Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30723
Title: | ผลของการส่งเสริมประสบการณ์ทางสุนทรียะผ่านกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีต่อ สุนทรียภาพของนักเรียนประถมศึกษา |
Other Titles: | Effects of aesthetic experience enhancement through activities in art museum on aesthetic of elementary school students |
Authors: | ธาริน กลิ่นเกษร |
Advisors: | อำไพ ตีรณสาร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | สุนทรียภาพ ศิลปะ สุนทรียศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ศิลป์ นักเรียนประถมศึกษา |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการส่งเสริมประสบการณ์ทางสุนทรียะผ่านกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีต่อสุนทรียภาพของนักเรียนประถมศึกษา 2) ศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้จัดการเรียนรู้วิชาศิลปศึกษาในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 26 คน โดยไม่จำแนกเพศ ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยจากแนวทางการจัดการศึกษาในพิพิธภัณฑ์ศิลปะของ Denise L. Stone และทฤษฎีพัฒนาการสุนทรียภาพของ Michael J. Parsons ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบบันทึกประสบการณ์เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ศิลปะ 3) แบบทดสอบสุนทรียภาพ 4) คู่มือสำหรับวิเคราะห์การแสดงออกทางสุนทรียภาพ 5) แบบสังเกตพฤติกรรมประสบการณ์ทางสุนทรียะ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ และ 7) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพัฒนาการสุนทรียภาพของนักเรียนที่มีต่อภาพผลงานศิลปะ หลังเรียนผ่านกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ สูงกว่าก่อนเรียนผ่านกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยสูงสุดของระดับพัฒนาการสุนทรียภาพของนักเรียนที่มีต่อภาพผลงานศิลปะ อยู่ที่ระดับ 3 การแสดงออก (Expressiveness) ([x-bar]= 3.61) 3) พฤติกรรมประสบการณ์ทางสุนทรียะของนักเรียนในระหว่างการจัดกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ปรากฎมากที่สุด คือ สนใจต่อเนื้อหา 4) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด คือ ชอบกิจกรรมที่จัดในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ และกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะช่วยให้เห็นคุณค่าของการใช้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้ และ 5) นักเรียนมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมากที่สุดในทุกๆกิจกรรม และกิจกรรมพิพิธภัณฑ์ศิลปะเคาะประตูห้องเรียนมีความคิดเห็นด้วยมากที่สุด |
Other Abstract: | The objectives of this research were to 1) Study effects of aesthetic experiences enhancement through activities in art museum on aesthetic of elementary school students, and 2) Study and develop activities model using organization of art education in art museum. The sample group composed of 26 fourth grade students at Chulalongkorn University Demonstration School, regardless to genders. The durations of the experiment were 8 weeks. The research instruments were developed by the researcher based on Denise L. Stone’s approach in Using the Art Museum and Michael J. Parsons’ Cognitive and Development Account of Aesthetic Experience which consisted of 1) The lesson plans, 2) The worksheet for art museum field trip, 3) The aesthetic test, 4) The guidelines for analyzing aesthetic expression, 5) The observation form for aesthetic experiences, 6) The questionnaires for students’ opinion on organizing activities in art museum, and 7) The students’ background data questionnaires. The data were analyzed by using frequencies, means, standard deviation, and t-test. The findings revealed that 1) The level of aesthetic development of students on the works of art were higher than before learning through activities in art museum at the significant difference level of .05, 2) The highest mean of the level of aesthetic development of students on the works of art were at level 3 (expressiveness) ([x-bar] = 3.61), 3) The most of aesthetic experience behaviors shown by the students was interest in content, 4) The students’ opinion on organizing activities in art museum, at highest level of agreement were they like activities in art museum, and help them see the value of the museum as a learning resource, and 5) Students’ opinion upon the activities were at highest level of agreement in all activities. The activity of “Bringing art museum in the classroom” received the highest agreement. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30723 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1228 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1228 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
tharin_kl.pdf | 7.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.