Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32609
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิม ชัยวัชราภรณ์-
dc.contributor.authorจิราดร ถิ่นอ่วน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2013-07-02T02:33:14Z-
dc.date.available2013-07-02T02:33:14Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32609-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของแบบฝึกแอโรบิกและแบบฝึกแอนแอโรบิกที่มีผลต่อจุดเริ่มล้าของนักกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาฟุตบอล โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย รุ่นอายุ 18 ปี จำนวน 24 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) จากนั้นทำการทดสอบจุดเริ่มล้าด้วยการวิเคราะห์การแลกเปลี่ยนก๊าซแบบวีสโลป นำผลการทดสอบที่ได้มาเรียงลำดับตั้งแต่ 1 – 24 แล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกำหนด (Randomized Assignment) กำหนดเป็นกลุ่มฝึกแบบแอโรบิก และกลุ่มฝึกแบบแอนแอโรบิก เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 30 นาที ทดสอบจุดเริ่มล้าด้วยการวิเคราะห์การแลกเปลี่ยนก๊าซแบบวีสโลป ก่อนและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และ 8 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าทีและความแปรปรวนทางเดียว ชนิดวัดซ้ำ จึงเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการของแอลเอสดี โดยทดสอบความมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัย หลังสัปดาห์ที่ 4 และ 8 กลุ่มฝึกแบบแอนแอโรบิกมีการพัฒนาจุดเริ่มล้าและอัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้าดีกว่ากลุ่มแอโรบิก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และหลังสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มฝึกแบบแอโรบิกมีการพัฒนาสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดดีกว่ากลุ่มฝึกแบบแอนแอโรบิก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และหลังสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มฝึกแบบแอโรบิกมีการพัฒนาสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และหลังสัปดาห์ที่ 4 และ 8 กลุ่มฝึกแบบแอนแอโรบิก มีการพัฒนาจุดเริ่มล้า อัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้าและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย แบบฝึกแอนแอโรบิก จะสามารถเพิ่มระดับจุดเริ่มล้าได้ดีกว่าแบบฝึกแอโรบิกen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study and to make a comparison between the effect of aerobic and anaerobic training on anaerobic threshold (AnT) in eighteen years old soccer player. The samples were Bangkok Christian College soccer players eighteen year old. The samples were selected by using purposive selection, then randomized to be 12 subject in 2 groups for the different training programs. One group was trained with aerobic training program and the other group was trained with the anaerobic training program. Each group was trained for 2 days a week with 30 minutes a day. The researcher examined the maximal oxygen consumption and the AnT by using gas analysis and V-slope method before training and after 4 week and 8 weeks of training. The obtained data were analyzed in term of means, standard deviation, t-test independent and one – way analysis of variance with repeated measures. If there were any significant differences, then the data were compared by pair using LSD method at the statistical significant level of p<.05. After 4 weeks and 8 weeks ,the anaerobic training group was significantly increased in AnT and heart rate than the aerobic training group (p<.05). After 8 weeks , the aerobic training group was significantly increased in maximal oxygen consumption than the anaerobic training group (p<.05). After 8 weeks ,the aerobic training group was significantly increased in maximal oxygen consumption (p<.05). After 4 weeks and 8 weeks, the anaerobic training group was significantly difference in AnT and heart rate and maximal oxygen consumption (p<.05). Conclusion the anaerobic training can increase AnT better than the aerobic training.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.384-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectฟุตบอล -- การฝึกen_US
dc.subjectความล้าen_US
dc.subjectแอโรบิก (กายบริหาร)en_US
dc.subjectสมรรถภาพทางกายen_US
dc.subjectSoccer -- Coaching-
dc.subjectAerobic exercises-
dc.subjectFatique-
dc.subjectPhysical fitness-
dc.titleการเปรียบเทียบผลของแบบฝึกแอโรบิกและแบบฝึกแอนแอโรบิกที่มีผลต่อจุดเริ่มล้าของนักกีฬาฟุตบอล รุ่นอายุ 18 ปีen_US
dc.title.alternativeA comparison between the effect of aerobic and anaerobic training on anaerobic threshold in eighteen years old socceren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.384-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jiradon_ti.pdf4.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.