิผิวหน้าทะเลที่คำนวณจากข้อมูลดาวเทียม ต่ำกว่าข้อมูลภาคสนามประมาณ 10 ํC ซึ่งเกิดขึ้นจากการกระจัดกระจาย และดูดซึมรังสีความร้อนโดยชั้นบรรยากาศ แต่หักแก้ได้โดยใช้วิธีหักแก้เชิงอากาศ (Atmospheric Correction) ด้วย Program Lowtran 7 ในการคำนวณหาค่า Atmospheric Transmittance (t) และ Background Radiance (Ra) ผลการศึกษา วันที่ 2 พฤษภาคม 2543 อุณหภูมิผิวหน้าทะเลที่คำนวณจากข้อมูลดาวเทียมสูงกว่าข้อมูลภาคสนาม 0.8 องศาเซลเซียส และวันที่ 19 พฤศจิกายน 2543 อุณหภูมิผิวหน้าทะเลที่คำนวณจากข้อมูลดาวเทียมต่ำกว่าข้อมูลภาคสนาม 0.2 ํC สามารถหารูปแบบการกระจายของมวลน้ำร้อนที่ปล่อยออกจากโรงไฟฟ้า น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงแผ่ออกไปไม่ไกล อิทธิพลของ น้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำ และลม มีผลต่อการแพร่กระจายของมวลน้ำร้อน ปริมาณน้ำร้อนที่ปล่อยออกมาไม่ไกล และสลายตัวอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นว่าน้ำร้อนที่ปล่อยออกจาก โรงไฟฟ้าบริเวณมาบตาพุดจังหวัดระยอง ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด |
Other Abstract: | Satellite data from Landsat TM were used to derive the sea surface temperature distributions in coastal waters and thermal plume from Map Ta Phut, Rayong Power Plant. Landsat TM band 6 data acquired on 2 May 2000 in southwest monsoon season and on 19 November 2000 in northeast monsoon were compared to ground truth temperatures measured at the same time. Landsat TM band 5 data were used to identify locations of thermal pixels containing only water, no land. The sea surface temperature data from Landsat TM band 6 were lower than the sea truth data approximately 10 ํC. This is because the scattering and absorption in the atmosphere.However, after using Lowtran 7 adjustments for atmospheric efflects which produced corrected sea surface radiances. After converting the SST were lower 0.8 ํC than the sea truth data on 2 May 2000 and higher 0.2 ํC than the sea truth data on 19 November 2000. A contour plot was produced that compared power plant plume temperature with those of the sea. It is concluded that Landsat can provide good estimates of temperature of the coastal power plant thermal plume. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์ทางทะเล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2818 |
ISBN: | 9747568724 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Charoon.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.