Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30755
Title: | การพัฒนารูปแบบการบริหารงบประมาณและการเงินในอนาคตสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Other Titles: | A development of future budget and financial management model for basic education institutions |
Authors: | ภูมิภาคิณศม์ อิสสระยางกูล |
Advisors: | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ ชญาพิมพ์ อุสาโห |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | งบประมาณ โรงเรียน -- การจัดสรรเงินและรายจ่าย โรงเรียน -- การเงิน โรงเรียน -- การจัดการ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงบประมาณและการเงินของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงบประมาณและการเงินในอนาคตสำหรับสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน การวิจัยมีขั้นตอนสำคัญคือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงบประมาณและการเงินของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ร่างรูปแบบการบริหารงบประมาณและการเงินในอนาคตสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและประโยชน์ของรูปแบบ 4) ปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบ ประชากรคือ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1 แห่ง กองงบประมาณ 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1 แห่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 226 แห่ง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 30,498 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 926 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 581 แห่ง ( 1 แห่ง ต่อผู้ให้ข้อมูล 1 คน) คือ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้น 1 คน หัวหน้ากลุ่มงานงบประมาณ 1 สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1 คน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 89 คน ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผนเขตพื้นที่การศึกษา 47 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน 278 คน รองผู้อำนายการโรงเรียน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม,แบบตรวจสอบและประเมินรูปแบบ,แบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการปฏิบัติจริงสูงสุดในปัจจุบันของการบริหารงบประมาณและการเงินของโรงเรียนโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อยู่ในระดับมาก ( x = 3.85) รองลงไป คือ การบริหารงบประมาณและการเงินของโรงเรียนโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( x = 3.62) และการบริหารงบประมาณและการเงินของโรงเรียนโดยโรงเรียน ( x = 3.52) 2.ระดับการปฏิบัติที่พึงประสงค์มากที่สุด คือ การบริหารงบประมาณและการเงินของโรงเรียนโดยโรงเรียน ( x = 4.97) รองลงไป คือ การบริหารงบประมาณและการเงินของโรงเรียนโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อยู่ในระดับน้อยที่สุด ( x = 0.79) และการบริหารงบประมาณและการเงินของโรงเรียนโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับน้อยที่สุด ( x = 0.70) เมื่อพิจารณาความต้องการจำเป็นของการบริหารงบประมาณและการเงินของโรงเรียน พบว่า มีความจำเป็นต้องลดการบริหารงบประมาณและการเงินของโรงเรียนโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มากที่สุด (ค่า PNI modified = -0.81) รองลงไป คือ การบริหารงบประมาณและการเงินของโรงเรียนโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ค่า PNI modified = -0.80) และเพิ่มการบริหารงบประมาณและการเงินของโรงเรียนโดยโรงเรียน (ค่า PNI modified = 0.41) 3.รูปแบบการบริหารงบประมาณและการเงินในอนาคตสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ คือ“รูปแบบการบริหารงบประมาณและการเงินสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน” ( School-Based Budgeting and Financial Management Model for Basic Education Institutions) ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะสำคัญ คือ 1 เพิ่มระดับการปฏิบัติในการบริหารงบประมาณและการเงินของโรงเรียน และมอบหมายให้รองผู้อำนวยการโรงเรียนมีบทบาทชัดเจนในการบริหารงบประมาณและการเงิน 2.ลดระดับการปฏิบัติในการบริหารงบประมาณ และการเงินของโรงเรียนโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และจัดบุคลากรทำหน้าที่การบริหารงบประมาณและการเงิน เพื่อลดการใช้ครูในหน้าที่ดังกล่าว 3. ลดระดับการปฏิบัติในการบริหารงบประมาณและการเงินของโรงเรียนโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และจัดบุคลากรทำหน้าที่การบริหารงบประมาณและการเงิน เพื่อลดการใช้ครูในหน้าที่ดังกล่าว ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ มีดังนี้ 1.ควรแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงบประมาณและการเงินของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้สอดคล้องกับรูปแบบการบริหารงบประมาณและการเงินสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2.ควรกำหนดเกณฑ์การประเมินความพร้อมทั้งก่อนและหลังการนำรูปแบบการบริหารงบประมาณและการเงินสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไปใช้เพื่อติดตามประเมินผล |
Other Abstract: | The purpose of this descriptive research is 1) to study budget and financial management of basic education institutions in current and ideal situation, and 2) to develop a future budget and financial management model for basic education institutions. The research is divided into 5 processes: 1) studying budget and financial management of basic education institutions in current and ideal situation. 2) drafting a future budget and financial management model for basic education institutions, 3) reviewing the suitability and usefulness of the model, and 4) improving and proposing the model. Populations are the Bureau of Policy and Planning : Office of the Basic Education Commission 1 bureau, Budget Unit : Office of the Basic Education Commission 1 unit, Basic Education Services Areas 226 areas, basic education institutions 30,498 schools. Samples are 960 persons (1 bureau or 1 unit or 1 area or 1 school = 1 person) from simple random sampling. Informants are director of Bureau of Policy and Planning : Basic Education Commission 1 person, head of budgeting unit 1 person, director of Basic Education Services Areas 89 persons, director of Policy and Planning : Basic Education Services Areas 47 persons, director of school 278 persons and deputy director of school 165 person. The research tools are questionnaire, model review and evaluation form, and focus group. Statistics used in this research are arithmetic mean, standard deviation, and percent. The result of the research can be summarized as the following: 1. Budget and financial management of basic education institutions in the current situation: It is found that the action level of budget and financial management of basic education institutions by Basic Education Services possess the most ( =3.85) followed by Basic Education Commission =3.62), and by school ( =3.52) respectively. 2. Budget and financial management of basic education institutions in the ideal situation: It is found that Basic Education Commission, Basic Education Services and schools want to have the action level of budget and financial management of basic education institutions by school (Priority Need Index : PNI modified ) the most (PNI modified = 0.41) followed by Basic Education Services (PNI modified = -0.80) , and by Basic Education Commission ( PNI modified = -0.81) respectively. 3. A suitable and usefulness of a development future budget and financial management model for basic education institutions is the “School-Based Budgeting and Financial Management Model for Basic Education Institutions” which is composed of three elements: 1. Increasing the action level of budget and financial management of basic education institutions by school and empowering budget and financial management to deputy director of school. 2. Decreasing the action level of budget and financial management of basic education institutions by Basic Education Commission and providing budgeting staff to do budget and financial work replace teacher. 3. Decreasing the action level of budget and financial management of basic education institutions by Basic Education Services and providing budgeting staff to do budget and financial work replace teacher. Suggestions for research result application are 1. The result should be adjusted as a regulation to support for implementation the Budget and Financial Management for Basic Education Institutions. 2. The result should be determined as timeframe to implementation the Budget and Financial Management for Basic Education Institutions in order to evaluate and follow up the model using. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30755 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.310 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.310 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
phompakin_is.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.