Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29079
Title: ผลกระทบคุณภาพอากาศจากการปรับปรุงคุณภาพพลอยคอรันดัมด้วยความร้อนในจังหวัดจันทบุรี
Other Titles: Impact of air quality from corundum heat treatment in Changwat Chanthaburi
Authors: ญาดา ว่องวัฒนากูล
Advisors: อรุบล โชติพงศ์
จักรพันธ์ สุทธิรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: คุณภาพอากาศ
อุตสาหกรรมอัญมณี -- แง่สิ่งแวดล้อม
คอรันดัม -- แง่สิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบคุณภาพอากาศจากการปรับปรุงคุณภาพพลอยคอรันดัมด้วยความร้อน ในจังหวัดจันทบุรี การศึกษาแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) ศึกษาความเข้มข้นของเบริลเลียมในฝุ่นละอองจากการเผาพลอย 2) ความเข้มข้นของตะกั่วและเบริลเลียมในฝุ่นละอองที่ตกค้างจากเตาเผาพลอย 3) ความเข้มข้นของเบริลเลียมภายในบ้านที่ติดตั้งเตาเผาพลอย และ 4) ความเข้มข้นของเบริลเลียมและตะกั่วในฝุ่นละอองในบรรยากาศรอบพื้นที่ที่มีการปรับปรุงคุณภาพพลอย ผลการศึกษาความเข้มข้นเฉลี่ยของเบริลเลียมในฝุ่นละอองช่วงที่เผาพลอยในบ้านหลังที่ 1 และ 2 มีค่าเท่ากับ 0.268 และ 0.028 มคก./ลบ.ม. ทั้งนี้บ้านหลังที่ 2 มีระบบระบายอากาศที่ดีกว่าหลังที่ 1จึงมีผลให้ความเข้มข้นต่ำกว่าในบ้านหลังที่ 1 ส่วนฝุ่นที่ตกค้างจากเตาเผาพลอย วิเคราะห์ด้วยเครื่อง EPMA พบธาตุองค์ประกอบ ได้แก่ Al, Si, Mo, Ca, Mg, Fe, Be และ Pb นำฝุ่นมาย่อยด้วยวิธี 3050B และวิเคราะห์ด้วย ICP-MS พบว่า ฝุ่นบริเวณนอกเตามีค่าความเข้มข้นของ Be, Pb และ Mo สูงสุด สำหรับเตาเผาพลอยที่เติมสารเบริลเลียมพบความเข้มข้นของ Mo และ Pb มีค่าระหว่าง 40,900-41,030 และ 1,966-3,011 มก./กก. ในขณะที่เตาเผาพลอยที่เติมสารตะกั่วพบความเข้มข้นของ Pb มีค่าระหว่าง 12,160-12,870 มก./กก. โดย Mo และ Pb มีค่าเกินมาตรฐาน สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับความเข้มข้นของเบริลเลียมภายในบ้าน พบว่า บ้านหลังที่ 2 ซึ่งมีระบบระบายอากาศที่ดีกว่า พบความเข้มข้นของเบริลเลียมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่มีและไม่มีการเผาพลอยเฉพาะที่ห้องนั่งเล่น ในขณะที่บ้านหลังที่ 1 พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทั้งห้องนอนและห้องนั่งเล่น ในส่วนการวิเคราะห์ฝุ่นละอองรอบพื้นที่ที่มีการปรับปรุงคุณภาพพลอยทั้ง 5 จุด พบว่า ความเข้มข้นของเบริลเลียมมีค่าต่ำกว่าค่าจำกัดการวิเคราะห์ ในช่วงทั้งสองช่วงมรสุมพบความเข้มข้นของตะกั่วในฝุ่นละอองรวม (0.525-3.923 มคก./ลบ.ม.) สูงกว่าในฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (0.004-0.168 มคก./ลบ.ม.) สำหรับค่ามาตรฐานของตะกั่วในบรรยากาศมีค่าไม่เกิน 1.5 มคก./ลบ.ม.ในเวลา 1 เดือน จากการตรวจวัดชี้ให้เห็นว่า การเผาพลอยไม่ส่งผลกระทบต่อความเข้มข้นของเบริลเลียม ความเข้มข้นตะกั่วในบรรยากาศอาจมีสาเหตุมาได้จากปัจจัยอื่นที่นอกจากการเผาพลอย เช่น คุณลักษณะของดินในบริเวณจุดเก็บตัวอย่าง
Other Abstract: Impact of air quality involved by corundum heat treatment in Chanthaburi province was monitored and evaluated under this study. The purpose could be divided into 4 parts including: 1) Concentration of Beryllium in particulate generated during heat treatment; 2) Concentrations of Beryllium (Be) and Lead (Pb) in residue dust around furnaces used for corundum treatments; 3) Concentration of Be in particulate in home factory; 4) Concentrations of Be and Pb in total suspended particulate in ambient air surrounding the main area of treatment factories. Be concentrations detected from particulate generated during corundum heat treatment in factories 1 and 2 were averaged at 0.268 and 0.028 µg/m3. The concentration from factory 2 was lower than the other one due to efficiency of air ventilation system. EPMA analysis of residue dust collected around furnaces, used for heating with Pb and Be additives, yielded constituents of Al, Si, Mo, Ca, Mg, Fe, Be, and Pb; besides, they were also digested by EPA 3050B and analyzed by ICP-MS then yielding particularly high concentrations of Mo, Pb and Be. The concentration ranges of Mo and Pb in dust samples collected from Be-heated furnaces were 40,900-41,030 and 1,966-3,011 mg/kg, respectively, whereas dust samples collected from Pb-heated furnaces gave Pb concentrations of 12,160-12,870 mg/kg. Both of Mo and Pb contents were higher than the standard level; consequently, they were defined as hazardous waste. Be concentration within factory 2 in which has good air ventilation system showed significantly different records only in the living room at the periods of heat treatment and non heat treatment. On the other hand, results gained from factory 1 showed significant differences in bedroom and living room between both periods. Regarding to air monitoring around the main area of gem treatment, results from 5 sampling areas indicated that Be concentrations were less than detection limit. During two different monsoons, Pb concentrations in TSP (0.525-3.923 µg/m³) were higher than those in PM10 (0.004-0.168 µg/m³). They are mostly lower than the National Ambient Air Quality Standards for Pb set at 1.5 µg/m³ for 1-month average. In conclusion, corundum heat treatments appear to have no effect to Be and Pb in air particulate. Moreover, Pb contents detected in the air particulate appear to have been involved by from the other factors, particularly soil properties surrounding the sampling area.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29079
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2018
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2018
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yada_wo.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.