Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31075
Title: พฤติกรรมการแสวงหาและการนำสารนิเทศไปใช้ในการปฏิบัติงานเผยแพร่ ในการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ ของเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: Information seeking behavior and information dissemination of AIDS prevention and control, carried out by the Public Health Ministry officials
Authors: พิทักษ์ ศิริวงศ์
Advisors: ศจี จันทวิมล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการแสวงหาและการนำสารนิเทศไปใช้ในการปฏิบัติงานเผยแพร่ในการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ของเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ การใช้แหล่งสารนิเทศเรื่องโรคเอดส์ วิธีการเข้าถึงแหล่งสารนิเทศเรื่องโรคเอดส์ อุปสรรคในการแสวงหาสารนิเทศ เรื่องโรคเอดส์ รูปแบบการนำสารนิเทศเรื่องโรคเอดส์ไปใช้ในการปฏิบัติงานเผยแพร่ในการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ของเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมจาก กลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขจำนวน 243 คน แบ่ง เป็นระดับบริหาร จำนวน 120 คน และระดับปฏิบัติงานจำนวน 123 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS-X ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. แหล่งสารนิเทศ ที่เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขใช้แสวงหาสารนิเทศเรื่องโรคเอดส์ ได้แก่ แหล่งจากห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศ โดยใช้ห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศในหน่วยงานของตนมากที่สุด เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขทั้ง 2 ระดับ มีการใช้สารนิเทศในห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศที่เป็นภาษาไทยในระดับปานกลาง ใช้สารนิเทศที่เป็นภาษาต่างประเทศ ในระดับปานกลางจาก 2 ประเภท ได้แก่ จุลสารและเอกสารทางวิชาการ นอกจากนั้นแล้ว ใช้ในระดับน้อย ในแหล่งสารนิเทศที่ไม่แยกภาษา มีการใช้ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน ยกเว้นไมโครฟิล์ม และฐานข้อมูล มีการใช้ในระดับน้อย ในแหล่งสารนิเทศจากตัวบุคคล และแหล่งสารนิเทศจากสื่อมวลชน พบว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขทั้ง 2 ระดับ มีการใช้ในระดับปานกลางจากทุกประเภท 2. วิธีการ ที่เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขเข้าถึงสารนิเทศเรื่องโรคเอดส์ ในแหล่งจากห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศ เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขทั้ง 2 ระดับ ใช้รายการหนังสือใหม่ ในการเข้าถึงสารนิเทศเรื่องโรคเอดส์มากที่สุด และใช้ฐานข้อมูลน้อยที่สุด ในแหล่งจากตัวบุคคลพบว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขระดับบริหาร เข้าถึงสารนิเทศเรื่องโรคเอดส์ จากการประชุมทางวิชาการมากที่สุด ในขณะที่ระดับปฏิบัติงานเข้าถึงสารนิเทศเรื่องโรคเอดส์ โดยการสอบถามจากเพื่อนร่วมงานมากที่สุด เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขทั้ง 2 ระดับใช้การสอบถามจากศูนย์ให้คำปรึกษาเรื่องโรคเอดส์ทางโทรศัพท์น้อยที่สุด ในแหล่งจากสื่อมวลชนพบว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขทั้ง 2 ระดับ เข้าถึงสารนิเทศเรื่องโรคเอดส์ จากการอ่านหนังสือพิมพ์มากที่สุด 3. อุปสรรค ที่พบมากที่สุดในการแสวงหาสารนิเทศเรื่องโรคเอดส์ของเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขทั้ง 2 ระดับ คือสารนิเทศเรื่องโรคเอดส์อยู่กระจัดกระจายยากแก่การค้นหา และคำตอบที่ได้ล่าช้าไม่ทันสมัย 4. รูปแบบ การนำสารนิเทศเรื่องโรคเอดส์ไปใช้ปฏิบัติงานเผยแพร่ ควบคุมป้องกันโรคเอดส์ พบว่ามีการใช้ทุกรูปแบบในระดับปานกลาง ยกเว้นการจัดทำโฆษณาทางรายการวิทยุ และการกระจายเสียงตามหมู่บ้านในระดับน้อย
Other Abstract: The purpose of this research was to study information seeking behavior and information dissemination of AIDS prevention and control of the Public Health Ministry officials in respects of the information sources, the access to the information, the problems encountered in seeking the information and the application of the information in AIDS prevention and control carried out by the Public Health Ministry officials. The tool used in this research was a questionnaire to be completed by a sample of 243 Public Health Ministry officials. Out of 243, there were 120 administrators and 123 officers. The data collected were analyzed by the SPSS-X program. The results are concluded as follows. 1. The information sources from which the officials seek the information most are libraries or information centers of their working place. The information in Thai is sought at a moderate level. As for the information in English, only pamphlets and academic articles are used at a moderate level. Other sources of the information are used at a low level. In case of the sources of information both in Thai and English, a moderate level of seeking is found except for microfilms and data bases which have a low level. The officials also seek the information from individuals and mass media, both at a moderate level. 2. New book lists are used most by the officials to get access to the information in the library or information center whereas data bases are used least. Regarding seeking the information from individuals, the administrators obtain the information from seminars most while the officers from inquiries made to their colleagues most. The officials obtain the information on phone the least. As for the type of mass media, the officials get the information from reading newspaper most.3. The most common problem encountered by the officials is that the information is not in one place but scattering all over and the information received is out-of-date. 4. The information is disseminated to prevent and control AIDS in every form at a moderate level except for propaganda made through radio programs and announcement made in villages which are found to be at a low level.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31075
ISBN: 9745822302
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phitak_si_front.pdf6.05 MBAdobe PDFView/Open
Phitak_si_ch1.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open
Phitak_si_ch2.pdf16.1 MBAdobe PDFView/Open
Phitak_si_ch3.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open
Phitak_si_ch4.pdf22.67 MBAdobe PDFView/Open
Phitak_si_ch5.pdf13.23 MBAdobe PDFView/Open
Phitak_si_back.pdf9.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.