Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30533
Title: การพัฒนาแผนกลยุทธ์การจัดการความรู้เชิงนวัตกรรมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ
Other Titles: Development of a strategic plan for innovative knowledge management for Rajabhat Universities
Authors: จุฬารัตน์ บุษบงก์
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
สุชาติ ตันธนะเดชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: มหาวิทยาลัยราชภัฏ -- การบริหาร
การบริหารองค์ความรู้
การวางแผนเชิงกลยุทธ์
นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
ทุนทางปัญญา
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนกลยุทธ์การจัดการความรู้เชิงนวัตกรรมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน ที่ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีขั้นตอนการวิจัย 7 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างกรอบนโยบายการจัดการความรู้ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กับแผนกลยุทธ์ด้านการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงมหาวิทยาลัยราชภัฏ เกี่ยวกับการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และสอบถามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านการจัดการความรู้ เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ความต้องการ และปัญหาด้านการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยแบบสอบถาม 3) พัฒนาแผนกลยุทธ์ฯ 4) ตรวจสอบแผนกลยุทธ์ฯ 5) ทดลองนำแผนกลยุทธ์ฯไปออกแบบสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยทีมการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 6) รับรองแผนกลยุทธ์ฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และ 7) นำเสนอแผนกลยุทธ์ฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ไม่พบความสอดคล้องระหว่างกรอบนโยบายการจัดการความรู้ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กับแผนกลยุทธ์ด้านการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏยังไม่มีแผนกลยุทธ์เกี่ยวกับการจัดการความรู้ การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้เป็นไปเพื่อรองรับการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษา 2. ผู้บริหารระดับสูงมหาวิทยาลัยราชภัฏ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านการจัดการความรู้ ส่วนใหญ่เห็นว่ากลยุทธ์ที่สำคัญของการจัดการความรู้ คือ ต้องมียุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ด้านการจัดการความรู้อย่างชัดเจน มีการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีมาตรฐาน 3. แผนกลยุทธ์การจัดการความรู้เชิงนวัตกรรม สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 12 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) สร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะด้านการจัดการความรู้ 3) สร้างแรงจูงใจบุคลากรเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 4) พัฒนาระบบสนับสนุนการสร้างและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาให้ได้มาตรฐาน 5) พัฒนาระบบการส่งเสริมการเผยแพร่นวัตกรรม/งานวิจัย 6) สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างเครือข่ายองค์กรแห่งนวัตกรรม 7) พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ 8) ส่งเสริมการศึกษาวิจัยการสร้างองค์ความรู้/นวัตกรรมที่เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน 9) พัฒนาชุมชนนวัตกรรมต้นแบบบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น 10) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 11) สร้างเครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้และการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ 12) พัฒนาระบบการจัดเก็บและเผยแพร่นวัตกรรม/องค์ความรู้
Other Abstract: The objective of this study was to develop a strategic plan for innovative knowledge management for Rajabhat Universities. Mixed qualitative and quantitative research methodology was used with seven steps:1) analyze the congruence of the knowledge management (KM) framework of the Office of Higher Education Commission and The Office of Government Authority Development and KM strategy for Rajabhat University, 2) study opinions of high level administrators of Rajabhat University concerning KM by in-depth interview and survey opinions of KM team members concerning KM state, needs, and problems of Rajabhat University, 3) create the strategic plan for innovative KM, 4) approve the strategic plan 5) implement the strategic plan by KM team members of Rajabhat University, 6) validate the strategic plan by five experts, and 7) propose the strategic plan. The data were analyzed by mean and standard deviation. The findings revealed that: 1) There was no congruence between the KM framework of the Office of Higher Education Commission and The Office of Government Authority Development and knowledge management of Rajabhat University. The KM was used as a means of the evaluation of Educational Quality Assurance. 2) Most of the Rahabhat administrators and KM team members agreed that a KM plan should include strategy and visions for KM, a promotion and support for knowledge sharing culture and standard fundamental information technology. 3) A strategic plan for innovative KM for Rajabhat Universities consists of 12 strategies: 1) create knowledge sharing culture based on local wisdom, 2) develop KM competency for personnel, 3) motivate personnel to create innovation and knowledge continuously and sustainability, 4) develop a supportive system for creating standard educational innovation, 5) develop a supportive system for innovation/research dissemination, 6) cooperate and build relationships among innovative organizations, 7) develop collaborative networks with government and local and international private sectors to create innovation for local communities development, 8) promote research and studies on knowledge and innovation creation to enhance potential and competitiveness, 9) develop innovation community prototype based on local wisdom, 10) promote the use of information technology as a KM tool, 11) create learning and innovative social networks using information technology as a tool, and 12) develop knowledge and innovation dissemination and storage system.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30533
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2037
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2037
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chularat_bu.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.