Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32306
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาชัญญา รัตนอุบล-
dc.contributor.advisorวิศนี ศิลตระกูล-
dc.contributor.authorจรัสศรี จินดารัตนวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-06-19T09:07:38Z-
dc.date.available2013-06-19T09:07:38Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32306-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการในการฝึกอบรมตามแนวคิดการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในการเสริมสร้างสมรรถนะ ในการปฏิบัติงานของข้าราชการสายงานกำลังพลกองทัพอากาศ 2) พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ในการเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการสายงานกำลังพลกองทัพอากาศ 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในการเสริมสร้างสมรรถนะ ในการปฏิบัติงานของข้าราชการสายงานกำลังพลกองทัพอากาศ และ 4) ศึกษาปัจจัย เงื่อนไข และปัญหาที่เกิดจากการใช้รูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในการเสริมสร้างสมรรถนะ ในการปฏิบัติงานของข้าราชการสายงานกำลังพลกองทัพอากาศ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาและการวิจัยแบบกึ่งทดลองในกำลังพลกองทัพอากาศ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการพัฒนาขีดสมรรถนะข้าราชการสายงานกำลังพลด้วยการฝึกอบรมในสมรรถนะ 3 ด้าน คือ การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้านทักษะการสื่อสารถ่ายทอด ด้านการตัดสินใจและแก้ปัญหา 2) รูปแบบการฝึกอบรม “N-GRaDE with ITALIC Model” มี 5 ขั้นตอน คือ 1. วินิจฉัยความต้องการเรียนรู้ 2. กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 3. แหล่งทรัพยากร 4. ตัดสินใจเลือก และ 5. ประเมินผล 3) ผลการฝึกอบรมรูปแบบใหม่ที่สร้างขึ้นสามารถเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทั้ง 3 สมรรถนะ โดยพบว่า คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะกลุ่มทดลองหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 และคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะหลังการฝึกอบรม 3 เดือนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 รวมถึงพบว่า มีความคงอยู่ของสมรรถนะในกลุ่มทดลองหลังการฝึกอบรม 3 เดือน และ 4) ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในการฝึกอบรม ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร ผู้นำและรูปแบบการเรียนรู้ เงื่อนไขในการฝึกอบรม ได้แก่ รูปแบบการฝึกอบรมและผู้เรียน ปัญหาที่เกิดจากการใช้รูปแบบการฝึกอบรม ได้แก่ จำนวนแบบสอบถามมีมาก ระยะเวลาฝึกอบรมนาน และการต่อยอดความรู้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1) to analyze problems and find out the training needs for developing a new training model of non-formal education to enhance functional competencies of personnel in the Royal Thai Air Force, 2) to develop a training model of Non-formal education based on the concepts of constructionism and self-directed learning to enhance competencies of personnel officers in the Royal Thai Air Force, 3) to implement a training model of Non-formal education based on the concepts of constructionism and self-directed learning to enhance functional competencies of personnel officers in the Royal Thai Air Force, and 4) to study factors and conditions of using a training model of non-formal education based on the concepts of constructionism and self-directed learning to enhance functional competencies of personnel in the Royal Thai Air Force. This study based on the design of research and development and a quasi-experiment via purposive sampling techniques in personnel officers in the Royal Thai Air Force. The major findings were as follows 1) Training need for functional competencies development were self-directed learning, communication skill and decision making. 2) The training model of non-formal education was “N-GRaDE with ITALIC Model” consisted of 5 steps 1. Need analysis 2. Goal setting 3. Resources 4. Decision method and 5. Evaluation. 3) The attendees in the experimental group that were using the training model now have higher functional competencies of personnel officers than before training at level .01 and have higher functional competencies than personnel officers in the control group at level .01, also. 4) The main supported factors were organizational culture and learning style, the main condition were training model and the learners the main problem were how to use training model such as questionnaires, duration in training and extended knowledge.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1527-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกองทัพอากาศไทยen_US
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.subjectการฝึกอบรมen_US
dc.subjectทฤษฎีสรรคนิยมen_US
dc.subjectการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองen_US
dc.subjectสมรรถนะen_US
dc.subjectข้าราชการ -- การฝึกอบรมen_US
dc.subjectการศึกษาแบบสามัตถิยฐานen_US
dc.subjectRoyal Thai Air ForceRoyal Thai Air Forceen_US
dc.subjectNon-formal educationen_US
dc.subjectTrainingen_US
dc.subjectConstructivism ‪(Education)‬en_US
dc.subjectSelf-directed learningen_US
dc.subjectPerformanceen_US
dc.subjectPublic officers -- Training ofen_US
dc.subjectCompetency-based educationen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมทางการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการสายงานกำลังพลกองทัพอากาศen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a non-formal education training model based on the concepts of constructionism and self-directed learning to enhance functional competencies of personnel officers in the Royal Thai Air Forceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1527-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jarassri_ji.pdf4.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.