Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30470
Title: | การสังเคราะห์งานวิจัยนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ : การวิเคราะห์อภิมาน และการวิเคราะห์กลุ่มแฝง |
Other Titles: | A synthesis of mathematics innovation research : meta-analysis and latent class analysis |
Authors: | พรทิพย์ พันตา |
Advisors: | สุชาดา บวรกิติวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การวิเคราะห์กลุ่มแฝง การวิเคราะห์อภิมาน คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเชิงทดลองเกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์อภิมาน และเพื่อวิเคราะห์กลุ่มแฝงของขนาดอิทธิพลจากคุณลักษณะงานวิจัย โดยมีแบบแผนการวิจัยเป็นเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ 1) วิทยานิพนธ์บัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยของรัฐบาล จำนวน 8 สถาบัน และ 2) งานวิจัยจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งหมด 72 เล่ม ตัวแปรต้นคือ คุณลักษณะงานวิจัยจำนวน 47 ตัวแปร ตัวแปรตามมี 2 ตัวแปรคือ 1) ค่าขนาดอิทธิพลที่คำนวณโดยสูตรของ Glass และปรับแก้โดยสูตรของ Hunter และ 2) กลุ่มแฝงของค่าขนาดอิทธิพล เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงพ.ศ. 2542 – 2551 โดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยโปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์กลุ่มแฝงด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยสรุปได้ 2 ประการดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์อภิมานพบว่ามหาวิทยาลัยที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุดคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (36.1%) ซึ่งเป็นสาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์มากที่สุด (31.9%) ช่วงปีที่ผลิตมากที่สุดคือพ.ศ. 2545 - 2548 (38.9%) ค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยในการทดสอบสมมติฐานมี 141 ค่า (d̅ = 2.05) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวพบว่ามีตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยจำนวน 16 ตัวแปรที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพล ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่ามีตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย 4 ตัวแปรได้แก่ ค่าสถิติทดสอบที ค่าความเที่ยง ช่วงระยะเวลาในการทดลองที่มากกว่า 3 ถึง 6 เดือน และการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายส่งผลต่อค่าขนาดอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าตัวแปรทั้ง 4 นี้สามารถอธิบายความแปรปรวนของขนาดอิทธิพลได้ 70.6% และ 2) ผลการวิเคราะห์กลุ่มแฝงพบว่าตัวแปรการสุ่ม ตัวแปรระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ตัวแปรกลุ่มของความเที่ยง และตัวแปรกลุ่มของสถิติทดสอบทีทั้ง 4 ตัวแปรสามารถแบ่งกลุ่มแฝงของค่าขนาดอิทธิพลได้ 2 กลุ่มโดยตัวบ่งชี้ของกลุ่มแฝงขนาดอิทธิพลสูงประกอบด้วย งานวิจัยที่มีค่าความเที่ยงมากกว่า 0.84 และมีค่าสถิติทดสอบทีที่มากกว่า 6.435 ตามลำดับ |
Other Abstract: | The purposes of this study were to synthesize experimental research on mathematics teaching innovation with meta-analysis and to analyze latent class of effect size from research characteristics. The design of this research was survey research. The sample consisted of 2 groups: 1) thesis in graduate schools and 2) research reports from the Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. There were 47 independent variables on research characteristics and dependent variables were effect size calculated by Glass method and adjusted by Hunter method and latent class of the effect size. Data were collected from research published during 1999 – 2008. The research tools covered research characteristics record and research quality assessment. The data analysis included descriptive statistics, one-way ANOVA, multiple regression analysis by SPSS program and latent class analysis by Mplus program. The research findings were: 1) meta-analysis found that most research were from Chulalongkorn university (36.1%), mostly from a program of mathematics education (31.9%), mostly published during 2002 – 2005 (38.9%). Based on hypotheses testing there were 141 effect sizes (d̅ = 2.05). The result of analysis of variance found that 16 variables affecting the adjusted effect size and the result of multiple regression analysis found that 4 characteristic variables; t value, reliability value, the duration of experiment greater than 3 to 6 months and simple random sampling affected the adjusted effect size which significant at the .05 level and all 4 variables could simultaneously explain 70.6% of variation in the adjusted effect size. 2) latent class analysis found that group of sampling, the duration of experiment, group of reliability and group of t value could classify 2 classes. Indicators of the highest class were the researches that had reliability more 0.84 and statistically significant t value more 6.435 respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30470 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1180 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1180 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
porntip_pu.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.