Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30432
Title: การหาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดกำมะถันในน้ำมันดีเซลโดยออกซิเดทีพดีซัลเฟอร์ไรเซชัน ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาวาเนเดียมบนตัวรองรับซิลิกา
Other Titles: Investigation of suitable conditions for sulfur removal in diesel fuel by oxidative desulfurization with silica-supported vanadium catalysts
Authors: เมทังกร เสริมสุข
Advisors: บรรเจิด จงสมจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ปิโตรเลียม -- การกลั่น
น้ำมันดีเซล
น้ำมันดีเซล -- การกำจัดกำมะถัน
การเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์
ตัวเร่งปฏิกิริยาวาเนเดียม
Petroleum -- Refining
Diesel fuels
Diesel fuels -- Desulfurization
Heterogeneous catalysis
Vanadium catalysts
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดกำมะถันในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วโดยออกซิเดทีฟดีซัลเฟอร์ไรเซชัน โดยใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นสารออกซิแดนต์ ที่อัตราส่วนสารออกซิแดนต์ต่อน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ 0.02:1 ถึง 0.07:1 และสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล กรดอะซิติกและอะซีโตน ที่อัตราส่วนตัวทำละลายต่อน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในช่วง 0.25:1 ถึง 2:1 ที่ภาวะอุณหภูมิในช่วง 25 ถึง 90 องศาเซลเซียส ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาวาเนเดียมบนตัวรองรับซิลิกา ที่ขนาดรูพรุนแตกต่างกัน ทดสอบคุณสมบัติเปรียบเทียบปริมาณกำมะถันในน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการกำจัดกำมะถันถูกใช้ในการศึกษานี้ ได้มาจากโรงกลั่นน้ำมันระยองเพียวริฟายเออร์ จากการศึกษาพบว่า ภาวะที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน สารประกอบกำมะถันถูกเปลี่ยนเป็นซัลโฟนหรือซัลฟอกไซด์ที่มีขั้ว และจุดเดือดสูงขึ้นกว่าสารประกอบกำมะถัน ทำให้เกิดการย้ายเฟสของสารประกอบกำมะถันจากชั้นของน้ำมันมันดีเซลหมุนเร็วไปสู่ชั้นของตัวทำละลาย โดยใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ต่อน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเป็นสารออกซิแดนต์ในอัตราส่วน 0.04 โดยมีกรดอะซิติกเป็นตัวทำละลายในอัตราส่วน 1:1 ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาวาเนเดียมบนตัวรองรับซิลิกา ที่ขนาดรูพรุน 60 mesh ปริมาณกำมะถันในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลงประมาณ 60.14 เปอร์เซ็นต์ต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน 1 ครั้ง แต่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน 3 ครั้งจึงจะสามารถลดปริมาณกำมะถันได้น้อยกว่า 0.005 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของน้ำมันดีเซล
Other Abstract: This article studied suitable condition for sulfur removal in high speed diesel by using oxidative desulfurization. Hydrogen peroxide was used to be the oxidant at ratio of oxidant per high speed diesel in the range of 0.02:1 to 0.07:1. Sulfur compound was extracted by solvent such as ethanol, acetic acid and acetone at ratio of solvent per high speed diesel in the range of 0.25:1 to 2:1. The temperature of this study was between 25 to 90℃ and silica-supported vanadium catalysts was used at different mesh sizes. Then, the sulfur contents of high speed diesel were evaluated and compared. High speed diesels before desulfurization unit in this study were taken from Rayong purifier Refinery. The result of this experimental reveals that the suitable condition for oxidation reaction of sulfur compounds was oxidized to sulfone and sulfoxide forms. It had higher polarity and boiling point than sulfur compound and transfer from high speed diesel to solvent layer. Hydrogen peroxide was used to be the oxidant at ratio of high speed diesel to hydrogen peroxide of 0.04 by using acetic acid as solvent at ratio of high speed diesel to acetic acid equal to 1:1 at 70℃. Silica-supported vanadium mesh of 60 mesh was used as the catalyst. Sulfur content in high speed diesel was reduced approximately 60.14 percent by weight in each oxidation reaction. If the oxidation reaction occurs in three times, it will reduce sulfur content in high speed diesel less than 0.005 percent by weight of diesel.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30432
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1404
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1404
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
maytungkorn_se.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.