Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3225
Title: การประยุกต์ใช้แผ่นพลาสติกตรวจน้ำตาลเพื่อศึกษาความสามารถในการกำจัดน้ำตาลในน้ำลายภาคสนาม
Other Titles: Application of glucose plastic strip for oral glucose clearance in feild study
Authors: ไพรัช เดชสัจจา
ปณิธาน บุญจำรัส
พรศรี ปฏิมานุเกษม
Email: [email protected]
Other author: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาชีวเคมี
Subjects: น้ำตาล
ฟันผุ
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการศึกษาต่างๆ ที่ผ่านมาพบว่า ปริมาณและระยะเวลาที่น้ำตาลตกค้างในช่องปาก มีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์การเกิดโรคฟันผุ การศึกษาส่วนใหญ่กระทำโดยการหาปริมาณน้ำตาลในน้ำลาย ภายหลังการอมสารละลายกลูโคสแล้วบ้วนทิ้งด้วยวิธีเทียบสี ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ยุ่งยาก ทำให้ไม่สะดวกในการนำไปใช้ในภาคสนาม ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงได้นำแผ่นพลาสติกตรวจน้ำตาลมาใช้แทนวิธีเทียบสี เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นพลาสติกตรวจน้ำตาลในการทดสอบความสามารถในการกำจัดน้ำตาลในน้ำลายภาคสนามซึ่งอาจจะเป็นวิธีการที่สะดวกในการทำนายอุบัติการณ์การเกิดโรคฟันผุในชุมชนได้ การศึกษานี้ ทำโดยการสุ่มเลือกตัวอย่างประชากร ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวและมีฟันแท้ไม่ต่ำกว่า 28 ซี่ จำนวน 40 คน แล้วทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ตามค่าดัชนีผุถอนอุด (DMFT) คือ กลุ่มที่มีฟันผุน้อย (DMFT is less than or equal to 4) และกลุ่มที่มีฟันผุมาก (DMFT > 4) แล้วทำการทดสอบความสามารถในการกำจัดน้ำตาลในน้ำลาย โดยให้อมสารละลายกลูโคสความเข้มข้น 50% นาน 2 นาที บ้วนทิ้ง แล้ววัดปริมาณน้ำตาลในน้ำลายในนาทีที่ 3, 5, 7 และ 10 ตามลำดับ โดยใช้แผ่นพลาสติกตรวจน้ำตาล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบที (t-test) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำตาลในน้ำลายของกลุ่มตัวอย่างที่มีฟันผุน้อยในนาทีที่ 5, 7 และ 10 น้อยกว่าปริมาณน้ำตาลในน้ำลายในกลุ่มที่มีฟันผุมากอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) และพบว่าลักษณะรูปแบบการกำจัดน้ำตาลในน้ำลายโดยใช้แผ่นพลาสติกตรวจน้ำตาลของกลุ่มที่มีฟันผุน้อยและกลุ่มที่มีฟันผุมากไม่แตกต่างจากรูปแบบที่ได้จากวิธีเทียบสี จากข้อมูลที่ได้นี้ จึงสรุปได้ว่าแผ่นพลาสติกตรวจน้ำตาลมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะใช้ติดตามความสามารถในการกำจัดน้ำตาลในน้ำลายและใช้ทำนายอุบัติการณ์การเกิดโรคฟันผุภาคสนามได้
Other Abstract: From previous studies, the results showed that the concentration and the retention of glucose in the oral cavity are correlated with the incidence of dental caries. The determination of salivary glucose was mostly performed by the highly accurate and precise spectrophotometric method which required so complicated equipment that made it very difficult to perform in the field study. In this study, the efficiency of glucose plastic strip for the field study of oral glucose clearance was determined and suggested as an easy way for the prognosis of dental caries incidence in the community. 40 Subjects were randomly selected under the condition of being probably young adult and having at least 28 permanent teeth. The DMFT index were determined to deived the subjects into 2 group, a low-caries group (DMFT is less than or equal to 4) and a high-caries group (DMFT > 4). After holding 50% glucose solution in the mouth for 2 min., the salivary glucose concentration at 3, 5, 7 and 10 min. were determined by glucose plastic strip. The differences of the oral glucose clearance between these 2 groups were analyzed by the t-test at 95% level of conficence. The result showed that at 5, 7 and 10 min., the salivary glucose concentration in the low-caries group were significantly less than the high-caries group (P = 0.05). The pattern of oral glucose clearance by using the glucose plastic strip was not different from the previously spectrophotometric method. On the basis of this study, it was summarized that the glucose plastic strip had sufficient efficiency to use in the field study of oral glucose clearance and the prognosis of dental caries incidence in the community.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3225
Type: Technical Report
Appears in Collections:Dent - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornsri(glu).pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.