Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32097
Title: | บทบาทภาครัฐต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กรณีศึกษาที่แขวงบ่อแก้ว |
Other Titles: | The role of the Lao government on the economic and social development of the people’s democratic republic of Laos : the case study of Bokeo Province |
Authors: | บุญเพชร แก้วดวงดี |
Advisors: | ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การพัฒนาเศรษฐกิจ -- ลาว การวางแผนทางสังคม -- ลาว นโยบายสังคม นโยบายเศรษฐกิจ การบริหารรัฐกิจ -- ลาว Economic development -- Laos Social planning -- Laos Social policy Economic policy Public administration -- Laos |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาวิจัยเรื่อง บทบาทภาครัฐต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กรณีศึกษาที่แขวงบ่อแก้ว โดยศึกษา 2 ประเด็น คือ 1.ภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงต่อนโยบายเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อชีวิตการเป็นอยู่ของประชาชนลาวโดยรวม และโดยเฉพาะในแขวงบ่อแก้ว 2. ผลประโยชน์และผลกระทบจากนโยบายการลงทุนของเอกชนและต่างชาติที่มีต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของลาวโดยรวม และโดยเฉพาะในแขวงบ่อแก้ว ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 รัฐบาลลาวได้ตัดสินใจปฏิรูปเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการทำให้ทันสมัยอย่างตะวันตก (Modernization Theory) คือ การทำให้ประเทศมีความทันสมัยโดยการยอมรับเอาเทคโนโลยีแบบตะวันตก ระบบเศรษฐกิจเสรีและผลิตแบบอุตสาหกรรมทันสมัย โดยผลการศึกษากรณีการเปลี่ยนแปลงต่อนโยบายเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อชีวิตการเป็นอยู่ของประชาชนลาวโดยเฉพาะในแขวงบ่อแก้วนั้น พบว่า เศรษฐกิจสังคมมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีความมั่นคง ส่วนผลประโยชน์และผลกระทบจากนโยบายการลงทุนของเอกชนและต่างชาติที่มีต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของลาวและแขวงบ่อแก้ว พบว่า มีทั้งในเชิงบวก คือ การช่วยสร้างรายได้ให้แขวงบ่อแก้วมากขึ้น ส่วนด้านลบ คือ การทำลายสิ่งแวดล้อม ปัญหายาเสพติด ปัญหาโสเภณี ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น เป็นต้น แต่อย่างก็ตาม รัฐบาลลาวมิได้นิ่งนอนใจ โดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้น โดยในมุมมองของผู้ศึกษาเสนอแนะว่า ไม่ควรเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจมากเกินไป แต่เน้นการสร้างความสุขที่ยั่งยืน และควรแก้ปัญหาอื่นๆ ด้วย อาทิ การรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนาธรรม และการมีธรรมภิบาล เป็นต้น |
Other Abstract: | The thesis on this topic is the study on two dimensions i,e. to make an overview of the changes of economic policy that affects the way of lives of the Lao people; especially in Bokeo. To investigate the impacts of private and foreign investment policy on the economic and social changes in Lao as a hole and Bokeo in particular. The study finds that since 1986 the Lao government has reformed the economic system to free market; This is compatible with the modernization theory of the west by means of the adoption of western technology, economic liberalization and industrial promotion. In the consequence of the economic policy affects the way of lives of the Lao people, especially in Bokeo; moreover the impacts of private and foreign investments has both positive and negative impacts. It generates the incomes on the one hand and social problems on the other. Social problems comprise ecological problems, drug problem, corruption and prostitute etc. However the Lao government does not ignore these problems and encourages the people to take part in the development more and more .In the view of this study suggests that it should not over emphasize the economic growth but the real sustainable happiness. It should also take social-cultural-ecological problems into account. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์การเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32097 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.311 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.311 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
bounphet_ke.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.