Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30706
Title: การสถาปนา "สมเด็จพระราชาคณะ" ระหว่าง พ.ศ. 2490-2532
Other Titles: The appointment of Somdet Phrarachakhana, 1947-1989
Authors: พระทศพล มาบัณฑิตย์
Advisors: ดินาร์ บุญธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: สงฆ์
สมณศักดิ์
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษากระบวนการสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะ ระหว่างพ.ศ. 2490-2532 ผลการศึกษาพบว่าในช่วงระยะเวลานี้มีการสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะรวม 20 รูป กระบวนการสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยของพระมหากษัตริย์ แม้จะมีความพยายามกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติสำหรับใช้พิจารณาความเหมาะสมของพระเถระที่จะได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ต่อมาเมื่อถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อาวุโสทางสมณศักดิ์ของรองสมเด็จพระราชาคณะแต่ละรูปเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ใช้พิจารณาความเหมาะสม จนถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติหลักในกระบวนการสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะ ซึ่งต่อมาธรรมเนียมปฏิบัติหลักนี้ได้กลายเป็นข้อกฎหมาย โดยการบัญญัติให้อาวุโสทางสมณศักดิ์เป็นคุณลักษณะสำคัญสำหรับใช้ในการพิจารณาสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะ ระบุไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 นอกจากนั้นยังพบว่า กระบวนการสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะในช่วงระยะเวลาที่ศึกษา เกิดขึ้นได้เป็น 2 ลักษณะ ลักษณะแรก คือ กระบวนการพิจารณาพระเถระผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม โดยคณะกรรมการมหาเถรสมาคมก่อนจะนำความขึ้นกราบบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์มีพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งในขั้นตอนนี้คณะสงฆ์ได้พยายามใช้เงื่อนไขและพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้คุณสมบัติของพระภิกษุเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน แต่ในบางกรณี มีปัจจัยที่ทำให้เกิด “กรณียกเว้น” ทำให้เกิดกระบวนการในลักษณะที่สอง คือ พระมหากษัตริย์มีพระบรมราชวินิจฉัยที่จะสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งพระมหากษัตริย์ยังทรงยึดหลักการเรื่องอาวุโสทางสมณศักดิ์ และคณะกรรมการมหาเถรสมาคมอนุโลมให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย อย่างไรก็ดีพบว่าความเคลื่อนไหวของกลุ่มสงฆ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดกรณียกเว้นในกระบวนการสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะได้เช่นเดียวกัน
Other Abstract: The aim of this thesis is to study the process of rank appointment to the noble monks in the level of “Somdet Phrarachakhana” between 1947-1987, during which 20 senior monks were appointed. The research indicates that the monarchs of the Chakri Dynasty prior to the reign of King Bhumibol Adulyadej appointed Somdet Phrarachakhana, according to their personal respects and favors. King Bhumibol himself considers ranking seniority as the main criteria in appointing Somdet Phrarachakhana since the early years of his reign. The consideration of ranking seniority later became the regular custom in the selection of any appropriate noble monk to be appointed as Somdet Phrarachakhana. Although the monarch hold his authority to establish all the ranks of monks in the Kingdom. There are two types of the process in appointing Somdet Phrarajakhana during the studied period. According to the first type, Somdet Phrarachakhana can be appointed through the consideration and decision of members of the Sangha Supreme Council. The second type is the appointment of Somdet Phrarachakhana by the King’s authority, by which the monk’s ranking seniority shall be sonsidered. It appears, however, that the gathering of junior monks in protest against the decision of the Sangha Supreme Council could also push the Council to reconsider their decision and appoint a Somdet Phrarajakhana in accordance to those monks’ will.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30706
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1341
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1341
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thossapol_ma.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.