Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28975
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | รุ่งนภา พิตรปรีชา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-02-20T03:16:30Z | - |
dc.date.available | 2013-02-20T03:16:30Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28975 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง สถานภาพการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย นี้เป็นงานวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย เพื่อทราบสัดส่วนการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยตามแม่แบบงานประชาสัมพันธ์ 4 แบบ ของ Grunig คือ 1) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร (Press Agentry/Publicity) 2) ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ (Public Information) 3) การสื่อสารสองทางแบบอสมมาตร (The Two-way Asymmetric Model) และ 4) การสื่อสารสองทางแบบสมมาตร (The Two-way Symmetric Model) โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างจากองค์กรเอกชน และหน่วยงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ รวม 24 ราย และการสำรวจด้วยแบบสอบถามจากองค์กรเอกชน หน่วยงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร รวม 182 ราย ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกและผลการสำรวจ พบว่า หน่วยงานประเภทต่าง ๆมีการใช้แม่แบบงานประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบแบบผสมผสาน โดยผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า องค์กรเอกชนใช้รูปแบบที่ 4 มากที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบที่ 3 และ 2 หน่วยงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรใช้รูปแบบที่ 2 มากที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบที่ 4 และ 3 ส่วนรูปแบบที่ 1 นั้นหน่วยงานประเภทต่าง ๆ มีการใช้น้อยที่สุด นอกจากนี้องค์กรเอกชนยังมีการใช้รูปแบบที่ 3 และ 4 มากกว่าหน่วยงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า องค์กรเอกชนจะคำนึงถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ โดยการทำให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ด้วยการแสวงหาข้อมูล และวิธีการที่จะสานสัมพันธ์ดังกล่าวไว้ ทั้งจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย และการทำวิจัย อีกทั้งยังมีการใช้การโน้มน้าวใจเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดทัศนคติที่ดีและปฏิบัติมากกว่าหน่วยงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในขณะที่หน่วยงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร มุ่งเน้นที่การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการยอมรับและปฏิบัติตามมากกว่าการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน และการโน้มน้าวใจ ทั้งนี้อาจสืบเนื่องจากองค์กรเอกชนต้องอยู่ในบริบทของการแข่งขัน และต้องคำนึงถึงการลงทุนและผลกำไรที่ต้องคุ้มค่า อีกทั้งการสร้างความพึงพอใจให้กับทุกฝ่ายย่อมนำมาซึ่งการยอมรับและสนับสนุนองค์กร/ตราสินค้า | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research is to study the professional practice of public relations in Thailand using James E. Grunig’s four models of public relations as the conceptual framework. The results of this research provide a clearer understanding of the status of public relations practice based on : 1. The press agent/publicity model, 2. The public-information model, 3. The two-way asymmetric model, 4. The two-way symmetric model. For qualitative research, key informants were recruited among 24 PR practitioners and the survey samples for quantitative research were 182 PR practitioners from the private and public sectors including non-profit organizations. The study has shown that public relations practitioners in each type of organization in Thailand have more or less practiced every stage of the 4 public relations model. In the private sector, the two-way symmetric model was most practiced, followed by the two-way asymmetric model and the public-information model respectively. In the government sector and non-profit organization, the public-information model was most practiced, followed by the two-way symmetric model and the two-way asymmetric model respectively. The press agent/publicity model was practiced least in every sector. Moreover, the two-way asymmetric and the two-way symmetric models were practiced more in the private sector than in the government sector, including state enterprises, demonstrating that the private sector is more concerned about establishing and maintaining a good relationship between an organization and its stakeholders in terms of mutual satisfaction. For this reason, information seeking tools such as public participation and opinion surveys are seen to be the choice of the private sector to establish a positive attitude and mutual satisfaction of stakeholders for their organization’s performance. Meanwhile the practitioners in the government sector, state enterprises and non-profit organizations devote most of their efforts to promoting their organizations to control public attitude and behavior rather than create mutual satisfaction as practiced the private sector. | en |
dc.description.sponsorship | วิจัยงบประมาณรายได้คณะนิเทศศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2551 | en |
dc.format.extent | 55145075 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2154 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การประชาสัมพันธ์ -- ไทย | en |
dc.title | สถานภาพการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย : การวิจัย | en |
dc.title.alternative | The status of professional public relations practice in Thailand | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.2154 | - |
Appears in Collections: | Comm - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rungnapa_pi.pdf | 53.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.